เฟสที่สองจะเริ่มตั้งแต่ปี 2567 ถึง 2570 ที่ประเทศอียิปต์ บราซิล และไทย
ปารีส, 19 เม.ย. 2567/พีอาร์นิวส์ไวร์/ — เมื่อวานนี้ องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization) หรือ ยูเนสโก (UNESCO) และหัวเว่ย (Huawei) ได้เปิดตัวเฟสที่สองของโครงการระบบโรงเรียนเทคโนโลยีเสริมการสอนแบบเปิดสำหรับทุกคน (Technology-Enabled Open Schools for All System: TeOSS) ในงานสัมมนาอนาคตดิจิทัลแห่งการศึกษา (Digital Futures of Education) ของยูเนสโก โดยประกาศว่าเฟสที่สองจะเริ่มตั้งแต่ปี 2567 ถึง 2570 ที่ประเทศบราซิล ไทย และอียิปต์ โดยเฟสแรกได้เป็นประโยชน์แก่นักการศึกษาหลายพันคนในประเทศอียิปต์ กานา และเอธิโอเปียแล้ว
UNESCO, Huawei and TeOSS project country representatives at the UNESCO Digital Futures of Education Seminar
TeOSS มีเป้าหมายที่จะสร้างระบบการศึกษาที่ปรับตัวต่อวิกฤติได้ดี ไม่แบ่งแยก และพร้อมรองรับอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายด้านความยั่งยืนข้อที่ 4 (UN SDG-4) ของสหประชาชาติ โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อมอบทรัพยากรดิจิทัล การฝึกอบรม และการสนับสนุนนโยบายแก่นักการศึกษาและผู้เรียน
"เมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน การศึกษายืนอยู่แถวหน้า โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือเพื่อไม่เพียงแต่ขยายการเข้าถึงการศึกษาเท่านั้น แต่ยังใช้เพื่อวาดนิยามใหม่แห่งลักษณะการเรียนรู้และความรู้สำหรับคนรุ่นต่อ ๆ ไปอีกด้วย" คุณสเตฟาเนีย จันนีนี (Stefania Giannini) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการศึกษา ยูเนสโก กล่าว "ต้องขอบคุณพันธมิตรอย่างหัวเว่ยที่ทำให้เราสามารถใช้ประโยชน์จากการปฏิวัติทางดิจิทัลนี้เพื่อกำหนดอนาคตทางการศึกษาที่ครอบคลุม เสมอภาค และคำนึงถึงมนุษย์เป็นศูนย์กลาง"
สรุปภาพรวมเฟส 1 ของโรงเรียนแบบเปิด
TeOSS เฟสแรก ดำเนินการตั้งแต่ปี 2563-2567 ในประเทศอียิปต์ เอธิโอเปีย และกานา ยูเนสโกและหัวเว่ยได้สนับสนุนกระทรวงศึกษาธิการของสามประเทศในแอฟริกาในการออกแบบ นำไปใช้ และประเมินระบบโรงเรียนแบบเปิดในโครงการนำร่องสามโครงการ
ตัวแทนกระทรวงจากทั้งสามประเทศได้แบ่งปันความคืบหน้า แนวปฏิบัติที่ดี และประสบการณ์ในเฟสแรกที่ในการสัมมนาของยูเนสโกเมื่อวาน โดยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้
"โครงการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อรับมือความท้าทายด้านการศึกษาโดยการบูรณาการแพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัลและเนื้อหาดิจิทัลที่สอดคล้องกับหลักสูตรและความสามารถทางดิจิทัลของครู นอกจากนี้ โครงการยังพยายามส่งเสริมโมเดลการศึกษาแบบเปิดผ่านนโยบายการเรียนรู้ดิจิทัลระดับชาติ" คุณ Hegazi Idris ที่ปรึกษารัฐมนตรีเพื่อการรู้หนังสือและการเรียนรู้ตลอดชีวิต กระทรวงศึกษาธิการและการศึกษาด้านเทคนิค ประเทศอียิปต์ได้กล่าวไว้
- ในประเทศอียิปต์ TeOSS สนับสนุนนักการศึกษาระดับอนุบาลถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย (K-12) จำนวน 950,000 คนผ่านทางศูนย์การเรียนรู้ทางไกลแห่งชาติ
- ในประเทศกานา TeOSS ได้ปรับปรุงแพลตฟอร์มการศึกษาระดับชาติสำหรับนักศึกษาและนักการศึกษาทั่วประเทศ ในโรงเรียนนำร่อง 10 แห่ง โดยโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อครู 1,000 คน และนักเรียน 3,000 คน
- ในประเทศเอธิโอเปีย TeOSS ได้ให้ประโยชน์แก่นักเรียน 12,000 คนและนักการศึกษา 250 คนในโรงเรียนมัธยมนำร่องที่ได้รับคัดเลือก 24 แห่ง
นอกจากนี้ ในการสัมมนาของยูเนสโก ตัวแทนจากประเทศบราซิล ไทย และอียิปต์ยังได้หารือเกี่ยวกับประเด็นสำคัญระดับชาติที่เกี่ยวกับการศึกษา และวิธีที่โครงการ TeOSS เฟสที่ 2 จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเหล่านั้นได้
"ประเทศไทยเปิดตัวดิจิทัล ไทยแลนด์ (Digital Thailand) เพื่อบรรลุการศึกษาดิจิทัลผ่านความสามารถในการเชื่อมต่อ เนื้อหา และความสามารถ" คุณสุเทพ แก่งสันเทียะ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศไทย กล่าว
"ประเทศบราซิลตั้งเป้าหมายการเชื่อมโยงระดับสากลเพื่อจุดประสงค์ทางการศึกษาในโรงเรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานสาธารณะทุกแห่งในประเทศภายในปี 2569" คุณบาร์บารา บาเซลลาร์ โรดริเกซ เด โกดอย (Barbara Bacellar Rodrigues de Godoy) ที่ปรึกษาการจัดการโครงการประถมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ประเทศบราซิล กล่าว
TeOSS สอดคล้องกับขอบเขตการศึกษาของเทคฟอร์ออล (TECH4ALL) ซึ่งเป็นโครงการริเริ่มความเท่าเทียมทางดิจิทัลของหัวเว่ย โดยมีเป้าหมายใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนความเท่าเทียมและคุณภาพทางการศึกษา
"หัวเว่ยมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ในการทำงานร่วมกับยูเนสโก รัฐบาล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดเพื่อพัฒนาโซลูชันเทคโนโลยีที่สามารถสร้างโลกดิจิทัลที่เท่าเทียมและยั่งยืนได้" คุณหลิว หมิงจู (Liu Mingju) ผู้อำนวยการสำนักงานโครงการเทคฟอร์ออลของหัวเว่ย กล่าว