ปักกิ่ง, 1 ม.ค. 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — การยกระดับจีนให้ทันสมัยเป็นสิ่งที่คนจีนมุ่งแสวงหามาอย่างต่อเนื่องจากรุ่นสู่รุ่น
ปี 2566 เป็นปีแรกที่จีนได้เริ่มดำเนินการตามหลักการชี้นำจากการประชุมผู้แทนพรรคคอมมิวนิสต์จีน (CPC) แห่งชาติ ครั้งที่ 20 ซึ่งเข้ามากำหนดทิศทางในการยกระดับจีนให้ทันสมัยก้าวหน้า
CGTN ได้เปิดตัวเพจอินเทอร์แอคทีฟพิเศษอย่าง "Chinese Modernization, Global Opportunities" (ความทันสมัยของจีน โอกาสในระดับโลก) เพื่อให้รายละเอียดเกี่ยวกับความก้าวหน้าของจีน และบทบาทของจีนในระดับสากลตลอดปี 2566 ผ่านวิชวลเอฟเฟกต์และเรื่องราวเชิงลึก
มุ่งยกระดับความทันสมัยของจีน
ในปี 2566 นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ได้ออกดูงานในจีนรวม 14 ครั้ง ทั้งยังได้ออกแผนและให้คำแนะนำโดยละเอียดในระหว่างการเยือนแต่ละครั้ง และเรียกร้องให้ทุ่มเทความพยายามอย่างไม่หยุดยั้งในการพัฒนาความทันสมัยของจีนให้สอดรับกับลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น
การพัฒนาเป็นคำสำคัญที่ปธน.สีกล่าวถึงบ่อยที่สุดในระหว่างการดูงาน สะท้อนให้เห็นว่าสิ่งนี้เป็นเป้าหมายในการยกระดับความทันสมัยของจีน
ปธน.สีเน้นย้ำถึงความจำเป็นในพื้นที่ที่เขาไปเยือน เพื่อนำแนวคิดการพัฒนาแบบใหม่ไปใช้อย่างเต็มที่ พร้อมแสดงให้เห็นความสำคัญในการมุ่งส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสูงและสร้างรูปแบบการพัฒนาขึ้นใหม่
นอกเหนือไปจากการพัฒนาแล้ว นวัตกรรม เทคโนโลยี ความทันสมัย นิเวศวิทยา วัฒนธรรม ผู้คน เศรษฐกิจ คุณภาพ และความมั่นคงปลอดภัย ก็ยังเป็นคำและวลีที่ปธน.สีกล่าวอยู่บ่อย ๆ ในระหว่างการดูงาน ตามผลการวิเคราะห์ของ CGTN
จีนดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในแผนแม่บทว่าด้วยการพัฒนา โดยในปี 2566 นั้น จีนยังคงเป็นกลไกสำคัญในการเติบโตของเศรษฐกิจโลก ซึ่งกองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจีนจะโต 5.4% ในปี 2566 สอดคล้องกับการคาดการณ์ทั่วโลก
คืนกำไรให้โลกของเรา
ในปี 2566 จีนได้ส่งเสริมความเจริญรุ่งเรือง เสถียรภาพ และสันติภาพในระดับโลก โดยแบ่งปันผลลัพธ์จากการพัฒนาที่จีนได้รับอันเป็นผลจากความทันสมัยให้กับทั้งโลก
ปธน.สี กล่าวในสุนทรพจน์ปีใหม่รับปี 2567 ว่า "เราจะทำงานร่วมกับประชาคมโลกอย่างใกล้ชิดเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของมนุษยชาติ สร้างชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติ และทำให้โลกเป็นที่ที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน"
ในการประชุมสุดยอดจีน-เอเชียกลาง (China-Central Asia Summit) ครั้งแรกนั้น จีนและ 5 ประเทศในเอเชียกลางได้ลงนามในเอกสารระดับทวิภาคีและพหุภาคีรวม 7 ฉบับ และข้อตกลงความร่วมมือในสาขาต่าง ๆ มากกว่า 100 ฉบับ
การประชุมโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ (Belt and Road Forum for International Cooperation) ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองครั้งสำคัญที่สุดเนื่องในวาระครบรอบ 10 ปีของโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ให้ผลลัพธ์มากถึง 458 รายการ โดยมีข้อตกลงความร่วมมือมูลค่ามากถึง 9.72 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
นอกจากนี้ ประธานาธิบดีสี และประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน แห่งรัสเซีย ได้ร่วมกันร่างแผนแม่บทเพื่อกระชับความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีให้แน่นแฟ้น ในระหว่างการเจรจาที่ "ตรงไปตรงมาและประสบผลสำเร็จ" ในกรุงมอสโก ส่วนการพบปะระหว่างปธน.สีกับปธน.ไบเดนที่หลายคนตั้งตารอคอยในซานฟรานซิสโก ก็มีบทบาทสำคัญในการปรับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างจีนกับสหรัฐ
จีนได้เข้ามามีส่วนสนับสนุนการเติบโตของประเทศแถบซีกโลกใต้ในปี 2566 โดยได้สนับสนุนการขยายตัวขององค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้และกลุ่มบริกส์ (BRICS) นอกจากนี้ยังได้ริเริ่มแผนต่าง ๆ เพื่อช่วยให้แอฟริกาทันสมัยมากขึ้น และลงนามในเอกสารความร่วมมือในโครงการ BRI กับชาติอาหรับและสันนิบาตอาหรับทั้ง 22 ประเทศ
เมื่อเดือนมีนาคม จีนได้เข้ามาช่วยเป็นตัวกลาง เพื่อให้ซาอุดีอาระเบียและอิหร่านตกลงที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์ทางการทูตและเปิดสถานทูตของตนอีกครั้ง
จีนได้พิสูจน์ตนเองด้วยคำพูดและการกระทำว่าตนสนับสนุนสันติภาพโลกมาโดยตลอด และยังคงมีบทบาทในการพัฒนาโลกและเป็นผู้ปกป้องระเบียบระหว่างประเทศด้วย