ปารีส, 9 ตุลาคม 2567 /PRNewswire/ — ในรายงานประจำปีฉบับที่ 29 นี้ Artprice by Artmarket ได้นำเสนอและวิเคราะห์ตลาดศิลปะร่วมสมัย และศิลปะร่วมสมัยพิเศษ (ดูระเบียบวิธีได้ที่ส่วนท้ายของข่าวประชาสัมพันธ์) โดยจะมีการเปิดตัวงาน Frieze London ในวันพุธที่ 9 ตุลาคมนี้ ตามด้วยงาน Art Basel Paris ในวันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2567
ฤดูใบไม้ร่วงเป็นช่วงที่คึกคักสำหรับตลาดศิลปะร่วมสมัย และนั่นเป็นสาเหตุที่ Artprice เลือกเผยแพร่รายงานประจำปีฉบับสำคัญเกี่ยวกับตลาดศิลปะร่วมสมัยในเดือนตุลาคม และหนึ่งในคุณลักษณะสำคัญของรายงานก็คือ ผลการประมูลงานศิลปะทั่วโลก และข้อมูล AI ที่รวบรวมและประมวลผลโดย Intuitive Artmarket® ซึ่งเป็น AI ที่เป็นกรรมสิทธิ์ของเรา ทั้งยังระบุแนวโน้มหลัก นำเสนอศิลปินที่มียอดขายสูงสุดด้วยการจัดอันดับ 10 อันดับแรก 100 อันดับแรกและ 500 อันดับแรกที่มีชื่อเสียงของเรา ศิลปินร่วมสมัยที่ได้รับความนิยมที่ได้รับคัดสรร การแยกย่อยข้อมูลสถิติการประมูลงานศิลปะที่สำคัญในแต่ละประเทศ ตามสื่อศิลปะต่างๆ และตามกระแสศิลปะต่างๆ และการให้ความสำคัญไปที่ศิลปินสาขาศิลปะร่วมสมัยพิเศษ (อายุต่ำกว่า 40 ปี) โดยเน้นไปที่ตลาดงานศิลปะของศิลปินหญิง ศิลปะดิจิทัล และ NFT ที่กำลังเติบโต
อ่านรายงานของ Artprice เกี่ยวกับตลาดศิลปะงานร่วมสมัย ประจำปี 2567 ในภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษฟรีได้ที่นี่:
- https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2024
- https://fr.artprice.com/artprice-reports/le-marche-de-lart-contemporain-2024
Artprice’s 2024 Contemporary Art Market Report cover, featuring the digital work “Auntieverse Spa Menu 201” by Niceaunties
Thierry Ehrmann ผู้ก่อตั้งและประธานของ Artmarket.com กล่าวว่า: ตลาดศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากตลาดในปี 2543 เป็นอย่างมาก โดยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอย่างลึกซึ้ง และมียอดขายเพิ่มขึ้น +1,800% อันเนื่องมาจากผลงานของศิลปินร่วมสมัยที่ขายในงานประมูลได้มากขึ้น (ศิลปิน 33,072 คนในช่วงปี 2566/24 เทียบกับศิลปิน 5,400 คนในปี 2543) และผลงานอื่นๆ อีกมากมายที่ขายได้ (132,380 ชิ้นในปัจจุบันเทียบกับ 12,000 ชิ้นในปี 2543) ในขณะเดียวกัน ตลาดได้มีการขยับขยายออกไปในเชิงภูมิศาสตร์ โดยปัจจุบันมีตลาดการประมูลงานศิลปะตั้งอยู่ใน 61 ประเทศ เมื่อเทียบกับ 39 ประเทศในปี 2543 ซึ่งก็เห็นได้ชัดเจนว่า อินเทอร์เน็ตได้เร่งให้เกิดการไหลเวียนของธุรกรรม "ระยะไกล" อย่างรวดเร็ว และตลาดศิลปะร่วมสมัยในปัจจุบันก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นภาคส่วนตลาดงานศิลปะที่ทำกำไรและเปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวามากที่สุดในศตวรรษที่ 21
ความเป็นไปได้อันไม่มีที่สิ้นสุดในราคาที่ต่ำกว่า 5,000 ดอลลาร์
