มาตรฐาน RSPO ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการจากสมาชิก RSPO ในการประชุมสมัชชาใหญ่ RSPO ครั้งที่ 21 (GA21) ณ กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย หลังผ่านกระบวนการทบทวนมาตรฐานอย่างละเอียดและครอบคลุม
กรุงเทพฯ, 17 พฤศจิกายน 2567 /PRNewswire/ — หลังการประชุมสมัชชาใหญ่ประจําปีในเวทีปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RT2024) สมาชิก RSPO ได้ลงมติรับรองมาตรฐานหลักการและเกณฑ์กำหนด ปี 2024 (P&C) และมาตรฐานสําหรับ เกษตรกรรายย่อยอิสระ (ISH) ในการประชุมสมัชชาใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 21 ของ RSPO (GA21) การรับรองดังกล่าว ถือเป็นการเปิดบทใหม่ แห่งการบรรลุวิสัยทัศน์ของพันธมิตรระดับโลกเพื่อทําให้การผลิตปาล์มน้ำมันเกิดความยั่งยืน โดยมาตรฐาน RSPO มีจุดมุ่งหมายและข้อกําหนดบังคับสําหรับการผลิตและการจัดหาปาล์มน้ำมันที่มีความยั่งยืนผ่าน การรับรองจาก RSPO
มาตรฐาน RSPO ปี 2024 ถือเป็นพัฒนาการของการปรับปรุงข้อกําหนดเพื่อเพิ่มความชัดเจน รวมทั้งความสามารถ ในการตรวจสอบและการนําไปปฏิบัติใช้ที่เชื่อมโยงและสอดคล้องกับตลาด โดยไม่ได้มีการลดทอนมาตรฐานของ RSPO หลักการและกฏเกณฑ์ (P&C) ปี 2018 และมาตรฐานสําหรับเกษตรกรรายย่อยอิสระ (ISH) ปี 2019 ทั้งนี้ มาตรฐานที่ได้รับการปรับปรุงจะมีผลบังคับใช้หลังจากผ่านช่วงเปลี่ยนผ่าน 12 เดือน หลังการประกาศ
นอกจากนี้มาตรฐานปี 2024 ยังเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบการรับรอง RSPO ผ่านแพลตฟอร์ม prisma ซึ่งเป็นระบบใหม่ของ RSPO ที่ให้ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัลรวมไปถึงสามารถตรวจสอบย้อนกลับในระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสนับสนุนให้สมาชิกในการประเมินความเสี่ยง รวมทั้งมีระบบการตรวจสอบย้อนกลับเพื่อรองรับกับกฎระเบียบและข้อปฏฺบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
การปรับปรุงที่สําคัญของมาตรฐาน RSPO ปี 2024 ได้แก่:
การปรับปรุงแนวทางในลดการตัดไม้ทําลายป่าและการคำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม: การนําแนวทางการบูรณาการพื้นที่ที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์สูงและมีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนสูง หรือ Integrated High Conservation Value-High Carbon Stock (HCV-HCS) มาใช้ถือเป็นหัวใจสําคัญ ของการปรับปรุงมาตรฐานดังกล่าว กรอบแนวทางของตัวชี้วัดที่ปรับปรุงใหม่ช่วยเพิ่มความชัดเจนในการดําเนินงานด้าน การปกป้องระบบนิเวศที่สําคัญ เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดการพื้นที่ปลูกอย่างมีความรับผิดชอบ ไม่มีการแผ้วถางป่า ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการแนะนําตัวชี้วัดใหม่เกี่ยวกับการใช้น้ำและการดึงน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้เพื่อแก้ปัญหา การขาดแคลนน้ำในอนาคต
การตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านสิทธิมนุษยชน: บริษัทต่างๆ จําเป็นต้องดําเนินการตรวจสอบอย่างรอบคอบเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนเพื่อระบุผลกระทบที่มีอยู่และอาจจะเกิดขึ้นต่อการดําเนินงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ตลอดจนพัฒนาแผนปฏิบัติการเพี่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มของเกษตรกรรายย่อย: มาตรฐานสําหรับเกษตรกรรายย่อยอิสระ (ISH) ได้รับการ ยกระดับให้มีความชัดเจนมากขึ้นสําหรับตัวชี้วัดทั้งหมดเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กลุ่มเกษตรกรรายย่อยมีส่วนร่วมในห่วงโซ่อุปทานทางกายภาพที่ได้รับการรับรองเพื่อให้เข้าถึงตลาดใหม่ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
