สิงคโปร์, 24 กรกฎาคม 2567 /PRNewswire/ — สำนักงานควอนตัมแห่งชาติของสิงคโปร์ (NQO) สำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย (A*STAR) มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NSCC) และ Quantinuum ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) ในวันนี้ ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงควอนตัมคอมพิวเตอร์ขั้นสูงของ Quantinuum ได้ และสำรวจและประสานงานเกี่ยวกับกรณีการใช้งานควอนตัมคอมพิวเตอร์ โดยมุ่งเน้นที่ชีววิทยาเชิงคำนวณได้
[From left to right, seated] The MoU signing was represented by Dr Su Yi, Executive Director, A*STAR’s Institute of High Performance Computing; Mr Ling Keok Tong, Executive Director, National Quantum Office; Prof José Ignacio Latorre, Director, Centre for Quantum Technologies; Dr Rajeeb Hazra, President & CEO, Quantinuum, Dr Sebastian Maurer-Stroh, Executive Director, A*STAR’s Bioinformatics Institute; Prof Thomas M. Coffman, Dean, Duke-NUS Medical School; Dr Terence Hung, Chief Executive, National Supercomputing Centre Singapore.
ภายใต้ MoU ดังกล่าว ทุกฝ่ายต่างตกลงใช้ประโยชน์จากควอนตัมคอมพิวเตอร์รุ่น H-Series และ Helios ของ Quantinuum เพื่อส่งเสริมกิจกรรมการร่วมวิจัยและพัฒนา (R&D) ในการนำการประมวลผลควอนตัมไปใช้งานในแบบต่าง ๆ โดย Helios คือหน่วยประมวลผลควอนตัมยุคถัดไปของ Quantinuum ที่สามารถเพิ่มพลังการประมวลผลควอนตัมคอมพิวเตอร์ได้อย่างทวีคูณ
นอกจากนี้ ทุกฝ่ายจะร่วมกันพัฒนาโซลูชันการประมวลผลแบบไฮบริดซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานการคำนวณแบบคลาสสิกและควอนตัม นำไปสู่การสร้างแผนงานเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว โดย MoU ดังกล่าวยังเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือในการฝึกอบรมและการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านการสัมมนา เวิร์คช็อป และโครงการตามความต้องการ เพื่อบ่มเพาะผู้มีความสามารถด้านควอนตัม และมีส่วนสนับสนุนชุมชนควอนตัมที่กำลังเติบโตของสิงคโปร์
สิงคโปร์มีพื้นฐานแข็งแกร่งด้านชีววิทยาเชิงคำนวณและการรวบรวมชุดข้อมูลด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ โดย MoU ฉบับนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์จากสถาบันชีวสารสนเทศศาสตร์ของ A*STAR (BII ของ A*STAR) ศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม (CQT) ที่ NUS และศูนย์ชีววิทยาเชิงคำนวณของโรงเรียนแพทย์ Duke-NUS สามารถใช้ประโยชน์จากเครื่องของ Quantinuum เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างแบบจำลอง ระบบทางชีววิทยาที่ซับซ้อน การค้นคว้ายาที่ล้ำหน้า และการแพทย์เฉพาะบุคคล นอกจากนี้ Quantinuum ยังวางแผนจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาในสิงคโปร์โดยเฉพาะ เพื่อให้นักวิจัยจากทั้ง Quantinuum และสิงคโปร์สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และความเชี่ยวชาญได้ดีขึ้นเพื่อพัฒนาเพิ่มเติมด้านการนำควอนตัมไปใช้และอัลกอริธึม
ในฐานะบริษัทควอนตัมคอมพิวเตอร์รายใหญ่ที่สุดที่ประสบความสำเร็จในการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงสุด Quantinuum นำเสนอแพลตฟอร์มควอนตัมคอมพิวเตอร์บูรณาการครบวงจร โดย Quantinuum ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดักจับไอออน ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางที่มีแนวโน้มมากที่สุดสำหรับการสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่มีความเที่ยงตรงสูงสุดและปรับขนาดได้ เพื่อพัฒนากรณีการใช้งานในการนำไปใช้ที่หลากหลาย รวมถึงด้านเภสัชภัณฑ์ วัสดุศาสตร์ และการเงิน