ปริมาณธุรกรรมการประมูลที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะร่วมสมัยได้สร้างสถิติใหม่ในช่วงปีที่ผ่านมา โดยมีการเปลี่ยนมืองานศิลปะมากกว่า 132,000 ชิ้น การเติบโตนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยปัจจัยหลายประการ รวมถึง ความต้องการที่เพิ่มขึ้นในทั่วโลก และการขายทางออนไลน์แบบดิจิทัล โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ภาคส่วนของงานศิลปะที่มี "ราคาย่อมเยา" ซึ่งมีมูลค่าต่ำกว่า 5,000 ดอลลาร์ ทั้งยังเป็นส่วนที่อุปทานและธุรกรรมเติบโตเร็วที่สุด โดยเติบโตขึ้นถึง 6% ในเวลาเพียงหนึ่งปี
ช่วงราคานี้คิดเป็นธุรกรรม 108,000 รายการ (แต่ละรายการได้รับการซื้อขายในมูลค่าที่ต่ำกว่า 5,000 ดอลลาร์) คิดเป็น 82% ของยอดขายงานศิลปะร่วมสมัยทั้งหมดในตลอดทั้งปี ภาคส่วนที่มีราคาย่อมเยานี้มักดึงดูดผู้ซื้อครั้งแรกและนักสะสมที่มีวิสัยทัศน์ และได้เติบโตอย่างน่าทึ่งขึ้นเป็นสามเท่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา
ความสำเร็จของภาคส่วนตลาดนี้ได้รับการสนับสนุนจากบุคคลสำคัญในงานศิลปะร่วมสมัยอย่าง Takashi Murakami, Damien Hirst และ Jeff Koons ตลอดจนศิลปินแนวสตรีทชื่อดังระดับโลกอย่าง Keith Haring, Banksy, Mr. Brainwash, KAWS, Shepard Fairey และ Invader ซึ่งผลงานศิลปะรุ่นจำกัดจำนวนหรือที่ผลิตในปริมาณมากของพวกเขาได้ช่วยผลักดันภาคส่วนที่กำลังเติบโตนี้
I. ศิลปะร่วมสมัย (ศิลปินเกิดหลังจากปี 2488) ตัวเลขสำคัญ ณ 2566/67
– มูลค่ารวม 1.89 พันล้านดอลลาร์ในช่วง 12 เดือน (1 กรกฎาคม 2566 – 30 มิถุนายน 2567)
– ศิลปะร่วมสมัยคิดเป็น 17% ของมูลค่าการประมูลทั่วโลกจากงานวิจิตรศิลป์และ NFT (1.13 หมื่นล้านดอลลาร์)
– ทำผลงานได้ดีที่สุดเป็นปีที่ 8 ในประวัติศาสตร์ตลาดศิลปะร่วมสมัย
– ลดลง 18% เทียบกับปีก่อนหน้า (2.3 พันล้านดอลลาร์) อันเนื่องมาจากจำนวนธุรกรรมที่มีมูลค่าสูงกว่าเกณฑ์ล้านดอลลาร์ที่หดตัวเพิ่มเติม
– มูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้นถึง 18 เท่า เทียบกับในปี 2543/44 (ทำรายได้ 103 ล้านดอลลาร์)
พัฒนาการของจำนวนงานศิลปะร่วมสมัยที่ขายในงานประมูลตามช่วงราคา https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2024/10/image2-artprice-contemporary-works-sold-at-auction-by-price-range.png
ธุรกรรมที่หนาแน่นขึ้น
– ทำลายสถิติใหม่ด้วยยอดขาย 132,380 ล็อตในระยะเวลา 12 เดือน (+4%)
– จำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้น 10.5 เท่า นับตั้งแต่ปี 2543/44 (ยอดขาย 12,500 ล็อต)
– ธุรกรรมที่มีมูลค่าสูงกว่าเกณฑ์ล้านดอลลาร์ลดลง 23%
– อัตราการขายไม่ออกเพิ่มขึ้นเป็น 35.6%
– ราคางานศิลปะร่วมสมัยที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีที่ผ่านมาคือ 46.5 ล้านดอลลาร์ (Basquiat)
– ราคาเฉลี่ยของล็อตที่ขายคือ 14,300 ดอลลาร์
โครงสร้างของตลาดศิลปะร่วมสมัย
งานศิลปะร่วมสมัย 14 ชิ้นได้รับการประมูลไปในราคากว่า 10 ล้านเหรียญ
224 ชิ้นได้รับการประมูลไปในราคากว่า 1 ล้านเหรียญ
57% (75,395 ล็อต) ของงานศิลปะร่วมสมัยถูกขายไปในราคาที่ต่ำกว่า 1,000 ดอลลาร์
งานจิตรกรรมคิดเป็น 73% ของมูลค่าการประมูลงานศิลปะร่วมสมัยทั่วโลก โดยมีประติมากรรมคิดเป็น 10% และภาพวาดคิดเป็น 9%