ยกระดับการตรวจรับรองและความสามารถในการนําไปปฏิบัติ: มีการกำหนดแผนงานที่ชัดเจนเพื่อสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แนวทางปฏิบัติด้านแรงงานอย่างมีความรับผิดชอบ และสิทธิของชุมชน ซึ่งการตรวจรับรองและการนำไปปฏิบัติที่ปรับปรุงใหม่จะช่วยยกระดับความน่าเชื่อถือของกระบวนการตรวจรับรอง ทำให้สมาชิก หน่วยตรวจรับรอง และหน่วยงานรับรองระบบงาน ให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
กระบวนการทบทวนมาตรฐานที่ครอบคลุมทุกมิติ
"กระบวนการทบทวนมาตรฐาน RSPO ได้รับการสนับสนุนจากมุมมองเชิงลึกจากเกษตรกรรายย่อย องค์กรภาคสังคมและสิ่งแวดล้อม ผู้ตรวจรับรอง และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายภูมิภาคตลอดระยะเวลา 2 ปี ผมรู้สึกยินดีที่สมาชิก RSPO ลงมติให้การรับรองมาตรฐานปี 2024 ซึ่งได้พัฒนาเกณฑ์กำหนดที่ชัดเจน ครอบคลุมและปฏิบัติได้จริง สามารถตอบโจทย์ความท้าทายในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นด้านการคุ้มครองแรงงาน หรือต่อสู้ กับการตัดไม้ทําลายป่า" นายโจเซฟ ดี’ครูซ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร RSPO กล่าว
Ruth Silva ผู้อํานวยการฝ่ายการรับรองของ HCV Network ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า "การให้ความสําคัญกับเกษตรกร ถือเป็นส่วนเสริมที่สําคัญของมาตรฐาน ไม่ใช่เฉพาะกับตัวชี้วัดและเกณฑ์กำหนดที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการปกป้องพื้นที่ ที่มีคุณค่าต่อการอนุรักษ์สูง (HCV) หรือการไม่ทําลายป่าเท่านั้น การจัดกลุ่มตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดการ และการติดตามผลทําให้มองเห็นการดําเนินการในภาพรวมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งจะทําให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่สามารถ ตรวจสอบย้อนกลับได้ง่ายขึ้น"
นับตั้งแต่เริ่มใช้แนวทาง HCV ในเดือนพฤศจิกายน 2005 และแนวทาง HCS ในเดือนพฤศจิกายน 2018 การรับรองของ RSPO ได้ปกป้องพื้นที่ป่าซึ่งมีคุณค่าต่อการอนุรักษ์สูงและมีความสามารถในการดูดซับคาร์บอน (HCS) กว่า 466,600 เฮกตาร์ ณ ปี 2023 โดยรวมแล้ว เมื่อคํานึงถึงระบบนิเวศที่สําคัญอื่นๆ การรับรองของ RSPO ได้ปกป้องและฟื้นฟูผืนป่าตลอดจนพื้นที่ที่มีคุณค่าประมาณ 646,700 เฮกตาร์ทั่วโลก รวมถึงป่าพรุเขตร้อน และพื้นที่สงวนริมชายฝั่ง
László Mathé ผู้จัดการโครงการรับรอง RSPO ของ Assurance Services International (ASI) เปิดเผยว่า "เราเน้นที่การนําไปปฏิบัติและการตรวจรับรองมาตรฐาน การทบทวนมาตรฐานที่สําคัญได้ปรับปรุงข้อกําหนดให้มีความชัดเจนขึ้น ทําให้ผู้ขอรับรองสามารถนำไปปฏิบัติได้จริงมากขึ้น และผู้ตรวจรับรองสามารถทำการประเมินได้ง่ายขึ้น เนื่องจากข้อความมีความชัดเจนและเป็นปัจจุบันมากขึ้น ซึ่งช่วยขจัดความเข้าใจคลาดเคลื่อนบางประการที่เราในพบระหว่างการตรวจประเมิน อาทิ ส่วนที่เกี่ยวข้องกับระเบียบวิธีการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน (LUCA) เราสังเกตว่าเกษตรกรในบางภูมิภาคเข้าใจข้อกําหนดผิด ดังนั้นการปรับปรุงข้อกำหนดให้มีความชัดเจนมีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงการพัฒนาของการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เกิดขึ้นล่าสุดภายใต้กฏระเบียบ EUDR"
