ปักกิ่ง, 21 พฤศจิกายน 2567 /PRNewswire/ — การประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 29 (COP29) กำลังจัดขึ้นที่กรุงบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน ซึ่งในโอกาสนี้ Huang Tianming เกษตรกรวัย 62 ปีจากหมู่บ้านจ้านอ้าว ในเขตเค่อเฉียว เมืองเส้าซิง มณฑลเจ้อเจียงทางตะวันออกของจีน ได้กล่าวสุนทรพจน์ในกิจกรรมคู่ขนานที่จัดขึ้นในหัวข้อ "Advancing the Implementation of the UN 2030 Sustainable Development Agenda" เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
jwplayer(‘myplayer1’).setup({file: ‘https://mma.prnasia.com/media2/2563290/11_20__1.mp4’, image: ‘https://mma.prnasia.com/media2/2563290/11_20__1.mp4?p=medium’, autostart:’false’, stretching : ‘uniform’, width: ‘512’, height: ‘288’});
เกษตรกรผู้นี้เดินทางไกลถึง 6,000 กิโลเมตร เพื่อมาบอกเล่าเรื่องราวระหว่างครอบครัวของเขากับต้นเซียงเฟ่ย (Chinese Torreya) โบราณ ซึ่งต้นที่เก่าแก่ที่สุดมีอายุถึง 1,570 ปี
"เรื่องราวของเรากับต้นไม้เหล่านี้เริ่มต้นจากบรรพบุรุษที่อพยพมาที่นี่เมื่อ 800 ปีที่แล้ว ปัจจุบัน ทายาทหกรุ่นจากครอบครัวเดียวกันยังคงปกปักรักษาต้นไม้เหล่านี้" เขากล่าว โดยเขาใช้เวลามากกว่า 200 วันต่อปีในป่าต้นเซียงเฟ่ย ทั้งกำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย และตัดแต่งกิ่ง
นับเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้วที่เหล่าเกษตรกรในท้องถิ่นได้สืบสานแนวทางของบรรพบุรุษในการอยู่ร่วมกับต้นไม้อย่างกลมกลืน และในช่วงไม่กี่ปีมานี้ ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลเพื่อบันทึกข้อมูลของต้นไม้โบราณเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงความสมบูรณ์ของต้นไม้
Luigi Latini เจ้าของและซีอีโอของ MOPI srl กล่าวว่า เรื่องราวจากชนบทของจีนคุ้มค่าต่อการเรียนรู้อย่างยิ่ง "การปกป้องระบบนิเวศไปพร้อมกับการพัฒนาเศรษฐกิจสามารถเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ ผมหวังว่าหลาย ๆ คนจะได้เรียนรู้จากเรื่องราวนี้" เขากล่าว
หมู่บ้านจ้านอ้าวและอีกหลายหมู่บ้านใกล้เคียงเป็นเจ้าของป่าต้นเซียงเฟ่ยที่มีต้นไม้มากกว่า 5,000 ต้น ซึ่งมีอายุมากกว่า 500 ปี ในปี 2556 ป่าแห่งนี้ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกทางการเกษตร ซึ่งถือเป็นแห่งแรกของโลก
ปัจจุบัน อุตสาหกรรมถั่วเซียงเฟ่ยได้กลายมาเป็นอุตสาหกรรมหลักของหมู่บ้านจ้านอ้าว ซึ่งสร้างรายได้ต่อปีมากกว่า 30,000 หยวน (4,143 ดอลลาร์) ต่อคน