มูลค่าการประมูลภาพพิมพ์ (4%) สูงกว่าภาพถ่าย (3%)
ศิลปินร่วมสมัย
ศิลปินร่วมสมัย 33,072 คนขายผลงานในงานประมูลได้อย่างน้อยหนึ่งชิ้นในปี 2566/67
ศิลปิน 10 คนมียอดขายคิดเป็น 29% ของยอดขายงานศิลปะร่วมสมัย
ซอฟต์พาวเวอร์ของตลาดศิลปะร่วมสมัย
อันดับ 1 – สหรัฐอเมริกา โดยมีมูลค่าการประมูลงานศิลปะร่วมสมัยถึง 779 ล้านดอลลาร์
อันดับ 2 – จีน 511 ล้านดอลลาร์
อันดับ 3 – สหราชอาณาจักร 279 ล้านดอลลาร์
อันดับ 4 – ฝรั่งเศส 63 ล้านดอลลาร์
อันดับ 5 – เยอรมนี 34 ล้านดอลลาร์
Sotheby’s เป็นผู้จัดจำหน่ายงานศิลปะร่วมสมัยชั้นนำระดับโลก โดยสร้างรายได้ถึง 524 ล้านเหรียญสหรัฐ (28% ของมูลค่าการซื้อขายงานศิลปะร่วมสมัยทั้งหมด)
โดย Christie’s ทำรายได้ไป 486 ล้านเหรียญ (26%) และ Phillips ทำรายได้ไป 253 ล้านเหรียญ (13%)
China Guardian เป็นผู้ดำเนินการประมูลระดับชั้นนำของจีน โดยทำรายได้ไป 57 ล้านดอลลาร์ (3%)
Van Ham เป็นผู้ดำเนินการประมูลระดับชั้นนำในยุโรป โดยทำรายได้ไป 9 ล้านดอลลาร์ (0.5%)
ศิลปินร่วมสมัย 10 อันดับแรกตามมูลค่าการประมูล
(1 กรกฎาคม 2566 – 30 มิถุนายน 2567)
ศิลปิน | สัญชาติ | รายได้จากการขาย | ล็อตที่ขายได้ | ยอดขายสูงสุด | |
1 | Jean-Michel BASQUIAT (2503 – 2531) | สหรัฐอเมริกา | $240,029,370 | 112 | $46,479,000 |
2 | Yoshitomo NARA (เกิด 2502) | ญี่ปุ่น | $70,611,210 | 402 | $12,257,420 |
3 | George CONDO (เกิด 2500) | สหรัฐอเมริกา | $47,432,510 | 127 | $3,652,800 |
4 | Keith HARING (2501 – 2533) | สหรัฐอเมริกา | $36,179,150 | 731 | $4,470,000 |
5 | Julie MEHRETU (เกิด 2513) | เอธิโอเปีย | $35,987,550 | 26 | $10,737,500 |
6 | LIU Ye (เกิด 2507) | จีน | $31,124,020 | 21 | $7,972,260 |
7 | Damien HIRST (เกิด 2508) | สหราชอาณาจักร | $26,603,330 | 857 | $1,810,930 |
8 | Richard PRINCE (เกิด 2492) | สหรัฐอเมริกา | $23,007,320 | 124 | $2,712,000 |
9 | SALVO (2490 – 2558) | อิตาลี | $21,140,840 | 248 | $1,115,020 |
10 | BANKSY (เกิด 2517) | สหราชอาณาจักร | $20,097,870 | 711 | $4,699,550 |
©Artprice.com |
II. ศิลปะร่วมสมัยพิเศษ (ศิลปินที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี):
ศิลปะร่วมสมัยพิเศษมีมูลค่ายอดขายในการประมูลทั่วโลกถึง 148 ล้านดอลลาร์ในปี 2566/67
ทำผลงานได้ดีที่สุดเป็นปีที่ 7 ในประวัติศาสตร์ตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษ
รายได้จากการขายเพิ่มขึ้น 6.8 เท่า ในตลอดช่วงระยะเวลา 24 ปี (จาก 21.9 ล้านดอลลาร์ในปี 2543/44)
ศิลปะร่วมสมัยพิเศษคิดเป็น 8% ของตลาดศิลปะร่วมสมัย (1.89 พันล้านดอลลาร์)
ศิลปะร่วมสมัยพิเศษคิดเป็น 1.3% ของตลาดงานวิจิตรศิลป์และ NFT (1.13 หมื่นล้านดอลลาร์)
ศิลปะร่วมสมัยพิเศษมียอดขาย 8,830 ชิ้นในปี 2566/67
มีอัตราการขายไม่ออกที่ 36% เช่นเดียวกับงานศิลปะร่วมสมัย
โครงสร้างของตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษ
ราคาเฉลี่ยของงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษอยู่ที่ 16,800 ดอลลาร์
งานจิตรกรรมคิดเป็น 85% ของมูลค่าการซื้อขายงานศิลปะร่วมสมัยพิเศษ
ภาพวาดเป็นสื่อที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ในภาคส่วนนี้: 8.9 ล้านดอลลาร์ (6%)
NFT คิดเป็น (4%) และงานประติมากรรมได้สร้างรายได้ (3%)
ฮ่องกงสร้างรายได้ 20% ของมูลค่าการซื้อขายของภาคส่วน UC และจีนแผ่นดินใหญ่สร้างรายได้ 9%
สหราชอาณาจักรสร้างรายได้ในตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษได้ถึง 19% (28 ล้านดอลลาร์)
ความหลากหลายของตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษ
ศิลปิน 3,122 คนที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี ได้ทำการประมูลอย่างน้อยหนึ่งครั้งในปี 2566/67
ผู้หญิง 7 คน ติด 10 อันดับแรกของศิลปินสาขาศิลปะร่วมสมัยพิเศษยอดนิยมโดยอิงจากมูลค่าการประมูล
Jadé Fadojutimi (2536) มีความโดดเด่นที่สุดในรุ่นของเธอด้วยยอดขาย 22 ล็อต ซึ่งคิดเป็นมูลค่า 14 ล้านดอลลาร์
Matthew Wong (2527 – 2562) ได้รับราคาเสนอสูงสุด: 4.2 ล้านดอลลาร์สำหรับ Night 1 (2561) ที่ Christie’s ณ นครนิวยอร์ก ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566
NFT โดยศิลปินสาขาศิลปะร่วมสมัยพิเศษ
NFT ศิลปะร่วมสมัยพิเศษได้สร้างรายได้ถึง 5.6 ล้านดอลลาร์
NFT คิดเป็น 4% ของตลาดศิลปะร่วมสมัยพิเศษ
NFT ที่มีราคาขายสูงสุดในปี 2566/67 คือ OMB Red Eye/Blue Eye/Green Eye/Orange Eye (2567) ของ Tony Tafuro (2532) ซึ่งขายได้ในราคา 441,000 ดอลลาร์ที่ Christie’s ณ นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2566
ศิลปินที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี 10 อันดับแรก ตามมูลค่าการประมูล
(1 กรกฎาคม 2566 – 30 มิถุนายน 2567)
ศิลปิน | รายได้จากการขาย | ล็อตที่ขายได้ | ขายไม่ได้ | ยอดขายสูงสุด | |
1 | Jadé FADOJUTIMI (เกิด 2536) | $14,031,602 | 22 | 7 | $1,985,170 |
2 | Lucy BULL (เกิด 2533) | $9,437,970 | 14 | 5 | $1,814,500 |
3 | Matthew WONG (2527 – 2562) | $8,326,350 | 10 | 1 | $4,164,000 |
4 | Avery SINGER (เกิด 2530) | $6,184,060 | 7 | 1 | $3,206,000 |
5 | Loie HOLLOWELL (เกิด 2526) | $4,277,220 | 17 | 13 | $1,134,000 |
6 | CHEN Fei (เกิด 2526) | $4,224,885 | 14 | 0 | $1,211,780 |
7 | Issy WOOD (เกิด 2536) | $3,242,220 | 16 | 3 | $511,490 |
8 | Christina QUARLES (เกิด 2528) | $3,234,520 | 11 | 2 | $762,000 |
9 | Ewa JUSZKIEWICZ (เกิด 2527) | $3,217,720 | 24 | 5 | $882,090 |
10 | Mohammed SAMI (เกิด 2527) | $2,996,810 | 10 | 0 | $952,500 |
©Artprice.com |
กลับไปสู่ระดับก่อนโควิด ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ 2 พันล้านดอลลาร์
ตลาดศิลปะร่วมสมัยที่มียอดขายรวม 1.888 พันล้านดอลลาร์ได้กลับไปสู่ระดับช่วงก่อนการระบาดใหญ่ แต่ก็ยังมีมูลค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยในช่วง 5 ปีก่อนวิกฤตโควิดถึง 200 ล้านดอลลาร์
