เซินเจิ้น, จีน, 5 มิถุนายน 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — บริษัท DJI ได้ร่วมมือกับบริษัท Airlift ผู้ให้บริการโดรนสัญชาติเนปาล บริษัท 8KRAW ผู้ผลิตสื่อวิดีโอ และ Mingma Gyalje ไกด์นำเที่ยวภูเขาชาวเชอร์ปาที่ได้รับการรับรองของเนปาล เพื่อทำการบินทดสอบส่งของด้วยโดรนที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกของโลกบนยอดเขาเอเวอเรสต์ (เขาโชโมลังมา) การทดสอบที่เสร็จสิ้นในเดือนเมษายนนี้ถือเป็นความสำเร็จครั้งสำคัญทางประวัติศาสตร์ในวงการการบินนี้ ซึ่งตอกย้ำถึงความสามารถอันน่าทึ่งของโดรน DJI FlyCart 30 ที่สามารถบรรทุกของหนักถึง 15 กิโลกรัม แม้ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่โหดร้ายบนยอดเขาเอเวอเรสต์ ไม่ว่าจะเป็นระดับความสูง หรือสภาพอากาศที่เลวร้าย ในระหว่างการทดสอบ โดรนได้ทำการบินขนส่งถังออกซิเจน 3 ใบ และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่หนัก 1.5 กิโลกรัม จากค่ายพักเบสเอเวเรสต์ (Everest Base Camp) ไปยังค่ายพักที่ 1 (5,300 – 6,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล) และได้นำขยะกลับลงมาในเที่ยวบินกลับ
"ตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ทีมงานของเราได้ริเริ่มภารกิจอันสำคัญยิ่งในเพื่อช่วยให้สามารถทำความสะอาดบนยอดเขาเอเวอเรสต์ได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น" Christina Zhang ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์องค์กรของบริษัท DJI กล่าว "เรารู้สึกตื่นเต้นที่จะแจ้งให้ทราบว่า โดรน DJI FlyCart 30 ของเราพร้อมสำหรับภารกิจนี้แล้ว โดยมาพร้อมขีดความสามารถในการขนส่งอุปกรณ์ สิ่งของ และของเสียอย่างปลอดภัยด้วยโดรนที่มาพร้อมศักยภาพในการปฏิวัติระบบโลจิสติกส์การปีนเขาเอเวเรสต์ พร้อมอำนวยความสะดวกในการกำจัดขยะ และยกระดับความปลอดภัยให้กับทุกคน"
ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์การบิน
นี่ถือเป็นครั้งแรกที่โดรนสามารถขนส่งอุปกรณ์และขยะไปกลับระหว่างค่ายพักเบสเอเวเรสต์และค่ายพักที่ 1 ได้สำเร็จ ค่ายพักเหล่านี้ถูกกั้นด้วยธารน้ำแข็งคุมบู (Khumbu Icefall) ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดอันตรายที่สุดของการปีนเขา แม้ว่าในทางทฤษฎีแล้ว เฮลิคอปเตอร์จะสามารถเดินทางแบบเดียวกันได้ แต่เนื่องจากมีอันตรายและค่าใช้จ่ายสูง จึงไม่ค่อยมีคนใช้วิธีนี้มากนัก
ก่อนที่จะเริ่มภารกิจการขนส่งด้วยโดรน วิศวกรของบริษัท DJI ได้พิจารณาถึงความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมขั้นรุนแรงของยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งรวมถึง อุณหภูมิระหว่าง -15° ถึง 5°C ความเร็วลมสูงถึง 15 เมตร/วินาที และระดับความสูงที่สูงกว่า 6,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล จากนั้นจึงทำการทดสอบโดรน DJI FlyCart 30 อย่างเข้มงวด ได้แก่ การทดสอบการโฮเวอร์ขณะยังไม่ได้บรรทุกของ การทดสอบความต้านทานลม การทดสอบในสภาพอากาศหนาวจัด และการทดสอบความจุของน้ำหนักโดยเริ่มจากบรรทุกของที่เบาไปเรื่อย ๆ จนถึงของที่หนักขึ้น
ช่วยให้ปฏิบัติการบนภูเขาที่ปลอดภัยยิ่งขึ้น