MoU ฉบับนี้อยู่ภายใต้แนวทางยุทธศาสตร์ควอนตัมแห่งชาติของสิงคโปร์ ซึ่งมีเป้าหมายเสริมความแข็งแกร่งให้กับตำแหน่งของสิงคโปร์ในฐานะศูนย์กลางชั้นนำในการพัฒนาและการนำเทคโนโลยีควอนตัมไปใช้ โดยส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ในสาขาการวิจัยควอนตัมที่มีผลกระทบสูง เสริมสร้างความสามารถด้านวิศวกรรมของสิงคโปร์ด้านเทคโนโลยีควอนตัม เพื่อเร่งการเปลี่ยนไปสู่โซลูชันในชีวิตจริง กล่าวคือ การดึงดูด การพัฒนา และการรักษาผู้มีความสามารถด้านควอนตัม และรักษาพันธมิตรต่าง ๆ ของบริษัทเพื่อสร้างอุตสาหกรรมควอนตัมที่น่าตื่นเต้นและยืดหยุ่น
NQO ดูแลการพัฒนาและการดำเนินยุทธศาสตร์ควอนตัมแห่งชาติของสิงคโปร์ เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี ผู้มีความสามารถ และการพัฒนาระบบนิเวศด้านควอนตัมของสิงคโปร์ผ่านโครงการควอนตัมระดับชาติ โดย National Quantum Computing Hub (NQCH) ซึ่งเป็นโครงการควอนตัมระดับชาติและการดำเนินงานร่วมกันของ CQT, สถาบันคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง ของ A*STAR (IHPC ของ A*STAR) และศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติสิงคโปร์จะขับเคลื่อนความร่วมมือนี้กับ Quantinuum
"นี่คือความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Quantinuum หลังจากการเปิดตัวยุทธศาสตร์ควอนตัมแห่งชาติ (National Quantum Strategy) ของสิงคโปร์เมื่อปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา NQO ได้รวบรวมผู้ดำเนินการวิจัยหลักผ่าน NQCH เพื่อร่วมมือกับ Quantinuum ในการผลักดันการวิจัยและพัฒนาการประมวลผลควอนตัม ซึ่งจะช่วยให้สิงคโปร์ได้เปรียบในกรณีการใช้งานควอนตัมในอุตสาหกรรมต่าง ๆ โดย MoU ฉบับนี้ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้กัน จะทำให้สิงคโปร์สามารถเข้าถึงควอนตัมคอมพิวเตอร์รุ่น H-Series และ Helios สุดล้ำสมัยของ Quantinuum ได้ NQO จะยังคงส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกันผ่านโครงการควอนตัมระดับชาติ และเราหวังจะส่งมอบผลลัพธ์ที่อาจเป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศการวิจัย นวัตกรรม และธุรกิจ (RIE) ร่วมกัน" Ling Keok Tong กรรมการบริหารของ NQO กล่าว
"ความร่วมมือของเราตอกย้ำความมุ่งมั่นในการพัฒนาควอนตัมคอมพิวเตอร์ระดับโลก ด้วยการใช้ประโยชน์จากควอนตัมคอมพิวเตอร์รุ่น H-Series ที่ล้ำสมัยและชุดซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันควอนตัมชั้นนำ เรามุ่งหมายเริ่มสำรวจกรณีการใช้งานที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในด้านชีววิทยาเชิงคำนวณและวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เพื่อเร่งให้เกิดนวัตกรรมในอุตสาหกรรมต่าง ๆ การก่อตั้งศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาในสิงคโปร์เป็นการยกระดับความทุ่มเทของเราในการส่งเสริมระบบนิเวศควอนตัมที่คึกคัก ผลักดันความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์ และบ่มเพาะผู้มีความสามารถด้านควอนตัมระดับแนวหน้า เราหมายมั่นที่จะสร้างความก้าวหน้าครั้งสำคัญในเทคโนโลยีควอนตัม โดยสนับสนุนเป้าหมายของสิงคโปร์ในการเป็นผู้นำด้านภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว" ดร. Rajeeb (Raj) Hazra ซีอีโอของ Quantinuum กล่าว
ภาคผนวก ก – คำกล่าวเพิ่มเติมจากผู้ลงนามใน MoU
เกี่ยวกับสำนักงานควอนตัมแห่งชาติ
