- ดัชนีความพร้อมรับมือทางการเงินโดยซัน ไลฟ์ เอเชีย (Sun Life Asia Financial Resilience Index) ชี้กลุ่มมิลเลนเนียลมีความพร้อมรับมือทางการเงินมากที่สุด โดยพิจารณาจากระดับความรู้ทางการเงิน ความเข้าใจในเครื่องมือ และความสามารถในการจัดการทางการเงิน
- ความเชื่อมั่นในทุกกลุ่มประชากรอยู่ในระดับสูง แต่ 60% ยังขาดแผนการเงินระยะเวลาเกินหนึ่งปี
- หนึ่งในสาม (34%) ไม่มีหรือไม่สามารถรักษาเงินเก็บ และผู้ตอบแบบสอบถามหนึ่งในสี่ (25%) รู้สึกไม่มั่นคงทางการเงิน
- ผู้ตอบแบบสอบถามเพียง 1 ใน 10 (10%) เท่านั้นที่มีความพร้อมรับมือทางการเงินสูง และอยู่บนเส้นทางเพื่อการบรรลุเป้าหมายในอนาคต และพร้อมรับมือกับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
ฮ่องกง, 13 มีนาคม พ.ศ. 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — ซัน ไลฟ์ เอเชีย (Sun Life Asia) เปิดตัวดัชนีความพร้อมรับมือทางการเงิน (Sun Life Asia Financial Resilience Index) เป็นครั้งแรกในวันนี้ ซึ่งสำรวจพฤติกรรมทางการเงินและความเชื่อของบุคคลทั่วทั้งภูมิภาค รวมถึงอุปสรรคที่ผู้คนเผชิญในการสร้างความมั่นคงทางการเงินระยะยาว โดยดัชนีชี้ให้เห็นว่า แม้ความเชื่อมั่นและการมองโลกในแง่ดีจะอยู่ในระดับสูง แต่ผู้คนจำนวนมากยังขาดแผนในการปฏิบัติ
จากการศึกษาพบว่า ความเชื่อมั่นของผู้คนมีมากกว่าการเตรียมพร้อมในเรื่องเป้าหมายทางการเงินระยะยาว โดยผู้ตอบแบบสำรวจ 69% มั่นใจในการบรรลุเป้าหมายทางการเงินในระยะยาว แต่มีเพียง 40% เท่านั้นที่มีแผนทางการเงินเกินหนึ่งปี ขณะที่การเกษียณอายุและการออมถือเป็นสิ่งสำคัญทางการเงินสูงสุดเป็นอันดับสอง รองจากการจัดการค่าใช้จ่ายประจำวัน และมีเพียง 16% เท่านั้นที่มีแผนเกษียณอายุหรือเงินบำนาญเพื่อสนับสนุนเป้าหมายของพวกเขา
คนรุ่นมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมรับมือทางการเงินมากที่สุด
จากการสำรวจพบว่า คนรุ่นมิลเลนเนียลเป็นกลุ่มที่มีความพร้อมรับมือทางการเงินมากที่สุดในเอเชีย โดยเมื่อเทียบกับผู้คนรุ่นอื่น ๆ แล้ว คนรุ่นมิลเลนเนียลมองอนาคตทางการเงินของตนในเชิงบวกเป็นส่วนใหญ่ (75%) พร้อมกับมีความเชื่อมั่นมากที่สุดในการบรรลุเป้าหมายระยะยาว (70%) เมื่อเทียบกับคนรุ่นเก่า (63%) คนรุ่นมิลเลนเนียลยังมองว่าตนมีความรู้ทางการเงินมากกว่า (80%) เมื่อเทียบกับคนที่อายุมากกว่า (70%) และมีแนวโน้มมากที่สุดที่จะตัดสินใจโดยอิงจากการผลศึกษา (56% เทียบกับ 51%) อย่างไรก็ตาม 42% ของผู้ตอบแบบสำรวจที่อยู่ในกลุ่มมิลเลนเนียลเท่านั้นที่มีแผนการทางการเงินล่วงหน้าเกินกว่าหนึ่งปีข้างหน้า ซึ่งหมายความว่าพวกเขาเสี่ยงที่จะตกหลุมพรางจากการไม่วางแผนเช่นเดียวกับผู้คนรุ่นอื่น ๆ
คุณเดวิด บรูม (David Broom) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าและจัดจำหน่ายของซัน ไลฟ์ เอเชีย กล่าวว่า "ดัชนีความพร้อมรับมือทางการเงินโดยซัน ไลฟ์ เอเชีย มอบข้อมูลเกี่ยวกับวิธีที่ครัวเรือนทั่วเอเชียใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายทางการเงินและปกป้องอนาคตของตน และเป็นเรื่องที่ดีที่ผู้คนจำนวนมากมองการเงินของพวกเขาในปี 2567 ในแง่บวกมากขึ้น และการมองโลกในแง่ดีนี้จำเป็นต้องมีแผนเพื่อให้สามารถบรรลุความเป็นจริงได้ เนื่องจากแผนการเงินจะช่วยให้มองเห็นขั้นตอนที่ง่ายและชัดเจนในการบรรลุเป้าหมายด้านความมั่งคั่งและสุขภาพของผู้คน"
ความแตกต่างระหว่างเมืองและชนบท
รายงานยังชี้ให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างชุมชนเมืองและชนบทที่ชัดเจน โดยผู้คนที่อาศัยอยู่ในเมือง (58%) มีความรู้สึกมั่นคงทางการเงินมากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบท (51%)
อารมณ์และความไว้วางใจมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจทางการเงิน
เกือบครึ่งหนึ่งของผู้ตอบแบบสอบถาม (46%) ระบุว่าอารมณ์และความไว้วางใจมีบทบาทสำคัญในการตัดสินใจทางการเงิน โดยสถาบันการเงินเป็นแหล่งข้อมูลทางการเงินที่น่าเชื่อถือที่สุด รองลงมาคือครอบครัวและเพื่อนฝูง และตามด้วยที่ปรึกษาทางการเงินอิสระ ขณะที่โซเชียลมีเดียได้รับการจัดอันดับให้เป็นแหล่งข้อมูลทางการเงินที่น่าเชื่อถือน้อยที่สุด ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามเกือบครึ่ง (47%) ต้องการความรู้เพิ่มเติมด้านการเงินส่วนบุคคล แต่อาจลังเลที่จะขอความช่วยเหลือ เนื่องจากในปัจจุบันมีเพียง (23%) เท่านั้นที่เข้ารับความช่วยเหลือหรือคำแนะนำจากมืออาชีพในการจัดการด้านการเงินของตน
ความมั่งคั่งไม่ได้หมายถึงความสามารถในการรับมือทางการเงินเสมอไป
จากการสำรวจพบว่า แม้ในกลุ่มผู้ตอบแบบสอบถามที่ร่ำรวยที่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามจำนวนมากยังขาดการเตรียมพร้อมและประเมินระดับการใช้จ่ายหรือประโยชน์ของแผนการเงินระยะยาวต่ำเกินไป ขณะที่ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้น้อยกว่าและมีรายได้สูงมีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายเกินงบประมาณรายเดือนเท่า ๆ กัน (21% สำหรับทั้งสองกลุ่ม) การศึกษายังพบว่ามีเพียง 45% ของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้สูงที่กำลังวางแผนการเงินเกินระยะเวลาหนึ่งปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 40% ของทุกช่วงรายได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
"ความสามารถในการรับมือทางการเงินเป็นเป้าหมายสำหรับผู้คนทุกวัยและทุกระดับรายได้ เริ่มต้นได้จากการกระทำเล็ก ๆ เช่นการกำหนดงบและการวางแผน เพื่อให้สามารถเก็บเงินและลงทุนตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ ซัน ไลฟ์ มีเครื่องมือดิจิทัลฟรีมากมายเพื่อช่วยเหลือผู้คนในการวางแผน จัดลำดับความสำคัญ และติดตามเป้าหมายทางการเงิน แผนทางการเงินร่วมกับคำแนะนำทางการเงินแบบองค์รวมจะสามารถระบุวิธีแก้ปัญหาที่ดีที่สุดสำหรับความต้องการของผู้คน นำไปสู่การเติบโตและปกป้องความมั่งคั่งและความมั่นคงทางการเงิน" คุณบรูม กล่าว
ดัชนีความพร้อมรับมือทางการเงินโดยซัน ไลฟ์ เอเชีย เป็นการศึกษาที่ดำเนินการในเดือนตุลาคม 2566 เพื่อเปรียบเทียบความพร้อมรับมือทางการเงินกับเสาหลัก 5 ประการ ได้แก่ ความเชื่อมั่น พฤติกรรม การวางแผน เครื่องมือ และทรัพยากร โดยอิงจากการสำรวจผู้คน 8,000 คนแบบอำพรางสองฝ่ายในตลาด 8 แห่ง (จีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม)
อ่านรายงานฉบับเต็มที่นี่
เกี่ยวกับ ซัน ไลฟ์
ซัน ไลฟ์ (Sun Life) เป็นองค์กรบริการทางการเงินระหว่างประเทศชั้นนำที่ให้บริการโซลูชันด้านการจัดการสินทรัพย์ ความมั่งคั่ง การประกันภัย และสุขภาพแก่ลูกค้ารายบุคคลและลูกค้าสถาบัน ซัน ไลฟ์ดำเนินธุรกิจในตลาดหลายแห่งทั่วโลก ประกอบด้วยแคนาดา สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย จีน ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย และเบอร์มิวดา ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ซัน ไลฟ์มีสินทรัพย์รวมภายใต้การบริหารอยู่ที่ 1.40 ล้านล้านดอลลาร์ เรียนรู้ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.sunlife.com
ซัน ไลฟ์ ไฟแนนเชียล อิงค์ (Sun Life Financial Inc.) เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์โตรอนโต (TSX), นิวยอร์ก (NYSE) และฟิลิปปินส์ (PSE) ภายใต้สัญลักษณ์ย่อ SLF
หมายเหตุถึงบรรณาธิการ: จำนวนเงินทั้งหมดอยู่ในสกุลเงินดอลลาร์แคนาดา
สื่อมวลชนสัมพันธ์:
ไบรอัน เซิน (Bryan Shen)
ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายบัญชีลูกค้า แซนด์ไปเปอร์ (Sandpiper)
โทร: +85292015160
bryan.shen@sandpipercomms.com
เบ็กกี้ มาร์แชล (Becky Marshall)
ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสาร ซันไลฟ์ เอเชีย (Sun Life Asia)
โทร: +8526170312
Becky.marshall@sunlife.com