ดูไบ, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, 17 ตุลาคม 2567 /PRNewswire/ — ที่งาน GITEX GLOBAL ปี 2567 หัวเว่ย (Huawei) ได้นำเสนอบทความสำคัญที่มีชื่อว่า "The Digital Dividend – ICT Maturity Fuels Economic Growth." (ผลประโยชน์จากดิจิทัล – ความก้าวหน้าของ ICT ช่วยกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ) ดังนี้
ความจำเป็นของการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล
โลกทางกายภาพและโลกดิจิทัลของเราเชื่อมโยงกันมากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์, 5G-A และคลาวด์คอมพิวติ้ง การผสมผสานนี้ หรือที่เรียกกันว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 กำลังเปลี่ยนแปลงธุรกิจอย่างรวดเร็ว และเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลก ในความเป็นจริง ในตลอดช่วงเวลาอีก 5 ปีข้างหน้า คาดว่าการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะจะมีสัดส่วนถึง 70% ของการเติบโตทางเศรษฐกิจทั่วโลกทั้งหมด[1] นับตั้งแต่เมืองอัจฉริยะที่ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ไปจนถึงการวินิจฉัยทางการแพทย์ด้วย AI ผลกระทบเหล่านี้ได้เริ่มเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการทำงานของสังคมแล้ว ปัจจุบัน มีมากกว่า 170 ประเทศที่ได้พัฒนากลยุทธ์ระดับชาติเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลที่ขับเคลื่อนด้วย AI
การเชื่อมโยงระหว่างความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกับการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นแนวทางที่ถูกนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายมานาน ตั้งแต่เครื่องจักรไอน้ำจนถึงสายพานการผลิต การปฏิวัติอุตสาหกรรมแต่ละครั้งได้กำหนดทิศทางใหม่ให้กับเศรษฐกิจของเรา อย่างไรก็ตาม การปฏิวัติทางดิจิทัลในปัจจุบันกำลังสร้างผลกระทบที่ใหญ่กว่ามากเนื่องจากความรวดเร็วของนวัตกรรมและผลกระทบที่ลึกซึ้งต่อวิธีการที่บริษัทต่าง ๆ กำลังใช้เพื่อเปลี่ยนโฉมการดำเนินงานของตน
ดัชนีดิจิทัลโลก (Global Digitalization Index หรือ GDI ที่พัฒนาโดยความร่วมมือกับ IDC ได้วัดความก้าวหน้าของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในแต่ละประเทศ โดยเน้นให้เห็นถึงความเชื่อมโยงที่ชัดเจนระหว่างความพร้อมด้าน ICT กับความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศนั้น นอกจากนี้ การวิจัยยังแสดงให้เห็นว่าการลงทุนเชิงกลยุทธ์ในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลสามารถเร่งการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างสูง และยังแสดงวิธีการที่ประเทศต่าง ๆ ในแต่ละระดับความพร้อมด้านดิจิทัลจะสามารถใช้ประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้เพื่อผลักดันเศรษฐกิจของตนให้ก้าวหน้าได้
ภูมิทัศน์ของความพร้อมทางดิจิทัล
รายงาน GDI ปี 2567 ซึ่งพัฒนาต่อยอดมาจากดัชนีการเชื่อมต่อระดับโลก (Global Connectivity Index) ครั้งก่อนหน้า ถูกสร้างขึ้นจากการวิจัยร่วมกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญ ครอบคลุม 77 ประเทศ ซึ่งคิดเป็น 93% ของ GDP ทั่วโลกและ 80% ของประชากรโลก รายงานนี้แบ่งประเทศออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้นำ (Frontrunners) ผู้นำมาใช้งาน (Adopters) และผู้เริ่มต้น (Starters) โดยแต่ละกลุ่มสะท้อนถึงระดับความพร้อมทางดิจิทัลที่แตกต่างกัน ประเทศที่เป็นผู้นำ เช่น สหรัฐอเมริกา จีน และสิงคโปร์ เป็นผู้นำทั้งในด้านการเชื่อมต่อที่แพร่หลายและพื้นฐานทางดิจิทัล ในขณะที่ประเทศกลุ่มผู้นำมาใช้งาน เช่น สเปนและมาเลเซีย กำลังขยายขีดความสามารถทางดิจิทัลของตนอย่างรวดเร็ว ส่วนประเทศผู้เริ่มต้นอย่างเวียดนาม ก็กำลังสร้างรากฐานให้แก่อนาคตทางดิจิทัลของตน
