- ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เกือบเท่ากับปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่คนฉะเชิงเทราในอำเภอเมืองปล่อยออกมาจากกิจกรรมต่างๆทั้งปี
- ประเทศไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะต้องเผชิญกับสภาพอากาศสุดขั้ว โดยอยู่อันดับที่ 9 ของโลกตามการประเมินของดัชนีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกระยะยาวทั่วโลก (global long term climate risk index)
- นโยบายสิ่งแวดล้อมควรมีกรอบเงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน และนำไปสู่การปกป้องสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
กรุงเทพฯ, 26 มีนาคม 2567 /PRNewswire/ — การรีไซเคิลเหล็กสแตนเลสที่เพิ่มขึ้นมีบทบาทสำคัญในการลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกอย่างชัดเจน ข้อสรุปนี้มาจากผลการศึกษาร่วมกันระหว่างนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำจากไทยและเยอรมันในนามของบริษัทโอริกซ์ สเตนเลส(ประเทศไทย) เนื่องจากบริษัทตระหนักถึงสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการสังคมของการรีไซเคิลเหล็กกล้าไร้สนิมในประเทศไทย ศูนย์วิจัยฟราน์โฮเฟอร์เพื่อการจัดการระหว่างประเทศและเศรษฐศาสตร์วิทยาศาสตร์ (Fraunhofer Center for International Management and Economics of Science IMW) จากเมืองไลพ์ซิก ประเทศเยอรมนี เป็นผู้วางแผนและประสานงานการศึกษานี้ และได้รับการสนับสนุนจากสถานทูตเยอรมัน ประจำประเทศไทย
การวิเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ที่ดำเนินการโดยสถาบันวิจัยฟราน์โฮเฟอร์สำหรับเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และพลังงาน (Fraunhofer Institute for Environmental, Safety and Energy Technology UMSICHT) โดยเก็บตัวอย่างจากกระบวนการรีไซเคิลของบริษัทโอริกซ์ สเตนเลสในประเทศไทย ผลลัพธ์แสดงว่า เศษเหล็กสแตนเลสทุกหนึ่งตันที่ใช้ในการผลิตเหล็กสแตนเลสขึ้นมาใหม่ได้ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ถึง 6.71 ตัน เมื่อเทียบกับการผลิตโดยใช้วัตถุดิบหลัก
กลุ่มบริษัทโอริกซ์ สเตนเลส เป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์ชั้นนำของเหล็กสแตนเลสรีไซเคิลในโลก มีโรงงาน 5 แห่งในเอเชียและยุโรป บริษัทได้แสดงให้เห็นว่าโดยทั่วไปแล้วการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการรีไซเคิลเหล็กสแตนเลส เป็นประโยชน์กับสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก และบริษัทโอริกซ์ในประเทศไทยก็มีศักยภาพที่ทำได้เช่นกัน
จากการศึกษาโดยใช้ข้อมูลที่บริษัทโอริกซ์นำเศษเหล็กสแตนเลสมารีไซเคิลในปีพ.ศ.2564 ปีอ้างอิงของการศึกษา นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้คำนวณการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ได้ถึง 556,000 ตัน ใกล้เคียงกับปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปีของคนฉะเชิงเทราที่อาศัยในอำเภอเมือง ซึ่งเป็นที่ตั้งของบริษัทโอริกซ์ สเตนเลส หรือคิดเป็นร้อยละ 1.45 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดจากกระบวนการทางอุตสาหกรรมทั้งหมดในประเทศ การลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีศักยภาพที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ โดยแสดงให้เห็นได้ว่ากลุ่มบริษัทโอริกซ์ สเตนเลสทั่วโลกสามารถลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ได้เกือบ 3.6 ล้านตันในปีอ้างอิง
