ประเด็นที่สำคัญ
- ควันจากไฟป่าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพสมองอย่างมาก โดยอ้างอิงจากการศึกษากับชาวแคลิฟอร์เนียตอนใต้มากกว่า 1.2 ล้านคนเป็นระยะเวลา 10 ปี
- การสัมผัสกับควันจากไฟป่าก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่ามลพิษทางอากาศรูปแบบอื่น
- ควันไฟป่าส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศที่เป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) เพิ่มมากขึ้น เมื่อเทียบกับแหล่งอื่น เช่น ยานยนต์และโรงงาน
- ทั้งนี้เพื่อเป็นการลดความเสี่ยง ผู้คนควรอัปเดตระบบกรองอากาศในบ้านเมื่อเป็นไปได้ อยู่ในบ้านเมื่อคุณภาพอากาศไม่ดี และสวมหน้ากาก N95 ขณะอยู่ภายนอกบ้าน เมื่อดัชนีคุณภาพอากาศมีค่าถึง 100
ฟิลาเดลเฟีย, 29 กรกฎาคม 2567 /PRNewswire/ — การสัมผัสกับควันจากไฟป่าส่งผลให้มีความเสี่ยงที่จะได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่ามลพิษทางอากาศประเภทอื่น โดยอ้างอิงจากผลการศึกษาในช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งมีผู้เข้าร่วมศึกษาจากแคลิฟอร์เนียตอนใต้กว่า 1.2 ล้านคน โดยได้มีการรายงานผลการศึกษาในวันนี้ที่การประชุมนานาชาติของสมาคมอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Association International Conference® หรือ AAIC®) 2024 ในฟิลาเดลเฟียและทางออนไลน์ ซึ่งบ่งชี้ว่าควันไฟป่ามีอันตรายต่อสุขภาพสมองมากกว่ามลพิษทางอากาศรูปแบบอื่น
ควันจากไฟป่า ยานยนต์ และโรงงานต่างๆ ปล่อยมลพิษทางอากาศประเภทหนึ่งที่เรียกว่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ซึ่งเป็นส่วนผสมขนาดเล็กของละอองของแข็งและของเหลวในอากาศที่มีขนาดเล็กกว่าความกว้างของเส้นผมของมนุษย์ทั่วไปถึง 30 เท่า นักวิจัยค้นพบว่าความเสี่ยงในการป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมจากการสัมผัสกับ PM2.5 ในควันไฟป่ามีความเสี่ยงสูงกว่า เมื่อเทียบกับความเสี่ยงจากแหล่งมลพิษทางอากาศ PM2.5 อื่นๆ แม้ในปริมาณที่น้อยกว่าก็ตาม การสัมผัสกับ PM2.5 ที่ไม่ได้มาจากควันไฟป่าก็เพิ่มความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมเช่นกัน แต่ไม่มากเท่ากับควันจากไฟป่า
ทั้งนี้การสัมผัสกับ PM2.5 ในระดับสูงยังก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ หอบหืด และน้ำหนักแรกเกิดต่ำอีกด้วย
"เหตุไฟป่าที่เพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก รวมทั้งในแคลิฟอร์เนียและทางตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ทำให้การสัมผัสกับมลพิษทางอากาศประเภทนี้เป็นภัยคุกคามต่อสุขภาพสมองมากยิ่งขึ้น" ดร. Claire Sexton ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายโครงการทางวิทยาศาสตร์และการเผยแพร่ข้อมูลของสมาคมอัลไซเมอร์ กล่าว "ผลการวิจัยเหล่านี้ตอกย้ำถึงความสำคัญของการออกนโยบายเพื่อป้องกันไฟป่า และการค้นหาวิธีการที่ดีกว่าเพื่อรับมือกับไฟป่า"
นักวิจัยได้วิเคราะห์บันทึกสุขภาพของสมาชิก Kaiser Permanente ที่มีความหลากหลายทางเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 1,227,241 คน ในแคลิฟอร์เนียตอนใต้ ซึ่งมีอายุ 60 ปีขึ้นไปในช่วงปี 2552-2562 โดยไม่มีใครเลยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อม ขณะที่เริ่มต้นการศึกษา โดยมีการประมาณค่า PM2.5 ทั้งหมดจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งคุณสมบัติของละอองลอยจากดาวเทียม และการติดตามข้อมูลของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency) นักวิจัยใช้ข้อมูลการตรวจสอบคุณภาพอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม และเทคนิคการเรียนรู้อัตโนมัติเพื่อแยก PM2.5 จากไฟป่าและที่ไม่ได้มาจากไฟป่าออกจากกัน โดยได้พวกเขาจะกำหนดระดับการสัมผัสกับ PM2.5 ทั้งสองแหล่งของผู้เข้าร่วมการศึกษาแต่ละคนตามสถานที่ที่พวกเขาอาศัยอยู่ แล้วจึงนำข้อมูลดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมในเวลาต่อมาในบันทึกสุขภาพของผู้เข้าร่วม
นักวิจัยได้รายงานผลการวิจัยครั้งแรกที่งานประชุม AAIC 2024 โดยพบว่าอัตราการวินิจฉัยโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้น 21% สำหรับปริมาณที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร ซึ่งเป็นปริมาณฝุ่นละอองในอากาศหนึ่งลูกบาศก์เมตรจากการสัมผัสกับ PM2.5 จากไฟป่าโดยเฉลี่ยสามปี ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว พวกเขาพบว่าผู้เข้าร่วมการศึกษาจะมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ในทุกๆ 3 ไมโครกรัมต่อตารางเมตร เมื่อสัมผัสกับ PM2.5 ที่ไม่ได้มาจากไฟป่าในค่าเฉลี่ย 3 ปี
"งานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าการสัมผัสกับ PM2.5 มีความเกี่ยวข้องกับการป่วยเป็นภาวะสมองเสื่อม แต่เมื่อพิจารณาจากการศึกษาในระยะยาวขนาดใหญ่ของเรา ก็เห็นได้ชัดว่าความเสี่ยงจากการสัมผัสควันจากไฟป่าเป็นเรื่องที่น่ากังวลยิ่งกว่า" ดร. ทพ. Holly Elser ผู้เขียนหลักของงานวิจัย และเป็นแพทย์ประจำบ้านสาขาประสาทวิทยาที่โรงพยาบาลของ University of Pennsylvania ฟิลาเดลเฟีย "มลพิษทางอากาศที่เกิดจากไฟป่าคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 70% ของปริมาณ PM2.5 ทั้งหมดในวันที่คุณภาพอากาศไม่ดีในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งนับว่าเป็นปัญหาที่จริงจัง"
ดร. Elser ตั้งข้อสังเกตกับสาเหตุหลายประการว่าเหตุใด PM2.5 ที่เกิดจากไฟป่าอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพมากกว่า ซึ่งนั่นเป็นเพราะนี่เป็น PM2.5 ที่เกิดขึ้นในอุณหภูมิที่สูงกว่า มีความเข้มข้นของสารพิษมากกว่า และจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางโดยเฉลี่ยเล็กกว่า PM2.5 จากแหล่งอื่น ทั้งยังกล่าวเสริมอีกว่า ยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อระบุกลไกที่ชัดเจน
"ผลการวิจัยพบว่าปัญหาดังกล่าวปรากฏเด่นชัดที่สุดในกลุ่มผู้คนจากกลุ่มชาติพันธุ์หรือเชื้อชาติที่เป็นชนกลุ่มน้อยและในพื้นที่ยากจนสูง" ดร. Joan A. Casey ผู้เขียนอาวุโสของการศึกษานี้ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ในภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย University of Washington ซีแอตเทิล กล่าว "ผลการวิจัยเหล่านี้เน้นย้ำว่านโยบายทางคลินิกและสุขภาพที่มุ่งป้องกันความเหลื่อมล้ำที่เกี่ยวข้องกับภาวะสมองเสื่อม ควรรวมถึงความพยายามในการลดการสัมผัสกับ PM2.5. จากไฟป่าและที่ไม่ได้มาจากไฟป่าในระยะยาวเข้าไปด้วย"
ดร. Elser และ Casey แนะนำให้ผู้คนอัปเดตระบบกรองอากาศ และตรวจสอบคุณภาพอากาศในแอปพลิเคชันสภาพอากาศ ในกรณีที่พวกเขาใช้แอปพลิเคชันดังกล่าว โดยค่าดัชนีคุณภาพอากาศ (AQI) ที่เกิน 100 ขึ้นไป หมายความว่าอากาศไม่ดีต่อสุขภาพเมื่อหายใจเข้าไป ทั้งนี้เพื่อเป็นลดความเสี่ยงของพวกเขาเมื่อพบเห็นค่า AQI สูงกว่า 100 ขึ้นไป ผู้คนควรอยู่ภายในอาคารและปิดหน้าต่าง และสวมใส่หน้ากาก N95 เมื่อออกไปนอกบ้าน
เกี่ยวกับ Alzheimer’s Association International Conference® (AAIC®)
Alzheimer’s Association International Conference (AAIC)เป็นการรวมตัวของนักวิจัยจากทั่วโลกที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมุ่งเน้นไปที่โรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมชนิดอื่นๆ โดย AAIC ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยของ Alzheimer’s Association ได้ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและส่งเสริมชุมชนนักวิจัยที่มีความสำคัญและเป็นมิตร
หน้าหลักของ AAIC 2024: www.alz.org/aaic/
สถานีข่าว AAIC 2024: www.alz.org/aaic/pressroom.asp
แฮชแท็ก AAIC 2024: #AAIC24
เกี่ยวกับ Alzheimer’s Association®
Alzheimer’s Association เป็นองค์กรอาสาสมัครด้านสุขภาพระดับโลกที่อุทิศตนเพื่อการดูแล สนับสนุน และวิจัยโรคอัลไซเมอร์ เรามีพันธกิจเพื่อเป็นผู้นำในการยุติโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ ด้วยการเร่งผลักดันการวิจัยทั่วโลก ขับเคลื่อนการลดความเสี่ยงและการตรวจจับแต่เนิ่นๆ พร้อมกับเพิ่มคุณภาพการดูแลและการช่วยเหลือในระดับสูงสุด โดยเรามีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้โลกปราศจากโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ® เข้าไปที่ alz.org หรือโทร 800.272.3900
- ดร. ทพ. Holly C Elser และคณะ การสัมผัสควันจากไฟป่าในระยะยาว และภาวะสมองเสื่อมในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่ในแคลิฟอร์เนีย (แหล่งทุน: U.S. National Institute on Aging R01-AG071024)
*** ข่าวเผยแพร่ของ AAIC 2024 อาจมีข้อมูลอัปเดตที่ไม่ตรงกับข้อมูลที่รายงานในบทคัดย่อต่อไปนี้
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2470275/AAIC24_rgb_Logo.jpg?p=medium600