สำนักงานควอนตัมแห่งชาติ (NQO) ก่อตั้งขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิการวิจัยแห่งชาติ (NRF) เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาและการดำเนินกลยุทธ์การวิจัย นวัตกรรม และธุรกิจ (RIE) ด้านควอนตัมในสิงคโปร์ สำนักงานแห่งนี้ก่อตั้งขึ้นในเดือนเมษายน 2565 และบริหารจัดการโดย A*STAR ซึ่งเป็นหน่วยงานดำเนินการด้านควอนตัม โดย NQO ในฐานะหอบังคับการ สนับสนุนการวิจัยพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ด้านควอนตัมผ่านโครงการเชิงกลยุทธ์ต่าง ๆ ที่ NQO รับผิดชอบดูแล โดยร่วมมือกับทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อสร้างระบบนิเวศควอนตัม RIE ที่มีชีวิตชีวาในสิงคโปร์ ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://nqo.sg
เกี่ยวกับสำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย (A*STAR)
สำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย (A*STAR) เป็นหน่วยงานวิจัยและพัฒนาภาครัฐชั้นนำของสิงคโปร์ เราร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนผ่านนวัตกรรมแบบเปิดเพื่อสร้างประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ในฐานะองค์กรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี A*STAR เชื่อมช่องว่างระหว่างแวดวงวิชาการและอุตสาหกรรม งานวิจัยของเราสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างงานให้กับสิงคโปร์ และยกระดับชีวิตด้วยการปรับปรุงผลลัพธ์ทางสังคมในด้านการดูแลสุขภาพ การใช้ชีวิตในเมือง และความยั่งยืน โดย A*STAR มีบทบาทสำคัญในการบ่มเพาะผู้มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และผู้นำสำหรับชุมชนการวิจัยและอุตสาหกรรมในวงกว้าง กิจกรรมการวิจัยและพัฒนาของ A*STAR ครอบคลุมวิทยาศาสตร์ชีวการแพทย์ไปจนถึงวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ โดยมีหน่วยงานวิจัยที่ตั้งอยู่ใน Biopolis และ Fusionopolis เป็นหลัก รับข่าวสารต่อเนื่องได้ที่ www.a-star.edu.sg
ช่องทางติดตาม
เฟซบุ๊ก | ลิงค์อิน | อินสตาแกรม | ยูทูบ | ติ๊กต็อก
เกี่ยวกับ Quantinuum
Quantinuum บริษัทควอนตัมคอมพิวเตอร์บูรณาการครบวงจรรายใหญ่ที่สุดของโลก เป็นผู้บุกเบิกควอนตัมคอมพิวเตอร์อันทรงพลังและโซลูชันซอฟต์แวร์ขั้นสูง โดยเทคโนโลยีของ Quantinuum ขับเคลื่อนความก้าวหน้าในการค้นพบข้อมูล ความปลอดภัยทางไซเบอร์ และควอนตัม AI (ปัญญาประดิษฐ์) เจเนอเรชันใหม่ Quantinuum เป็นผู้นำการปฏิวัติการประมวลผลควอนตัมทั่วนานาทวีปด้วยพนักงานมากกว่า 500 คน รวมถึงนักวิทยาศาสตร์และวิศวกรมากกว่า 370 คน
เกี่ยวกับโรงเรียนแพทย์ Duke-NUS
Duke-NUS เป็นโรงเรียนแพทย์ระดับบัณฑิตศึกษาชั้นนำของสิงคโปร์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2548 โดยมีความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ที่นำโดยรัฐบาลระหว่างสถาบันระดับโลกสองแห่ง ได้แก่ Duke University School of Medicine และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) ด้วยหลักสูตรที่สร้างสรรค์ นักศึกษาของ Duke-NUS ได้รับการบ่มเพาะให้เป็น ‘Clinicians Plus’ ที่มีความสามารถหลากหลาย พร้อมที่จะขับเคลื่อนระบบนิเวศด้านการดูแลสุขภาพและชีวการแพทย์ในสิงคโปร์และที่อื่น ๆ โดย Duke-NUS เป็นผู้นำด้านการวิจัยที่ก้าวล้ำและนวัตกรรมการนำไปประยุกต์ใช้ โดยได้รับชื่อเสียงระดับนานาชาติผ่านโครงการวิจัยอันเป็นเอกลักษณ์ห้าโครงการและศูนย์ 10 แห่ง ผลกระทบที่ยั่งยืนของการค้นพบต่าง ๆ ของโรงเรียนนี้ได้รับการส่งเสริมเพิ่มเติมจากความสำเร็จในการเป็นพันธมิตรด้านการแพทย์เชิงวิชาการกับ Singapore Health Services (SingHealth) ซึ่งเป็นกลุ่มการดูแลสุขภาพที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์นี้ได้นำไปสู่การตั้งโครงการทางคลินิกเชิงวิชาการ 15 โครงการ ซึ่งใช้ประโยชน์จากการวิจัยและการศึกษาแบบสหสาขาวิชาชีพเพื่อเปลี่ยนแปลงการแพทย์และปรับปรุงการใช้ชีวิต