ช่องว่างในการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลที่ขยายกว้างขึ้นเป็นสิ่งที่น่าสนใจเป็นพิเศษ ในระหว่างปี 2562ถึง 2566 อัตราส่วนของการเติบโตของการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในกลุ่มประเทศผู้นำ ผู้นำมาใช้งาน และผู้เริ่มต้นอยู่ที่ 18:3:1 โดยมีการเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปีที่ 7.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ, 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ และ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามลำดับ ความแตกต่างนี้ไม่ใช่เพียงแค่ตัวเลข แต่เป็นตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนถึงทิศทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันซึ่งประเทศเหล่านี้กำลังเผชิญอยู่ เนื่องจากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า ทุกการลงทุน 1 ดอลลาร์ในด้านการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลสามารถให้ผลตอบแทนถึง 8.3 ดอลลาร์ต่อเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศนั้น ๆ
เอฟเฟกต์ของผลประโยชน์จากดิจิทัล
หัวใจสำคัญของผลการวิจัยในรายงานนี้ คือการค้นพบที่ทรงพลังว่า สำหรับประเทศผู้นำ การเพิ่มขึ้นของคะแนน GDI ทุก ๆ หนึ่งคะแนนจะทำให้ GDP ต่อหัวเพิ่มขึ้น 945 เหรียญสหรัฐ ผลกระทบทางเศรษฐกิจนี้สูงกว่าประเทศผู้นำมาใช้งาน 2.1 เท่า และสูงกว่า 5.4 เท่าสำหรับประเทศผู้เริ่มต้น นี่คือสิ่งที่เรียกว่าเอฟเฟกต์ของผลประโยชน์จากดิจิทัลที่เกิดขึ้น
แต่อะไรที่ทำให้ผลนี้เกิดขึ้น คำตอบอยู่ในกลไกของระบบนิเวศในเศรษฐกิจดิจิทัลที่มีความก้าวหน้า ในประเทศผู้นำ เราจะเห็นระบบนิเวศดิจิทัลขั้นสูง ที่เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น AI, IoT และคลาวด์คอมพิวติ้ง ทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น
ระบบนิเวศเหล่านี้สร้างผลกระทบของเครือข่าย ที่มูลค่าของบริการดิจิทัลจะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณเมื่อมีผู้ใช้หรือการเชื่อมต่อใหม่ ๆ แต่ละราย นอกจากนี้ การสะสมและการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาดยังช่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมในอัตราที่ประเทศที่มีความพร้อมทางดิจิทัลน้อยกว่าจะไม่สามารถตามทันได้
ให้พิจารณาท่าเรือเทียนจินของจีน ที่การผสานระหว่างเครือข่าย 5G, คลาวด์, AI และพลังงานสีเขียวอย่างเป็นบูรณาการส่งผลให้เกิดท่าเรืออัจฉริยะที่ปลอดคาร์บอน การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลนี้ทำให้สามารถลดเวลาการขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ลงได้ 50% และลดการใช้พลังงานลง 17% เมื่อเทียบกับท่าเรือแบบดั้งเดิม นี่เป็นเพียงภาพย่อส่วนเพื่อแสดงให้เห็นวิธีที่ความพร้อมทางดิจิทัลสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจและความยั่งยืนได้
ลักษณะแบบทวีคูณของการลงทุนดิจิทัล