ตามธรรมเนียมแล้ว ความรับผิดชอบในการขนส่งของและเก็บกวาดขยะบนยอดเขาเอเวอเรสต์จะตกเป็นหน้าที่ของไกด์ท้องถิ่นชาวเชอร์ปา ซึ่งอาจต้องข้ามธารน้ำแข็งมากกว่า 30 ครั้งในหนึ่งฤดูกาลเพื่อขนส่งสิ่งของต่าง ๆ เช่น ถังออกซิเจน ถังแก๊ส เต็นท์ อาหาร และเชือก
Mingma Gyalje ไกด์นำเที่ยวภูเขาชาวเชอร์ปาของบริษัท Imagine Nepal กล่าวว่า "พวกเราต้องใช้เวลาเดินเท้าลัดเลาะผ่านธารน้ำแข็งคุมบูแห่งนี้ 6 – 8 ชั่วโมงทุกวัน" "ปีที่แล้วผมสูญเสียเพื่อนร่วมทางชาวเชอร์ปาไป 3 คน ถ้าโชคไม่เข้าข้าง ถ้าเวลาไม่เป็นใจ พวกเราอาจจบชีวิตลงที่นั่นไปแล้วก็ได้"
การข้ามธารน้ำแข็งคุมบูที่อันตรายนี้มักเกิดขึ้นในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่มีอุณหภูมิต่ำที่สุดและสภาพของน้ำแข็งมั่นคงที่สุด โดรนที่ไม่ได้รับการปรับแต่งสามารถบรรทุกน้ำหนักได้ 15 กิโลกรัม และใช้เวลา 12 นาที ในการเดินทางไปกลับระหว่างค่ายพัก ไม่ว่าจะเป็นตอนกลางวันหรือกลางคืน โดรนส่งของของบริษัท DJI มีเป้าหมายที่จะแบ่งเบาภาระของชาวเชอร์ปา ซึ่งต้องเสี่ยงชีวิตซ้ำแล้วซ้ำเล่าในการนำทางผ่านธารน้ำแข็งคุมบูที่แสนอันตราย
การเก็บกวาดขยะบนยอดเขาเอเวอเรสต์
มีการประเมินว่า นักปีนเขาแต่ละคนจะทิ้งขยะไว้บนยอดเขาเอเวอเรสต์ประมาณ 8 กิโลกรัม และถึงแม้จะมีการทำความสะอาดอย่างเคร่งครัด แต่ก็ยังมีขยะเป็นจำนวนหลายตันหลงเหลืออยู่บนเนินเขา หากเทคโนโลยีโดรนสามารถช่วยแบ่งเบาภาระให้กับทีมงานทำความสะอาดได้ บริษัท DJI ก็พร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือ โดรน DJI FlyCart 30 สามารถขนส่งขยะและของเสียจากมนุษย์ลงจากภูเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยลดจำนวนเที่ยวที่ชาวเชอร์ปาต้องเดินทางข้ามธารน้ำแข็งคุมบู
การพลิกโฉมและอนาคตของการขนส่งด้วยโดรน
ฤดูกาลปีนเขาเอเวอเรสต์ถูกจำกัดไว้เฉพาะในเดือนเมษายนและพฤษภาคม ส่วนกิจกรรมอื่น ๆ และการทดสอบโดรนจะถูกจำกัดในช่วงเวลาที่เหลือของปี เนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย อย่างไรก็ตาม การทดสอบที่ประสบความสำเร็จเมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้ทำให้รัฐบาลเนปาลเซ็นสัญญากับบริษัทผู้ให้บริการโดรนในท้องถิ่น เพื่อจัดตั้งระบบการขนส่งด้วยโดรนบนแนวเขาทางตอนใต้ของยอดเขาเอเวอเรสต์ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม เป็นต้นไป
การนำโดรนขนส่งมาใช้ในพื้นที่สูงไม่เพียงแต่ช่วยให้มั่นใจว่าจะเพิ่มความปลอดภัยและประสิทธิภาพในสภาพแวดล้อมที่ท้าทายเหล่านี้ แต่ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนภายในอุตสาหกรรมการปีนเขาอีกด้วย
โดรน DJI FlyCart 30 ที่เปิดตัวทั่วโลกในเดือนมกราคม 2567 มาพร้อมโซลูชันการขนส่งที่ใช้งานได้จริง ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อตอบสนองต่อความต้องการและข้อจำกัดเฉพาะของผู้ใช้งานในแต่ละพื้นที่ โดยตั้งแต่เปิดตัว โดรนรุ่นนี้ได้ถูกนำไปใช้งานอย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็น การปลูกต้นกล้าบนเนินเขาที่สูงชันและการลากสายไฟในญี่ปุ่น การเปลี่ยนแปลงวิธีการติดตั้งโซล่าเซลล์ในเม็กซิโก การมีส่วนช่วยในการกู้ภัยจากเครื่องดับเพลิงบนภูเขาในนอร์เวย์ และการพัฒนาการดำเนินการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ในทวีปแอนตาร์กติกา เป็นต้น