การเปิดเผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำใน 55 สาขาวิชา
ลอนดอน, 10 เมษายน 2567 /PRNewswire/ — คิวเอส ควัคควาเรลลี ซีมอนด์ส (QS Quacquarelli Symonds) บริษัทวิเคราะห์การศึกษาระดับอุดมศึกษาระดับโลก เปิดตัวผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกแยกตามรายวิชา (QS World University Rankings by Subject) ครั้งที่ 14 ซึ่งเป็นการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบแบบอิสระด้านความเป็นเลิศทางวิชาการ 55 สาขาวิชา ครอบคลุมมหาวิทยาลัยมากกว่า 1,500 แห่ง ใน 96 ประเทศและดินแดน การจัดอันดับโดยคิวเอสถูกเข้าถึงมากกว่า 60 ล้านครั้งในปี 2566 บนเว็บไซต์ TopUniversities.com และได้รับการอ้างอิงถึงกว่า 124,000 ครั้งโดยสื่อและสถาบันทั่วโลก
ประเทศที่มีรายวิชาติด 10 อันดับแรกมากที่สุด | |||
จำนวนมหาวิทยาลัย | จำนวรายวิชา | จำนวนรายวิชาที่ติด 10 อันดับแรก | |
สหรัฐอเมริกา | 213 | 3039 | 244 |
สหราชอาณาจักร | 103 | 1569 | 148 |
สวิตเซอร์แลนด์ | 27 | 220 | 31 |
สิงคโปร์ | 5 | 103 | 29 |
ออสเตรเลีย | 36 | 797 | 17 |
แคนาดา | 32 | 646 | 17 |
เนเธอร์แลนด์ | 21 | 328 | 13 |
จีน (แผ่นดินใหญ่) | 101 | 882 | 8 |
อิตาลี | 56 | 577 | 8 |
เยอรมนี | 60 | 774 | 5 |
ฝรั่งเศส | 73 | 516 | 5 |
ญี่ปุ่น | 44 | 436 | 5 |
จุดเด่นจากมหาวิทยาลัยทั่วโลกประกอบด้วย
- สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยในสหรัฐฯ เป็นผู้นำใน 32 รายวิชา โดยมีมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเป็นสถาบันที่มีผลงานยอดเยี่ยมที่สุดในโลก และเป็นผู้นำใน 19 รายวิชา ตามมาด้วยสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) ที่เป็นผู้นำใน 11 รายวิชา
- สหราชอาณาจักร สถาบันในสหราชอาณาจักรเป็นผู้นำใน 16 รายวิชา โดยมีมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดเป็นผู้นำใน 4 รายวิชา ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) รอยัลคอลเลจออฟอาร์ต (Royal College of Art) รอยัลคอลเลจออฟมิวสิก (Royal College of Music) ที่เป็นผู้นำใน 2 รายวิชา
- สวิตเซอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์มีจำนวนรายวิชาที่ติดอันดับสูงสุด (4) ตามสัดส่วนของมหาวิทยาลัยที่ได้รับการจัดอันดับ โดยมีสถาบันเทคโนโลยีแห่งสหพันธ์สวิสในซูริก (ETH Zurich) เป็นผู้นำใน 3 รายวิชา ส่งผลให้เป็นสถาบันที่แข็งแกร่งที่สุดของยุโรปภาคพื้นทวีป
- ออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยเมลเบิร์นและมหาวิทยาลัยซิดนีย์ของออสเตรเลีย มีรายวิชาที่ติด 100 อันดับแรกของโลก อยู่ที่ 53 และ 52 รายวิชาตามลำดับ
- ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสเป็นศูนย์กลางการวิจัยที่มีความร่วมมือระดับนานาชาติมากที่สุด โดยมีจำนวนรายวิชาที่ติดหนึ่งใน 10 อันดับแรกจำนวน 23 รายการสำหรับเครือข่ายการวิจัยระหว่างประเทศ
- ญี่ปุ่น ญี่ปุ่นพลิกกลับมาหลังจากที่อันดับล่วงลงติดต่อกันถึงห้าปี โดย 26% ของจำนวนรายวิชาที่ได้รับการจัดอันดับก่อนหน้านี้มีอันดับที่ดีขึ้น ขณะที่อีก 21% มีอันดับลดลง และอีก 42% ยังคงอยู่ในอันดับเดิม – ทั้งหมดคิดเป็นภาพรวมที่ดีขึ้นที่ 5%
- จีน จีนเป็นประเทศที่มีตัวแทนมากเป็นอันดับสาม ติดท็อป 10 ใน 8 รายวิชา โดยมหาวิทยาลัยซิงหวาคว้าอันดับสูงสุดรวม 3 อันดับ รวมถึงเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผลงานดีเด่นในวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ (อันดับที่ 5)
- อินเดีย อันดับของจำนวนรายวิชาในอินเดีย และผลงานโดยรวมของมหาวิทยาลัยดีขึ้นจากเดิม 19% และ 17% ตามลำดับ
- บราซิล บราซิลเป็นประเทศที่มีรายชื่อติดอันดับโดยรวมมากที่สุดและติดหนึ่งใน 100 อันดับแรกมากที่สุดในลาตินอเมริกา ขณะที่เม็กซิโกมีจำนวนรายวิชาที่ติด 20 อันดับแรกมากที่สุดของภูมิภาค (4)
- ซาอุดีอาระเบีย มหาวิทยาลัยปิโตรเลียมและเหมืองแร่คิงฟาฮัด (KFUPM) ของซาอุดีอาระเบียเปิดสอนหลักสูตรที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุดในภูมิภาคอาหรับ ได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมปิโตรเลียม (อันดับที่ 5) และวิศวกรรมแร่ธาตุและเหมืองแร่ (อันดับที่ 8)
- แอฟริกา มหาวิทยาลัยเคปทาวน์ ซึ่งเป็นผู้นำของแอฟริกา อยู่ในอันดับที่ 15 ของโลกในด้านการศึกษาเพื่อการพัฒนา
คุณเบ็น โซวเตอร์ (Ben Sowter) รองประธานอาวุโสของคิวเอส กล่าวว่า: ด้วยอัตราเงินเฟ้อทั่วโลกที่เพิ่มขึ้น ความไม่แน่นอนทางภูมิศาสตร์การเมือง และการเลือกตั้งทั่วไปในกว่า 50 ประเทศ การสนับสนุนด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาและการแลกเปลี่ยนนักศึกษาต่างชาติจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางสังคม การวิเคราะห์เปรียบเทียบมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาของคิวเอสนี้ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความหลากหลาย ความร่วมมือด้านการวิจัย การลงทุน และความร่วมมือทางวิชาการและอุตสาหกรรมข้ามพรมแดน"
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2142268/4139307/QS_Quacquarelli_Symonds_Logo.jpg?p=medium600