สิ่งที่ทำให้เอฟเฟกต์ของผลประโยชน์จากดิจิทัลมีพลังอย่างยิ่งคือลักษณะแบบทวีคูณ เทคโนโลยีดิจิทัลไม่ได้มีอยู่แยกจากกันอย่างโดดเดี่ยว แต่จะเสริมสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพให้กันและกัน ตัวอย่างเช่น การเปิดตัวเครือข่าย 5G ไม่ได้เพียงแค่ปรับปรุงการเชื่อมต่อให้ดีขึ้น แต่ยังช่วยให้เกิดการประมวลผลแบบ Edge แอปพลิเคชัน AI แบบเรียลไทม์ และการใช้เทคโนโลยี IoT ในระดับใหญ่ ผลกระทบแบบทบต้นนี้สร้างวงจรที่ดีของนวัตกรรมและการเติบโต
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเทคโนโลยีเหล่านี้เกิดการพัฒนาขึ้น ก็จะสร้างข้อมูลจำนวนมหาศาล ในเขตเศรษฐกิจที่เติบโตทางดิจิทัล ข้อมูลเหล่านี้จะกลายเป็นปัจจัยการผลิตใหม่ที่ช่วยขับเคลื่อนระบบ AI ซึ่งเร่งให้เกิดนวัตกรรมและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต วงจรนี้เป็นการส่งเสริมตัวเอง ซึ่งอธิบายได้ว่าทำไมประเทศที่ก้าวหน้าทางดิจิทัลจึงสามารถจึงสามารถดึงมูลค่าออกมาได้สูงกว่าอย่างมากจากคะแนน GDI ของพวกเขาที่ปรับปรุงดีขึ้น
การเชื่อมช่องว่าง: ข้อเรียกร้องเพื่อให้เกิดการปฏิบัติ
เอฟเฟกต์ของผลประโยชน์จากดิจิทัลแสดงให้เห็นทั้งความท้าทายและโอกาส สำหรับประเทศกลุ่มผู้เริ่มต้นและผู้นำมาใช้งาน สิ่งนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการเร่งการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในตำแหน่งล้าหลังมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม อย่างไรก็ตาม มันยังเสนอโอกาสในการก้าวข้ามขั้นตอนการพัฒนา (Leapfrogging) และระบุปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่โลกอัจฉริยะสี่ประการ ได้แก่ การเชื่อมต่อที่แพร่หลาย (Ubiquitous Connectivity) รากฐานทางดิจิทัล (Digital Foundations) พลังงานสีเขียว (Green Energy) และนโยบายและระบบนิเวศที่ให้การสนับสนุน (Supporting Policy & Ecosystem) เพื่อรับรองได้ว่าการพัฒนาทางดิจิทัลจะมีความยั่งยืนและยืดหยุ่นสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงได้
ประเทศกลุ่มผู้เริ่มต้นจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานการเชื่อมต่อที่แข็งแกร่ง ทั้งอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แบบมีสายและแบบไร้สาย งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีความก้าวหน้าในทั้งสองด้าน (ที่มีความเร็วอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์แบบมีสายเกิน 150 เมกะบิตต่อวินาทีและความเร็วอินเทอร์เน็ตมือถือเกิน 80 เมกะบิตต่อวินาที) จะมีปริมาณธุรกรรมอีคอมเมิร์ซต่อหัวที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะช่วยปลดล็อกศักยภาพทางเศรษฐกิจดิจิทัลให้เพิ่มขึ้น
ประเทศอินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศ ‘ผู้เริ่มต้น’ ในดัชนี GDI เพิ่งเสร็จสิ้นโครงการพัฒนาโครงข่ายใยแก้วนำแสงระดับชาติ ซึ่งทำให้ประชาชนเกือบ 6 ล้านคนใน 57 เมืองและเขตสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต พร้อมกับประชาชนอีก 16.4 ล้านคน อินโดนีเซียมีเครือข่าย 4G ครอบคลุมมากกว่า 94% ของเมืองและหมู่บ้าน และอัตราการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประเทศอยู่ที่ 79.5% การพัฒนาที่สอดรับกันอย่างดีนี้ทำให้อินโดนีเซียกลายเป็นตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี 2566 เศรษฐกิจดิจิทัลของอินโดนีเซียมีมูลค่า 8.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และมีบริษัทสตาร์ทอัพที่มีมูลค่ากว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ (Unicorn) กว่า 15 แห่งถูกสร้างขึ้น ภายในปี 2573 คาดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศจะเกิน 2.1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ
ประเทศที่อยู่ในกลุ่มผู้นำมาใช้งาน จำเป็นต้องให้ความสำคัญทั้งด้านการเชื่อมต่อและรากฐานทางดิจิทัล การลงทุนในศูนย์ข้อมูล บริการคลาวด์ และศักยภาพด้านปัญญาประดิษฐ์ จะสามารถช่วยให้ประเทศเหล่านี้เร่งเพื่อเข้าสู่ความพร้อมทางดิจิทัลได้เร็วขึ้น แผนการขยายศูนย์ข้อมูลของเม็กซิโกแสดงให้เห็นถึงแนวทางนี้ ภายในปี 2572 ประเทศตั้งเป้าที่จะสร้างศูนย์ข้อมูลใหม่ 73 แห่ง เพื่อเสริมกับที่มีอยู่แล้ว 15 แห่ง โครงการนี้คาดว่าจะเพิ่ม GDP ของประเทศและสร้างงานโดยตรงและทางอ้อมจำนวน 68,198 ตำแหน่ง การลงทุนที่เจาะจงในโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเช่นนี้แสดงให้เห็นว่าประเทศผู้นำมาใช้งานสามารถใช้เทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและการสร้างงานในภาคส่วนสำคัญ ๆ ได้อย่างไร
สำหรับประเทศกลุ่มผู้นำ ความท้าทายคือการรักษาความเป็นผู้นำในด้านนี้ ซึ่งต้องการไม่เพียงแต่การลงทุนต่อเนื่องในเทคโนโลยีล้ำสมัย แต่ยังรวมถึงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และนโยบายที่จำเป็นในการใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเหล่านี้ให้ได้เต็มที่ ข้อมูลของเราแสดงให้เห็นว่าแม้ว่าสัดส่วนของบัณฑิตจากสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) จะคล้ายกันในทุกกลุ่ม (ประมาณ 25%) แต่ประเทศกลุ่มผู้นำจะสามารถเปลี่ยนบัณฑิตเหล่านี้ให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน ICT ได้ถึง 95% ในขณะที่ประเทศผู้เริ่มต้นสามารถทำได้เพียง 15% เท่านั้น
อนาคตของเศรษฐกิจดิจิทัล
เมื่อเรามองสู่อนาคต เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่เช่นการประมวลผลควอนตัม (Quantum Computing) และระบบปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูงมีศักยภาพที่จะขยายเอฟเฟกต์ของผลประโยชน์จากดิจิทัลได้สูงขึ้นต่อไปอีก เทคโนโลยีเหล่านี้มีศักยภาพในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในหลากหลายสาขา ตั้งแต่การค้นคว้ายาใหม่ ๆ ไปจนถึงการสร้างแบบจำลองภูมิอากาศ ซึ่งจะสร้างเส้นทางใหม่ให้แก่การเติบโตทางเศรษฐกิจ
นอกจากนี้ บทบาทของโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในการรับประกันความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจก็ไม่อาจถูกมองข้ามได้ การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 แสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีความพร้อมทางดิจิทัลสามารถปรับตัวต่อการหยุดชะงักได้ดีกว่า โดยยังคงสามารถรักษากิจกรรมทางเศรษฐกิจไว้ได้ผ่านการทำงานทางไกล การศึกษาออนไลน์ และการบริการดิจิทัลต่าง ๆ
การตัดสินใจที่เราทำในวันนี้เกี่ยวกับการลงทุนในอนาคตทางดิจิทัลของเรา จะเป็นตัวกำหนดเส้นทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ไปอีกหลายทศวรรษ เอฟเฟกต์ของผลประโยชน์จากดิจิทัลแสดงให้เราเห็นว่า ในการแข่งขันสู่การเป็นประเทศที่มีความพร้อมทางดิจิทัลนั้น มีความเสี่ยงสูงกว่าที่เคย แต่ผลตอบแทนที่เป็นไปได้ก็สูงกว่าที่เคยเช่นกัน
[1] 1 World Economic Forum (WEF) |