ทรอนด์ไฮม์, นอร์เวย์ 2 ก.พ. 2567/พีอาร์นิวส์ไวร์/ — โครงการแคมปัสอัจฉริยะคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ของหัวเว่ยได้รับรางวัลเอเนอร์จี โกลบ เวิลด์ (Energy Globe World) ประจำปี 2566 โครงการซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อสวนอุตสาหกรรมพลังงานคาร์บอนต่ำและพลังงานอัจฉริยะเหยียนเฉิง ( Yancheng Low-Carbon & Smart Energy Industrial Park) เป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทเหยียนเฉิง พาวเวอร์ ซัพพลาย (Yancheng Power Supply Company) ของการไฟฟ้ามณฑลเจียงซูกับ หัวเว่ย โครงการเชิงนวัตกรรมนี้ได้รับการยอมรับในเรื่องการบูรณาการพลังงานสะอาดที่น่าทึ่ง ซึ่งประกอบด้วยร้อยละ 85 ของการใช้พลังงานทั้งหมด โดยร้อยละ 100ของการใช้พลังงานสุดท้ายเป็นไฟฟ้า สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ 3 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนได้ประมาณ 5,600 ตันต่อปี รางวัลเพิ่มเติม ได้แก่ รางวัลแชมป์การประชุมสุดยอดโลกว่าด้วยสมาคมสารสนเทศ (World Summit on the Information Society หรือ WSIS) ประจำปี 2565 ดร. แอนโธนี หู เฮา (Dr. Anthony Hu Hao) ประธานบริหารผู้เชี่ยวชาญหน่วยธุรกิจด้านการแปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นดิจิทัลของหัวเว่ย ได้รับการยกย่องจากความเป็นผู้นำที่เป็นแบบอย่างในโครงการนี้ และได้กล่าวสุนทรพจน์ในพิธีมอบรางวัล
ผู้มอบรางวัล เอเนอร์จี โกลบ เวิลด์ ได้แก่คณะองค์กรต่าง ๆ เช่น มูลนิธิเอเนอร์จี โกลบ องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ และหอการค้าเศรษฐกิจแห่งสหพันธรัฐออสเตรีย ในปี 2566 โครงการแคมปัสอัจฉริยะคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ได้รับการคัดเลือกจากโครงการที่ดีที่สุดกว่า 2,000 โครงการจากกว่า 180 ประเทศและภูมิภาค จึงกลายเป็นผู้ชนะเพียงรายเดียวของจีนที่ได้รับรางวัลนี้ คณะกรรมการตัดสินจากนานาชาติกล่าวว่า "โครงการนี้รวบรวมเอาค่านิยมหลัก 5 ประการ ได้แก่ การจัดหาพลังงานคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ การประสานงานหลายพลังงานเข้าด้วยกัน ประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่เหมาะสมที่สุด การเพิ่มขีดความสามารถทางดิจิทัล และนวัตกรรมข้ามพรมแดน โดยบูรณาการพลังงานหมุนเวียน ระบบพลังงานแบบรวมศูนย์และแบบกระจาย ไฮโดรเจน และการจัดเก็บพลังงาน ความท้าทายในการบูรณาการพลังงาน คาร์บอน และดิจิทัลได้รับการแก้ไขผ่านแนวทางสามมิติ โดยผสมผสานปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence หรือ AI) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things หรือ IoT) และการประมวลผลแบบคลาวด์เพื่อการดำเนินงานที่ยั่งยืนและชาญฉลาด โครงการได้รับการยอมรับในระดับสากลในฐานะต้นแบบสำหรับความเป็นกลางของคาร์บอนในระดับโลกและการพัฒนาที่ยั่งยืน"
โครงการที่คว้ารางวัลนำโดย ดร. แอนโธนี หู เฮา ตั้งอยู่บนพื้นฐานระบบพลังงานอัจฉริยะแบบคาร์บอนเป็นศูนย์และโมเดลการเปลี่ยนแปลง T³ ของเขา ซึ่งครอบคลุมด้านพลังงาน คาร์บอนเป็นศูนย์ และการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล โครงการมุ่งเน้นไปที่คาร์บอนเป็นศูนย์อัจฉริยะ พลังงาน และสถานการณ์อัจฉริยะเพื่อให้บรรลุการวางแผน การก่อสร้าง และการดำเนินงานแบบบูรณาการ โดยเป็นตัวอย่างสำหรับการสร้างระบบพลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คาร์บอนต่ำ ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพในสถานการณ์ในแคมปัส นอกจากนี้ยังช่วยให้เมืองและประเทศต่าง ๆ บรรลุวัตถุประสงค์คาร์บอนเป็นกลาง
นอกจากนี้ โครงการและโซลูชันดังกล่าวยังได้รับรางวัลได้แก่ รางวัลแชมป์การประชุมสุดยอดโลกว่าด้วยสมาคมสารสนเทศ (WSIS) ปี 2565 ในเดือนมิถุนายน ปี 2565 และได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งใน 10 โครงการระดับโลกยอดนิยมประจำปี 2565 ในรางวัลพอลสัน ไพรซ์ ด้านความยั่งยืน (Paulson Prize for Sustainability) ทฤษฎีหลัก สถาปัตยกรรม และแบบจำลองของโครงการคว้าสองรางวัล ได้แก่รางวัลสิ่งพิมพ์ยอดเยี่ยม (Best Paper) และรางวัลรายงานยอดเยี่ยม (Best Report) ในการประชุมนานาชาติ IEEE ว่าด้วยการบูรณาการระบบอินเทอร์เน็ตพลังงานและระบบพลังงาน และการประชุมว่าด้วยการพัฒนาไฟฟ้าและพลังงานนานาชาติประจำปี 2566
หัวเว่ยมุ่งมั่นที่จะเป็นพันธมิตรที่ดีที่สุดด้านการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าระดับโลก โดยนำเสนอโซลูชันที่เหมาะตามสถานการณ์สำหรับการผลิตไฟฟ้า การส่งและการแปลง การจำหน่าย และการใช้ไฟฟ้า โซลูชันและเรื่องราวความสำเร็จเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือบริษัทพลังงานระดับโลกให้บรรลุการเปลี่ยนแปลงด้านนวัตกรรมที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ในการทำเช่นนั้น หัวเว่ยจะปูทางทางดิจิทัลสำหรับการเปลี่ยนแปลงพลังงานทั่วโลกและบรรลุเป้าหมายคาร์บอนเป็นกลาง