กัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย 14 ส.ค. 2567 /PRNewswire/ — Trinasolar ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชันพลังงานแสงอาทิตย์และการจัดเก็บพลังงานอัจฉริยะ ตระหนักถึงศักยภาพอันสำคัญของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เตรียมขยายโครงการต่อเนื่องทั่วภูมิภาคผ่านความสำเร็จของโครงการโซลาร์เซลล์แบบไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซีย
100MWac hybrid solar farm in Merchang, Terengganu, Malaysia – the largest hybrid solar project in Malaysia
การพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและความต้องการพลังงานที่เพิ่มขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มักมาพร้อมกับพื้นที่ว่างซึ่งมีจำกัด โซลาร์เซลล์แบบลอยน้ำเป็นโซลูชันอันน่าสนใจด้วยการผลิตพลังงานสะอาดโดยไม่ต้องใช้ทำเลที่สำคัญ นอกจากนี้ การติดตั้งโซลาร์เซลล์แบบลอยน้ำสามารถลดการระเหยของน้ำจากอ่างเก็บน้ำและได้ประโยชน์จากประสิทธิภาพการผลิตที่สูงขึ้นเนื่องจากการระบายความร้อน อย่างไรก็ตาม ต้นทุนด้านวิศวกรรมและการก่อสร้างมักสูงกว่าฟาร์มโซลาร์เซลล์แบบติดตั้งทรงกลม ดังนั้น ฟาร์มโซลาร์เซลล์แบบไฮบริดจึงเป็นคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับฟาร์มโซลาร์เซลล์ขนาดกริด
ฟาร์มโซลาร์เซลล์แบบไฮบริดขนาด 100 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นเจ้าของและพัฒนาโดยบริษัท Cypark Resources Berhad (Cypark Resources) ของมาเลเซีย อันตั้งอยู่ใน Merchang เมืองชายฝั่งในรัฐตรังกานูทางตะวันออกเฉียงเหนือของมาเลเซีย เป็นอีกหนึ่งโครงการที่ประสบความสำเร็จ โรงไฟฟ้าสุดล้ำแห่งนี้เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ (COD) เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน โดยคาดว่าจะผลิตพลังงานสะอาดเพียงพอต่อการชดเชยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 202,024 ตันต่อปี
Dato’ Ami Moris ประธานบริหารของ Cypark Resources Berhad เปิดเผยว่า "โรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์แบบไฮบริดที่ใหญ่ที่สุดในมาเลเซียแห่งนี้ประกอบด้วยแผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำขนาด 35 เมกะวัตต์ และแผงโซลาร์เซลล์บนบก ขนาด 65 เมกะวัตต์ แสดงให้เห็นถึงความสามารถของ Cypark ในการบูรณาการการพัฒนาโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์กับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของตรังกานูซึ่งอาจเกิดน้ำท่วมได้"
Elva Wang หัวหน้าส่วนงานประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของ Trinasolar เพิ่มเติมว่า "การดำเนินการที่ประสบความสำเร็จของโครงการอันซับซ้อนดังกล่าวเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงการออกแบบและการนำไปปฏิบัติ เรามองเห็นโอกาสมากมายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สำหรับโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริดขนาดใหญ่ที่ผสานการติดตั้งทั้งแบบลอยน้ำและบนบก เรามุ่งหวังที่จะสานต่อความร่วมมือกับ Cypark Resources และขอขอบคุณที่ไว้วางใจ Trinasolar สำหรับภารกิจอันยิ่งใหญ่ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของมาเลเซียในการบรรลุเป้าหมายบูรณาการพลังงานหมุนเวียน 70% ภายในปี 2593"
ทั้งนี้ ความคล่องตัวของโมดูล Vertex ของ Trinasolar มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของโครงการ แผงโซลาร์เซลล์ลอยน้ำขนาด 35 เมกะวัตต์ซึ่งตั้งอยู่บนทะเลสาบใกล้ทะเลต้องเผชิญกับความชื้นสูงอีกทั้งสภาพที่มีเกลือมาก การออกแบบกระจกสองชั้นของโมดูล Vertex ช่วยให้ทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่รุนแรงได้ โดย TÜV Rheinland ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกด้านการทดสอบอิสระให้การยอมรับโมดูล Vertex สำหรับประสิทธิภาพภายใต้สภาพชายฝั่งอันท้าทายดังกล่าว
ยิ่งไปกว่านั้น ลักษณะของโมดูล Vertex ช่วยให้รับแสงอาทิตย์ได้จากทั้งสองด้าน เนื่องจากดินทรายสีขาวจะก่อให้เกิดการสะท้อนแสงไปที่ด้านล่างโมดูล เป็นการยกระดับการผลิตพลังงานซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับระบบที่ติดตั้งบนพื้นดิน
"นี่คือตัวอย่างเชิงประจักษ์แห่งศักยภาพของโครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบไฮบริดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรามุ่งหวังที่จะผลักดันโครงการดังกล่าวเพิ่มเติม และสนับสนุนความมุ่งมั่นด้านพลังงานหมุนเวียนของภูมิภาคนี้" Wang ทิ้งท้าย