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา มูลค่าทางเศรษฐกิจของศิลปะร่วมสมัยพุ่งสูงขึ้นจาก 169 ล้านเป็น 1.888 พันล้านดอลลาร์ และภาคส่วนนี้ก็ได้กลายมาเป็นส่วนสำคัญของตลาดศิลปะโลก ซึ่งปัจจุบันคิดเป็น 18% ของมูลค่าโดยรวม เทียบกับเพียง 3% ในช่วงต้นศตวรรษที่ 21
การเติบโตที่น่าทึ่งนี้ไม่เพียงได้รับแรงขับเคลื่อนจากราคาผลงานของศิลปินชื่อดังอย่าง Jean-Michel Basquiat, Yoshitomo Nara หรือ Jenny Saville ที่พุ่งสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังได้รับแรงผลักดันจากตลาดที่มีความหนาแน่นที่ดีอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันผลงานศิลปะร่วมสมัยคิดเป็น 18% ของตลาดงานวิจิตรศิลป์ในทั่วโลก
ปริมาณธุรกรรมที่สร้างสถิติใหม่
จำนวนยอดขายของผลงานศิลปะร่วมสมัยในงานประมูลได้เพิ่มขึ้นมากกว่าสองเท่าในรอบสิบปี ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านวิธีการขายงานศิลปะไปสู่ระบบดิจิทัลครั้งใหญ่ นับตั้งแต่ช่วงวิกฤตโควิดเป็นต้นมา การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ขยับขยายตลาดขึ้นอย่างมาก โดยมีจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้นอย่างน่าทึ่งถึง +72% เมื่อเทียบกับช่วงก่อนโควิด โดยการเติบโตดังกล่าวได้สร้างสถิติใหม่ด้วยธุรกรรมมากกว่า 132,000 รายการในเวลาเพียงสิบสองเดือน ทั้งยังมีผู้คนเจเนอเรชัน X (อายุ 44-59 ปี) และ Y (อายุ 24-43 ปี) ที่ประมูลทางออนไลน์ผ่านสมาร์ทโฟนมากขึ้น ซึ่งถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของพลวัตในครั้งนี้
ศิลปะ สินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงวิกฤตครั้งใหญ่
โดยสรุปแล้ว ตลาดงานศิลปะอยู่ในสถานะที่แข็งแกร่ง โดยสร้างสถิติการซื้อขายอยู่บ่อยครั้งสำหรับผลงานจากทุกยุคศิลปะและในหลากหลายประเทศในการขายครั้งล่าสุด ซึ่งค่อนข้างขัดกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ได้รับผลกระทบจากบริบททางภูมิรัฐศาสตร์และการเงิน อีกทั้งเราไม่ได้พบเห็นการยกเลิกการขายตามแคตตาล็อกคลาสสิกและ/หรือเพรสทีจสำหรับปี 2567 หรือ 2568 โดยยอดขายเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในตลาดงานศิลปะทั้งหมด
สถาบันจัดประมูลและนักลงทุนรายใหญ่ต่างรู้ดีว่าศิลปะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย และความไม่แน่นอนในตลาดหุ้นในปัจจุบันยังส่งผลให้มีการนำเงินทุนและการลงทุนใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดศิลปะอีกด้วย
Artprice ได้วิเคราะห์ผลกระทบจากวิกฤตการณ์หลักของศตวรรษที่ 21 ต่อตลาดศิลปะอย่างเป็นระบบมาตลอด 25 ปี – ดัชนี Nasdaq เกิดฟองสบู่แตกในปี 2543, การโจมตี 9/11 ในปี 2544, สงครามอัฟกันในปี 2544, สงครามอิรักในปี 2546, วิกฤตซับไพรม์และ CDS ในปี 2550, อัตราดอกเบี้ยติดลบที่เริ่มขึ้นในปี 2554 และวิกฤตโควิด-19 ที่เริ่มขึ้นในปี 2562 สงครามรัสเซีย/ยูเครน อัตราดอกเบี้ยและราคาพลังงานที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว การโจมตีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคมในอิสราเอลในปี 2566 ความขัดแย้งในตะวันออกใกล้และตะวันออกกลาง ซึ่งเห็นได้ชัดว่า ตลาดศิลปะได้รับผลกระทบน้อยกว่าระบบเศรษฐกิจและตลาดการเงินอย่างมาก
