เจนัว อิตาลี และเดรสเดิน เยอรมนี, 10 มกราคม 2567 /PRNewswire/ — เทคโนโลยีตัวนำยวดยิ่งแมกนีเซียมไดโบไรด์ (MgB2) ของเอเอสจี ซูเปอร์คอนดักเตอร์ส (ASG Superconductors) หรือเอเอสจี (ASG) เป็นเทคโนโลยีหลักในการนำเสนอนวัตกรรมระดับโลกในวันนี้ ณ เมืองเดรสเดิน ในด้านการฉายรังสีบำบัดด้วยอนุภาคโปรตอนและการรักษามะเร็งโดยใช้เอ็มอาร์ไอ (MRI หรือ การตรวจสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า) แบบเรียลไทม์ ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ไปประยุกต์ใช้ในด้านพลังงานและการแพทย์อยู่แล้ว รวมถึงในเอ็มอาร์โอเพนอีโว (MROpenEVO) ระบบเอ็มอาร์ไอแบบเปิดระบบเดียวในโลก
OncoRay world’s first scientific prototype combining real time magnetic resonance imaging with proton therapy for tumours
เอ็มอาร์ไอมีข้อดีที่เหนือกว่าการตรวจสร้างภาพแบบดั้งเดิม เนื่องจากสามารถแสดงภาพเนื้องอกมะเร็งโดยมีคอนทราสต์ความเปรียบต่างที่เหนือชั้นของภาพเนื้อเยื่อ ทำให้เป็นไปได้ที่จะแยกเนื้องอกมะเร็งออกจากเนื้อเยื่อดีโดยรอบ และสามารถกำหนดก้อนส่วนที่จะฉายรังสีได้อย่างแม่นยำ นอกจากนี้ การนำทางของเอ็มอาร์ไอยังสามารถแสดงการเปลี่ยนแปลงในแง่ของรูปร่างและขนาดของก้อนที่จะฉายรังสี ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการรักษาหลายครั้งต่อเนื่องกัน ทำให้สามารถปรับการประยุกต์ใช้การฉายรังสีสำหรับแต่ละบุคคลและทำได้โดยทันที หนึ่งสิ่งสำคัญของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีครั้งใหญ่หลวงนี้ที่จะมีผลกระทบต่อการรักษามะเร็ง คือเอ็มอาร์ไอแบบเรียลไทม์ ซึ่งทำให้สามารถแสดงภาพการเคลื่อนที่ของเนื้องอกมะเร็งระหว่างการฉายรังสี และปรับการใช้งานรังสีรักษาให้สอดคล้องกัน
ตัวจำลองต้นแบบที่นำเสนอวันนี้ในเยอรมนีที่ออนโคเรย์ (Oncoray) ศูนย์วิจัยรังสีรักษามะเร็งแห่งชาติ (National Centre for Radiation Research in Oncology) ทำให้เป็นไปได้เป็นครั้งแรกของโลก ที่จะศึกษาการเพิ่มความแม่นยำของการฉายรังสีบำบัดด้วยอนุภาคโปรตอน โดยใช้การนำทางของเอ็มอาร์ไอสำหรับทั้งร่างกายแบบเรียลไทม์ ในแง่นี้ หัวหน้าคณะวิจัยเรื่อง ‘การฉายรังสีบำบัดด้วยอนุภาคโปรตอนบูรณาการกับสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเชิงทดลอง (Experimental MR-integrated Proton Therapy) อาจารย์แอสวิน ฮอฟฟ์แมนน์ (Aswin Hoffmann) ซึ่งทำงานร่วมกับวิศวกรของเอเอสจีในการพัฒนาระบบใหม่ดังกล่าวนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กล่าวว่า "ตัวจำลองต้นแบบใหม่ของเอ็มอาร์ไอเชิงบูรณาการสำหรับทั้งร่างกาย ทำให้เป็นไปได้ที่จะแสดงภาพการเคลื่อนที่ของเนื้องอกมะเร็งด้วยภาพความเปรียบต่างสูงแบบเรียลไทม์ การทำงานของเรามีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเทคนิคการฉายรังสีเนื้องอกมะเร็งที่กำลังเคลื่อนที่เฉพาะเมื่ออยู่ในตำแหน่งถูกต้องที่จะโดนลำอนุภาคโปรตอน อุปกรณ์เอ็มอาร์ไอดังกล่าวนี้ ซึ่งสามารถหมุนรอบตัวผู้ป่วย ยังมอบความเป็นไปได้สำหรับรูปแบบวิธีการจัดวางตำแหน่งผู้ป่วยอันเป็นนวัตกรรม เพื่อให้ได้รับการรักษาด้วยรังสีอนุภาคโปรตอนทั้งในท่าแบบเอนนอนและแบบนั่งตรง"
