ปักกิ่ง, 27 เมษายน 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — รายงานข่าวจากไชน่า เดลี่ (China Daily):
Visitors interact with a humanoid robot at the opening of the 2024 Zhongguancun Forum in Beijing on Thursday. [Photo by WANG ZHUANGFEI CHINA DAILY]
เหล่าเจ้าหน้าที่ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้บริหารของบริษัทต่างกล่าวถึงความจำเป็นในการเร่งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสำรวจแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาสำคัญระดับโลกผ่านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี พร้อมกับพัฒนากำลังการผลิตใหม่ที่มีคุณภาพ
รองนายกรัฐมนตรี ติง เสวี่ยเซียง (Ding Xuexiang) ได้กล่าวในพิธีเปิดการประชุมจงกวนชุน ประจำปี 2567 ว่า ประเทศจีนมีความประสงค์ที่จะทำงานร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศเพื่อดำเนินการตามแนวคิดความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระหว่างประเทศที่เปิดกว้าง เสมอภาค ยุติธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ และเพื่อร่วมกันสร้างชุมชนวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีระดับโลก
ประเทศจีนจะสำรวจโมเดลใหม่เกี่ยวกับความร่วมมือระดับโลกที่ก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันในด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์ พร้อมกับทลายอุปสรรคขัดขวางที่จำกัดการไหลเวียนของความรู้ เทคโนโลยี ความสามารถ และปัจจัยทางนวัตกรรมอื่นๆ เพื่อร่วมกันสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมแบบเปิด
ยิน หลี่ (Yin Li) เลขาธิการคณะกรรมการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนประจำกรุงปักกิ่ง กล่าวว่า เมืองหลวงจะยกระดับความพยายามเพื่อพัฒนาขีดความสามารถด้านนวัตกรรม เร่งการสร้างสวนสาธารณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับโลก เพิ่มการลงทุนในการวิจัยขั้นพื้นฐาน พร้อมกับสร้างความก้าวหน้าในเทคโนโลยีหลักในสาขาสำคัญ
ข้อมูลจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( Ministry of Science and Technology) แสดงให้เห็นถึงการลงทุนด้านการวิจัย และพัฒนาของจีนที่มีมูลค่าเกินกว่า 3.3 ล้านล้านหยวน (455.4 พันล้านดอลลาร์) ในปี 2566 ซึ่งเพิ่มขึ้น 8.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี และมีการใช้จ่ายด้านการวิจัยขั้นพื้นฐานเป็นมูลค่า 221.2 พันล้านหยวน โดยเพิ่มขึ้น 9.3 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า
ความแข็งแกร่งของจีนในด้านนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมาร์โก อเลมัน (Marco Aleman) ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (World Intellectual Property Organization) กล่าวว่าจีนเป็นขุมพลังแห่งนวัตกรรมที่มีส่วนสนับสนุนการเติบโตระดับโลกและการพัฒนาที่ยั่งยืน
ข้อมูลของ WIPO ได้ระบุว่าประเทศจีนอยู่ในตำแหน่งผู้นำนวัตกรรมระดับโลก โดยอยู่ในอันดับที่ 12 ในดัชนีนวัตกรรมระดับโลกปี 2566 และเป็นเจ้าของคลัสเตอร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ 24 แห่งจาก 100 อันดับแรกทั่วโลกในช่วงสิ้นปีที่แล้ว ซึ่งได้ขึ้นเป็นอันดับหนึ่งของโลกเป็นครั้งแรก
กวาร์ไรชา อับดุล คาริม (Quarraisha Abdool Karim) ประธานสถาบันวิทยาศาสตร์โลก (World Academy of Sciences) กล่าวว่า การสร้างอนาคตที่ยั่งยืนผ่านการเป็นพันธมิตร และความร่วมมือจะสร้างโอกาสให้ผู้เข้าร่วมทุกคนได้สำรวจเส้นทางใหม่ๆ สู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (United Nations)
เหลย จุน (Lei Jun) ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของบริษัทเทคโนโลยีจีน เสี่ยวหมี่ คอร์ป (Xiaomi Corp) กล่าวว่า บริษัทจะยังคงเพิ่มการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา พร้อมกับมุ่งมั่นเพื่อสร้างความก้าวหน้าในเทคโนโลยีหลัก