ช่วงเวลาปัจจุบันที่เต็มไปด้วยความไม่สงบทางภูมิรัฐศาสตร์ที่สำคัญ และความหวาดกลัวต่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกก็ไม่อาจบั่นทอนตลาดงานศิลปะได้
ระเบียบวิธี
รายงานนี้ได้วิเคราะห์การประมูลงานวิจิตรศิลป์สาธารณะทั้งหมด (เช่น จิตรกรรม ภาพวาด ประติมากรรม ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ วีดิทัศน์ ศิลปะจัดวาง พรม และ NFT แต่ไม่รวมของเก่า สินค้าทางวัฒนธรรมและเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่ระบุชื่อ) โดยรายงานจะครอบคลุมผลการประมูลทั่วโลกที่ Artprice by Artmarket.com บันทึกไว้สำหรับผลงานของศิลปินที่เกิดหลังปี 2488 (ศิลปะร่วมสมัย) และเน้นไปที่ศิลปินที่มีอายุต่ำกว่า 40 ปี (ศิลปะร่วมสมัยพิเศษ) ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม 2566 ถึง 30 มิถุนายน 2567
ราคาทั้งหมดที่ระบุไว้ในรายงาน Artprice by Artmarket อ้างอิงตามผลการประมูลสาธารณะ และได้รวมค่าธรรมเนียมของผู้ซื้อแล้ว สัญลักษณ์ $ ทั้งหมดหมายถึงดอลลาร์สหรัฐ
สงวนลิขสิทธิ์ 2530-2566 Thierry Ehrmann www.artprice.com – www.artmarket.com
ฝ่ายเศรษฐมิติของ Artprice สามารถตอบทุกคำถามของคุณเกี่ยวกับสถิติและการวิเคราะห์ส่วนบุคคลได้: econometrics@artprice.com
เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับบริการของเรากับศิลปินในการสาธิตฟรี: https://artprice.com/demo
บริการของเรา: https://artprice.com/subscription
เกี่ยวกับ Artmarket.com:
Artmarket.com มีชื่ออยู่ใน Eurolist โดย Euronext Paris การวิเคราะห์ของ TPI ล่าสุดประกอบไปด้วยผู้ถือหุ้นรายย่อยมากกว่า 18,000 ราย โดยไม่รวมผู้ถือหุ้นต่างชาติ บริษัท ธนาคาร FCPs UCITS: Euroclear: 7478 – Bloomberg: PRC – Reuters: ARTF
รับชมวิดีโอเกี่ยวกับ Artmarket.com และฝ่าย Artprice: https://artprice.com/video
Artmarket และฝ่าย Artprice ก่อตั้งขึ้นในปี 2540 โดยซีอีโอ Thierry Ehrmann ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ Groupe Serveur (ก่อตั้งขึ้นในปี 2530) อ้างอิงชีวประวัติที่ได้รับการรับรองจาก Who’s Who In France©:
Artmarket เป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ โดยหนึ่งในโครงสร้างขององค์กรคือฝ่ายอาร์ตไพรซ์ ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในการสะสม การจัดการ และการแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลตลาดงานศิลปะทั้งในประวัติศาสตร์และปัจจุบัน (เอกสารต้นฉบับ เอกสารโคเด็กซ์ต้นฉบับ หนังสือที่มีคำอธิบายประกอบ และแคตตาล็อกการประมูลที่ได้มาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา) ในคลังข้อมูลที่ประกอบด้วยดัชนีและผลการประมูลกว่า 30 ล้านรายการ ครอบคลุมศิลปินกว่า 853,000 ราย