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.duke-nus.edu.sg
เกี่ยวกับศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม
ศูนย์เทคโนโลยีควอนตัม (CQT) เป็นศูนย์วิจัยเทคโนโลยีควอนตัมระดับชาติที่สำคัญของสิงคโปร์ ศูนย์แห่งนี้ได้รับการสนับสนุนภายใต้ยุทธศาสตร์ควอนตัมแห่งชาติของสิงคโปร์ และมีโหนดอยู่ตามสถาบันพันธมิตรและประสานงานกับผู้มีความสามารถด้านการวิจัยทั่วประเทศ
สถาบันพันธมิตรของ CQT คือมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ได้แก่ มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ประเทศสิงคโปร์ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ และสำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย
CQT รวบรวมนักฟิสิกส์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และวิศวกรเพื่อทำการวิจัยพื้นฐานเกี่ยวกับควอนตัมฟิสิกส์ และสร้างอุปกรณ์ตามปรากฏการณ์ควอนตัม ผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาใหม่ด้านเทคโนโลยีควอนตัมกำลังประยุกต์การค้นพบของตนในการประมวลผล การสื่อสาร และการตรวจจับ
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.quantumlah.org
เกี่ยวกับศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติสิงคโปร์
ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NSCC) สิงคโปร์ ก่อตั้งขึ้นในปี 2558 โดยบริหารจัดการอาคาร Petascale แห่งชาติแห่งแรกของสิงคโปร์โดยจัดหาทรัพยากรการประมวลผลสมรรถนะสูง (HPC) ในฐานะโครงสร้างพื้นฐานการวิจัยแห่งชาติ NSCC สนับสนุนการวิจัยของภาคเอกชนและภาครัฐ รวมถึงบริษัทพาณิชย์ หน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนสถาบันอุดมศึกษาและสถาบันวิจัยต่าง ๆ NSCC เร่งให้เกิดการวิจัยและพัฒนาระดับชาติ ดึงดูดความร่วมมือด้านการวิจัยเชิงอุตสาหกรรม และเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยของสิงคโปร์ผ่านการสนับสนุนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงสำนักงานวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย (A*STAR) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (NTU) มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (NUS) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ (SUTD) สำนักงานสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (NEA) และศูนย์เทคโนโลยีนอกชายฝั่งและทางทะเล สิงคโปร์ (TCOMS) และได้รับทุนสนับสนุนจากมูลนิธิการวิจัยแห่งชาติ (NRF) ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: https://nscc.sg
ภาคผนวก – คำกล่าวเพิ่มเติมจากผู้ลงนามใน MoU
"BII ของ A*STAR รู้สึกตื่นเต้นที่ได้นำความเชี่ยวชาญแนวทางชีววิทยาเชิงคำนวณและชีวสารสนเทศศาสตร์มาใช้เร่งการพัฒนาควอนตัมอัลกอริธึมไฮบริดแบบคลาสสิก ควอนตัมอัลกอริธึม และการประยุกต์ใช้งานผ่าน MoU ฉบับนี้ นอกจากนี้ MoU ฉบับดังกล่าวยังเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อยกระดับความเข้าใจของเราเกี่ยวกับเทคโนโลยีควอนตัม ทำให้เราอยู่ในระดับแนวหน้าของนวัตกรรมในสาขาที่สำคัญเหล่านี้" ดร. Sebastian Maurer-Stroh กรรมการบริหารสถาบันชีวสารสนเทศศาสตร์ของ A*STAR กล่าว