ตัวจำลองต้นแบบนี้สร้างจากเทคโนโลยีของเอเอสจี ซึ่งใช้งานในระบบเอ็มอาร์โอเพนอีโวอยู่แล้ว อันเป็นระบบเอ็มอาร์ไอเดียวในโลกที่มีดีไซน์แบบเปิดอย่างสมบูรณ์และใช้เทคโนโลยีตัวนำยวดยิ่งแมกนีเซียมไดโบไรด์ปราศจากไซโรเจน ตัวจำลองต้นแบบดังกล่าวนี้จะใช้ในการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อแสดงคุณค่าเพิ่มของวิธีการรักษาใหม่นี้สำหรับเนื้องอกมะเร็งในทรวงอก ช่องท้อง และเชิงกราน การพัฒนาและการติดตั้ง รวมไปถึงการทดสอบเดินเครื่อง เกิดขึ้นได้ด้วยการทำงานอย่างใกล้ชิดระหว่างพันธมิตรเชิงเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมระดับนานาชาติ อย่างเช่นเอเอสจี ซูเปอร์คอนดักเตอร์ส ซึ่งนอกจากจะเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์เอ็มอาร์ไอที่ใช้เป็นฐาน ยังมีความเชี่ยวชาญอย่างยาวนานในการพัฒนา ออกแบบ และผลิตแม่เหล็กเอ็มอาร์ไอตัวนำยวดยิ่ง ตั้งแต่ระดับ 0.5T ไปจนถึงสนามแม่เหล็กสูงพิเศษ 11.7T ขณะที่บริษัทแม็กเน็ตทีเอ็กซ์ ออนโคโลจี โซลูชันส์ (MagnetTx Oncology Solutions) จากเมืองเอ็ดมันตันในแคนาดา เป็นผู้ออกแบบในส่วนของเทคโนโลยีการหมุน
ในการนี้ มาร์โค แนสซี (Marco Nassi) ซีอีโอของเอเอสจี ซูเปอร์คอนดักเตอร์ส ประกาศว่า "เป็นเรื่องท้าทายอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนในการพัฒนาโครงการนวัตกรรมเชิงเทคนิคและเชิงวิทยาศาสตร์นี้ในด้านการฉายรังสีบำบัดด้วยอนุภาคโปรตอน ด้วยการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับโรงพยาบาล พันธมิตร และมหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติ ยิ่งไปกว่านั้น เรายังภูมิใจมากที่เทคโนโลยีและทักษะความชำนาญของเราในด้านวัสดุ แม่เหล็ก และระบบเอ็มอาร์ไอตัวนำยวดยิ่งแมกนีเซียมไดโบไรด์ สามารถมอบประโยชน์อย่างมหาศาลในการทำให้วิธีการรักษาเนื้องอกมะเร็งมีประสิทธิผลมากขึ้นในอนาคตอันใกล้"
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอเอสจี ซูเปอร์คอนดักเตอร์สได้ที่ www.asgsuperconductors.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคโนโลยีเอ็มอาร์ไอแมกนีเซียมไดโบไรด์แบบเปิดได้ที่ www.mropenevo.com
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการวิทยาศาสตร์ดังกล่าวนี้ได้ที่ https://www.oncoray.de/
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2315501/ASG_Superconductors.jpg?p=medium600
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/1949000/ASG_Logo.jpg?p=medium600