Artprice Images® ช่วยให้เข้าถึงคลังภาพตลาดงานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีภาพดิจิทัลไม่น้อยกว่า 181 ล้านรายการจากภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์จากผลงานศิลปะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 จนถึงปัจจุบัน พร้อมความเห็นจากนักประวัติศาสตร์งานศิลปะของเรา
Artmarket และฝ่าย Artprice ได้ปรับปรุงฐานข้อมูลของบริษัทประมูล 7,200 แห่ง และเผยแพร่แนวโน้มตลาดศิลปะอย่างต่อเนื่องให้กับเอเจนซี่และสื่อหลักทั่วโลกใน 119 ประเทศ และ 9 ภาษา
Artmarket.com ให้บริการโฆษณาที่โพสต์โดยสมาชิกแก่สมาชิก 9.3 ล้านคน (สมาชิกที่เข้าสู่ระบบ) ซึ่งขณะนี้ถือเป็น Standardized Marketplace® แห่งแรกของโลกสำหรับการซื้อขายงานศิลปะในราคาคงที่หรือราคาประมูล (กำกับดูแลการประมูลตามวรรคที่ 2 และ 3 ของมาตรา L321.3 ของประมวลกฎหมายแพ่งแห่งฝรั่งเศส)
อนาคตสำหรับตลาดศิลปะมาถึงแล้วด้วย Intuitive Artmarket® AI ของ Artprice
Artmarket และฝ่าย Artprice ได้รับรางวัล "บริษัทแห่งนวัตกรรม" โดย French Public Investment Bank (BPI) ถึงสองครั้ง ซึ่งเป็นรางวัลที่สนับสนุนบริษัทที่ดำเนินโครงการเพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ
Artprice by Artmarket ได้เผยแพร่รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยปี 2567:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2024
ดูรายงานประจำตลาดศิลปะโลก ปี 2566 ของเรา ซึ่งตีพิมพ์ในเดือนมีนาคม 2567 โดย Artprice by Artmarket: https://www.artprice.com/artprice-reports/the-art-market-in-2023
สรุปข่าวประชาสัมพันธ์ของ Artmarket กับฝ่าย Artprice: https://serveur.serveur.com/artmarket/press-release/en/
ติดตามข่าวสารตลาดงานศิลปะทั้งหมดแบบเรียลไทม์กับ Artmarket และฝ่าย Artprice ทาง Facebook และ Twitter:
www.facebook.com/artpricedotcom/ (ผู้ติดตามมากกว่า 6.5 ล้านคน)
สำรวจการเล่นแร่แปรธาตุและจักรวาลของ Artmarket และแผนก Artprice: https://www.artprice.com/video
ซึ่งมีสำนักงานใหญ่คือพิพิธภัณฑ์ Museum of Contemporary Art Abode of Chaos dixit The New York Times / La Demeure of Chaos:
https://issuu.com/demeureduchaos/docs/demeureduchaos-abodeofchaos-opus-ix-1999-2013
La Demeure du Chaos/Abode of Chaos – Total Work of Art และ Singular Architecture
เปิดตัวผลงานลับสองภาษาสู่สาธารณะ: https://ftp1.serveur.com/abodeofchaos_singular_architecture.pdf
- L’Obs – The Museum of the Future: https://youtu.be/29LXBPJrs-o
- https://www.facebook.com/la.demeure.du.chaos.theabodeofchaos999 (ผู้ติดตามมากกว่า 4.1 ล้านคน)
- https://vimeo.com/124643720
ติดต่อ Artmarket.com และฝ่าย Artprice – ติดต่อ: ir@artmarket.com
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2525937/Artmarket_Report.jpg?p=medium600
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2525936/ArtMarket_Artwork.jpg?p=medium600
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2260897/Artmarket_logo.jpg?p=medium600