ตั้งแต่การเปิดตัวมาตรฐานสำหรับเกษตรกรรายย่อยอิสระ RSPO (ISH) ในปี 2019 มีเกษตรกรรายย่อยอิสระกว่า 40,000 ราย ใน 9 ประเทศ ได้รับการรับรอง
"ผมมีส่วนร่วมในการทบทวนมาตรฐานระหว่างการประชุมที่จาการ์ตา การทบทวนมาตรฐานครั้งนี้จะช่วยให้เกษตรกรรายย่อยของเราสามารถเข้าถึงตลาดได้มากขึ้นและขยายโอกาสในการเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ รวมทั้งช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่ผ่านการรับรอง ซึ่งมีจำนวนมากขึ้นทุกปี การมีส่วนร่วมในการพัฒนามาตรฐานให้มีความชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งมาตรฐานสำหรับเกษตรกรรายย่อยอิสระ (ISH) จะช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของตลาดที่มีต่อระบบการรับรองนี้ได้อย่างแน่นอน" นายจามาลุดดีน ผู้จัดการกลุ่มสหกรณ์เพาะปลูก Balayan Sejahtera ซึ่งเป็นสหกรณ์เกษตรกรรายย่อยในจังหวัดกาลีมันตันตะวันออกของประเทศอินโดนีเซียที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน RSPO ครอบคลุมพื้นที่ 1,331 เฮกตาร์ กล่าวทิ้งท้าย
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานหลักการและกฏเกณฑ์ (P&C) และมาตรฐานสำหรับเกษตรกรรายย่อยอิสระ RSPO (ISH) ของ RSPO ฉบับปรับปรุงใหม่ปี 2024 ได้ที่นี่
เกี่ยวกับ RSPO:
The Roundtable on Sustainable Palm Oil (RSPO) หรือองค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน เป็นความร่วมมือระดับโลกในการทำให้ปาล์มน้ำมันเกิดความยั่งยืน RSPO ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2547 เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายภาคส่วน ซึ่งรวบรวมสมาชิกจากตลอดห่วงโซ่คุณค่าปาล์มน้ำมัน ซึ่งรวมถึงผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ผู้แปรรูปและผู้ค้าน้ำมันปาล์ม ผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค ผู้ค้าปลีก ธนาคารและนักลงทุน องค์กรพัฒนาเอกชน (NGO) ด้านสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ธรรมชาติ รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชนด้านสังคมและ
การพัฒนา ในฐานะหุ้นส่วนเพื่อความก้าวหน้าและสร้างผลกระทบเชิงบวก RSPO สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงระดับโลก เพื่อทำให้การผลิตและการบริโภคน้ำมันปาล์มยั่งยืน โดยสื่อสารถึงประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมเพื่อสร้างแรง บันดาลใจในการเปลี่ยนแปลง กระตุ้นความร่วมมือเพื่อความก้าวหน้า และให้การรับประกันโดยการกำหนด มาตรฐานการรับรอง
RSPO จดทะเบียนเป็นสมาคมระหว่างประเทศในเมืองซูริก ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยมีสำนักงานใหญ่ ในมาเลเซียและอินโดนีเซีย และมีสำนักงานในจีน โคลอมเบีย เนเธอร์แลนด์ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา
รูปถ่าย – https://mma.prnasia.com/media2/2556609/1000240216.jpg?p=medium600
Logo – https://mma.prnasia.com/media2/2380937/RSPO_Trademark_Logo_transparent_png_Logo.jpg?p=medium600