อนาคตของวิทยาศาสตร์: ความก้าวหน้าและผลลัพธ์สำคัญ
ฮ่องกง, 15 พ.ย. 2567 /PRNewswire/ — เวที "Roundtable with Shaw Laureates – Future of Science: Breakthroughs and Impacts" (เสวนาโต๊ะกลมกับเจ้าของรางวัล Shaw – อนาคตของวิทยาศาสตร์: ความก้าวหน้าและผลลัพธ์สำคัญ) ซึ่งนำเสนอร่วมกันโดย The Shaw Prize Foundation และพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฮ่องกง โดยมี South China Morning Post เป็นผู้จัดงาน ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ฮ่องกง การประชุมครั้งนี้ได้เชิญนักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงเกียรติที่ได้รับรางวัล Shaw ประจำปี 2567 รวม 4 ท่าน มาร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับด้านต่าง ๆ ของการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่การสื่อสารและความร่วมมือทั้งในระดับบุคคลและระหว่างประเทศ ไปจนถึงผลกระทบของ AI ต่อแวดวงวิทยาศาสตร์โดยรวมและอื่น ๆ เวทีเสวนาดังกล่าวดึงดูดผู้เข้าร่วมงานในสถานที่จริงกว่า 120 คน และผู้ชมทางออนไลน์อีกหลายร้อยคน
The “Roundtable with Shaw Laureates – Future of Science: Breakthroughs and Impacts” was held at the Hong Kong Science Museum on 14 November. Four 2024 Shaw Laureates engaged in a cross-disciplinary discussion.
บรรดาผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย Shrinivas Kulkarni ผู้ได้รับรางวัล Shaw สาขาดาราศาสตร์ ปี 2567 รวมถึง Swee Lay Thein และ Stuart Orkin ผู้ได้รับรางวัล Shaw สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์ ปี 2567 และ Peter Sarnak ผู้ได้รับรางวัล Shaw สาขาคณิตศาสตร์ ปี 2567
การเสวนาครั้งนี้มีไฮไลต์อยู่ที่บทบาทที่เพิ่มขึ้นของเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AI ในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ผู้ร่วมเสวนาต่างยอมรับว่า AI จะผนวกรวมเข้ากับทุกสาขาวิชาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเน้นย้ำถึงความจำเป็นที่นักวิทยาศาสตร์ต้องเปิดรับความก้าวหน้านี้ ซึ่งเมื่อมองในมุมวิทยาศาสตร์ชีวภาพแล้ว AI มีศักยภาพในการเร่งพัฒนายา โดยเข้ามาแทนที่วิธีการลองผิดลองถูกแบบเดิม ๆ นักเรียนนักศึกษาควรรู้จักใช้เทคโนโลยีเป็นอาวุธ และตระหนักถึงสิ่งที่เครื่องมือเหล่านี้ทำได้และทำไม่ได้ ขณะที่นักคณิตศาสตร์อย่าง Sarnak ได้เน้นย้ำบทบาทสำคัญในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีค่า เช่น การประชุมระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการประชุมที่จัดขึ้นในเมืองใหญ่ ๆ เช่น ฮ่องกง เพื่อเพิ่มผลกระทบของ AI ในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการยกระดับความร่วมมือในระดับนานาชาติ
แม้เป็นที่ยอมรับว่า AI มีประโยชน์ แต่ขณะเดียวกันก็มีผู้แสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีนี้ในระหว่างการเสวนาโต๊ะกลม ผู้ร่วมเสวนาเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของกระบวนการทำความเข้าใจในการค้นคว้าหาความรู้ โดยเน้นย้ำว่ากระบวนการนี้สะท้อนให้เห็นแก่นแท้ของการเป็นนักวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ AI จำลองไม่ได้
ในช่วงการโต้ตอบนั้น ผู้ร่วมเสวนาได้ตอบคำถามต่าง ๆ จากผู้ชม ซึ่งหลายคนเป็นนักวิจัยและนักวิชาการรุ่นใหม่ โดยนักวิทยาศาสตร์ด้านชีววิทยาอย่าง Orkin และ Thein ได้สนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ไขว่คว้าตามสิ่งที่ตนเองสนใจ และมุ่งมั่นทำงานที่ตนเชื่อมั่นอย่างแรงกล้า ขณะเดียวกัน นักดาราศาสตร์อย่าง Kulkarni มองว่าวิทยาศาสตร์เป็นความพยายามอย่างมีกลยุทธ์ และได้แนะนำให้นักเรียนนักศึกษาสำรวจหาและเพิ่มศักยภาพจุดแข็งของตนเอง และเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร เพื่อประสบความสำเร็จใน "เกม" ด้านวิทยาศาสตร์นี้
ขอแจ้งให้ทราบว่า ข้อความข้างต้นเป็นการแปล หากต้องการความถูกต้องแม่นยำ กรุณาอ้างอิงต้นฉบับภาษาอังกฤษ