"ขณะนี้การค้นพบทางชีววิทยาที่มีแนวโน้มดีหลายอย่างต้องหยุดชะงักลงเมื่อต้องค้นหาตัวยาที่เหมาะสม ซึ่งไม่เพียงแต่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรคเท่านั้น แต่ผู้ป่วยยังสามารถทนต่อยาได้เป็นอย่างดีอีกด้วย กระบวนการค้นหาโมเลกุลที่เหมาะสมนั้นช้าและมักถูกจำกัดด้านจำนวนตัวแปรที่สามารถนำมาพิจารณาได้ในโมเดลเดียว การเพิ่มขีดความสามารถในปัจจุบันของเราด้วยควอนตัมคอมพิวเตอร์สามารถปลดข้อจำกัดเหล่านี้ได้ ทำให้ผู้ป่วยได้รับยาที่ดีขึ้นและรวดเร็วยิ่งขึ้น" รองศาสตราจารย์ Enrico Petretto ผู้อำนวยการศูนย์ชีววิทยาเชิงคำนวณของ Duke-NUS กล่าว และเสริมว่า "ความร่วมมือครั้งนี้ ซึ่งมุ่งเน้นไปที่การประยุกต์ใช้ควอนตัมในด้านชีววิทยา จะเป็นประโยชน์ต่อนักชีววิทยาเชิงคำนวณฝึกหัดที่ต้องการเข้าใจวิธีการผนวกควอนตัมคอมพิวเตอร์เข้ากับงานค้นคว้ายาให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น"
"IHPC ของ A*STAR ได้ใช้ประโยชน์จากหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) และหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) เพื่อเร่งการคำนวณที่ซับซ้อนและเพิ่มประสิทธิภาพงานที่ต้องใช้ข้อมูลจำนวนมาก ด้วยความก้าวหน้าในเทคโนโลยีควอนตัมคอมพิวเตอร์ เรากำลังบูรณาการองค์ประกอบหน่วยประมวลผลควอนตัม (QPU) เพื่อผลักดันขอบเขตการคำนวณและขับเคลื่อนนวัตกรรมในสาขาต่าง ๆ ความร่วมมือของเรากับ Quantinuum ถือเป็นก้าวสำคัญในการปรับปรุงการนำไปงานต่าง ๆ เช่น การค้นคว้ายา ซึ่งอาจช่วยเร่งการพัฒนายาชนิดใหม่และมีประสิทธิภาพ เพื่อปรับปรุงผลลัพธ์ด้านการดูแลสุขภาพและลดต้นทุนการวิจัย" ดร. Su Yi กรรมการบริหารสถาบันคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงของ A*STAR กล่าว
"ผมตื่นเต้นที่ได้เริ่มความร่วมมือครั้งใหม่ระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ของเราในสิงคโปร์และบริษัทข้ามชาติอย่าง Quantinuum เรานำความรู้ความชำนาญด้านควอนตัมอัลกอริธึมและชีววิทยาเชิงคำนวณมาทำงานร่วมกับทีมงาน Quantinuum ที่กำลังสร้างควอนตัมคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูงสุดบางรุ่นที่มีในโลกปัจจุบัน" ศาสตราจารย์ José Ignacio Latorre ผู้อำนวยการ CQT และหัวหน้าผู้ตรวจสอบหลักของ National Quantum Computing Hub กล่าว
"ในปีที่ผ่านมา เราได้เห็นแนวโน้มทั่วโลกในการพยายามเร่งบูรณาการและจัดวางซูเปอร์คอมพิวเตอร์และควอนตัมคอมพิวเตอร์ สะท้อนความสัมพันธ์พึ่งพากันอันแข็งแกร่งระหว่างระบบคลาสสิกและระบบควอนตัม การจับมือกันระหว่างสิงคโปร์กับ Quantinuum จะเป็นก้าวสำคัญในการช่วยให้ NSCC เรียนรู้ วางแผนและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลแบบไฮบริดในอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนการวิจัย" Terence Hung ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติสิงคโปร์ กล่าว
"ความร่วมมือกับ Quantinuum จะช่วยส่งเสริมระบบนิเวศดิจิทัลของสิงคโปร์ เนื่องจากนักวิจัยและบริษัทต่าง ๆ จะสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาและทดลองเทคนิคควอนตัมขั้นสูงได้ การลงทุนของ Quantinuum ในสิงคโปร์จะช่วยเพิ่มพูนขีดความสามารถของเราด้านควอนตัมคอมพิวเตอร์และกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมในสาขาที่เกี่ยวข้องทั่วโลกของด้านการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ เช่น ชีววิทยาเชิงคำนวณ" Philbert Gomez รองประธานและหัวหน้า อุตสาหกรรมดิจิทัลสิงคโปร์ กล่าว
รูปภาพ – https://mma.prnewswire.com/media/2467879/Quantinuum_Singapore_MoUSigning.jpg