การต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย เนื่องจากประเทศกำลังเผชิญกับปัญหามากมายที่เกิดขึ้นจากผลกระทบของภาวะโลกร้อน ประเทศไทยติดอันดับที่ 9 ในดัชนีความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระยะยาวทั่วโลก ระหว่างปี 2543 ถึง 2562 ประเทศไทยเผชิญกับความเสี่ยงสูงจากภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น คลื่นความร้อน ความแห้งแล้ง น้ำท่วม พายุรุนแรง และคลื่นสูง ปรากฎการณ์เหล่านี้ถือเป็นภัยร้ายแรงที่สุดต่อประเทศไทยทั้งในแง่ของความถี่และความเสียหาย ทำให้ประเทศไทยติดอันดับอันดับสูงของประเทศที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากน้ำท่วมในโลก
ในด้านต้นทุนทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศษเหล็กสเตนเลสที่ บริษัทโอริกซ์ สเตนเลสในประเทศไทยนำกลับเข้าสู่วงจรการผลิต สามารถประหยัดเงินได้ประมาณ 1.9 พันล้านบาท หรือกว่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการคำนวณโดยนักวิทยาศาสตร์ไทยและเยอรมัน ซึ่งใกล้เคียงกับรายได้เฉลี่ยต่อปีของคนไทยประมาณ 7,000 คน
การคำนวณนี้ใช้ตัวชี้วัด "Scap Bonus" ที่พัฒนาโดยศูนย์ Fraunhofer Center for International Management and Economics of Science IMW ทีมวิจัยได้ปรับให้เข้ากับบริบทของประเทศไทย ตัวชี้วัดจะถูกคำนวณในสองขั้นตอน ในขั้นตอนแรกจะวัดปริมาณผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่หลีกเลี่ยงได้ จากขบวนการรีไซเคิลเศษเหล็กปริมาณหนึ่งตัน ในขั้นตอนที่สองจะใช้การประมาณการณ์เศรษฐกิจและการอ้างอิงราคาจากระบบการซื้อขายการปล่อยก๊าซในการแปลงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่หลีกเลี่ยงได้ ให้เป็นจำนวนเงินบาท สรุปคือ มีการกำหนดราคาสำหรับมลพิษ(ที่หลีกเลี่ยงได้)
"การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการใช้วัตถุดิบรีไซเคิลอย่างชาญฉลาด อย่างเช่น เศษเหล็กสแตนเลส นำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่นั้นมีส่วนช่วยอย่างเป็นรูปธรรมในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เศษเหล็กสแตนเลสเป็นวัตถุดิบรองที่มีคุณค่าอย่างยิ่งเนื่องจากมีความสามารถในการรีไซเคิลได้สูงมาก นำมารีไซเคิลได้โดยไม่สูญเสียคุณภาพเลย เหล็กสแตนเลส 95% ทั่วโลกถูกนำมารีไซเคิลเมื่อสิ้นสุดอายุการใช้งาน 70% ถูกนำมารีไซเคิลเป็นเหล็กสแตนเลสคุณภาพดี ปัจจุบันเศษเหล็กคิดเป็นประมาณ 48% ของวัตถุดิบสำหรับการผลิตเหล็กสเตนเลสทั่วโลก ในยุโรปบริษัทผลิตสเตนเลสชั้นนำมีแนวโน้มที่จะใช้ขีดจำกัดของความเป็นไปได้ทางเทคนิคและใช้วัตถุดิบรองถึง 95% เพื่อผลิตเหล็กสเตนเลสใหม่" ศิริชัย เต็มภูมิสุข กล่าว/ กรรมการบริหาร บริษัท โอริกซ์ สเตนเลส (ประเทศไทย) จำกัด
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: ผู้ผลิตเหล็กกล้าไร้สนิมและตลาดที่กำลังเติบโต
ด้วยกำลังการผลิตเหล็กกล้าไร้สนิม 7.79 ล้านตันในปี 2566 เอเชีย (ไม่รวมจีนและเกาหลีใต้) จึงเป็นหนึ่งในผู้เล่นหลักในตลาด มีการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กเสตนเลสในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะเพิ่มกำลังการผลิตอย่างมีนัยสำคัญในปีต่อๆไป นักลงทุนทั่วไปเห็นถึงศักยภาพจึงวางแผนการขยายกำลังการผลิตในภูมิภาคนี้ โดยได้ขยายการผลิตเพิ่มเป็นหลายล้านตัน ในประเทศมาเลเซีย และ อินโดนีเซีย
ประเทศไทยผลิตเหล็กกล้าไร้สนิมได้ประมาณ 366,000 ตันในปีพ.ศ. 2565 และ เป็นผู้บริโภคสเตนเลสรายใหญ่อันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในเวลาเดียวกัน
การกำหนดกรอบนโยบายและมาตราฐานการดำเนินการที่ดีสำหรับอุตสาหกรรมรีไซเคิลร่วมไปกับการปกป้องสภาพภูมิอากาศ
"แนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในประเทศไทย เน้นย้ำให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องใช้ทรัพยากรอย่างชาญฉลาด และต้องคำนึงถึงความเสี่ยงของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจก นี่คือความสำคัญหลักในการกำหนดนโยบาย การรีไซเคิลเด้วยการดำเนินการอย่างชาญฉลาดก่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมสำหรับสังคมไทย และ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากอุตสาหกรรมนี้ ผู้กำหนดนโยบายควรสนับสนุนให้มีการแข่งขันในการจัดหาวัตถุดิบอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งกำหนดเงื่อนไขการดำเนินงานอย่างชัดเจนสำหรับอุตสาหกรรมรีไซเคิล" คริสเตียน เคล็พเพิลท์ (Christian Klöppelt) นักวิจัยจาก Fraunhofer IMW ในฐานะโฆษกของกลุ่มวิจัยให้ความเห็น
โดยสรุปแล้ว นักวิจัยจากต่างประเทศแนะนำว่ารัฐบาลควรกำหนดราคาการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในประเทศไทย นอกจากนี้ ควรขยายโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน Bio-Circular-Green (BCG) ของไทยให้ครอบคลุมการรีไซเคิลเศษโลหะด้วย รวมทั้ง กำหนดมาตราฐานการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพสำหรับอุตสาหกรรมรีไซเคิล และในท้ายที่สุดรัฐบาลควรสนับสนุนการวิจัย การพัฒนา และการศึกษาในอุตสาหกรรมด้านนี้เพิ่มขึ้น ซึ่งผลงานวิจัยนี้จะนำเสนอสู่สาธารณชนในวันพุธที่ 27 มีนาคม 2564
ณ โรงแรม ไฮแอท รีเจนซี่ กรุงเทพฯ สุขุมวิท ประเทศไทย
เกี่ยวกับบริษัท และ องค์กร
Oryx Stainless Group และบริษัทแม่ Oryx Stainless Holding B.V. เป็นกลุ่มธุรกิจชั้นนำระดับสากลสำหรับการค้าและการแปรรูปเศษโลหะเป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตเหล็กกล้าไร้สนิม ลูกค้าประกอบด้วยผู้ผลิตท่อสเตนเลสและสเตนเลสแผ่นเรียบทั่วโลก บริษัท Oryx Stainless เป็นซัพพลายเออร์ที่เข้มแข็งมีฐานการจัดซื้อระหว่างประเทศที่กว้างขวางและขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในฐานะกลุ่มธุรกิจที่ดำเนินงานทั่วโลก การให้บริการที่ดีและโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งที่มีประสิทธิภาพถือเป็นพันธกิจสำคัญสำหรับบริษัท นอกจากนี้บริษัทยังรับประกันให้กับบริษัทลูกทั้งในยุโรปและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2555 บริษัท โอริกซ์ สเตนเลสเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทย และต่อมาได้ขยายธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีสาขาย่อยในประเทศมาเลเซียด้วย
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology–AIT) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 เป็นสถาบันนานาชาติชั้นนำสำหรับการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี โดยเน้นด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และการศึกษาด้านการจัดการ โปรแกรมการศึกษาที่ครอบคลุม ความมุ่งมั่นในการวิจัย และความริเริ่มการมีส่วนร่วมเชิงปฏิบัติของAIT ได้พัฒนาให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความเป็นเลิศทางวิชาชีพและบทบาทความเป็นผู้นำทั้งในเอเชียและในระดับโลก AITตั้งอยู่ท่ามกลางภูมิทัศน์เขียวขจีทางตอนเหนือของกรุงเทพฯ ด้วยสภาพแวดล้อมอันเงียบสงบและสวยงามเอื้อต่อการส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ที่หลากหลายและเป็นสากล การอุทิศตนของ AIT เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและความก้าวหน้าทางสังคมทำให้ AIT ได้รับการยอมรับในเวทีระดับโลก ในการจัดอันดับประจำปี 2023 ซึ่งประเมินมหาวิทยาลัยโดยอิงจากการจัดการการศึกษาให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ AITได้รับการจัดให้อยู่ในระดับที่น่าพอใจ คือในระหว่างลำดับที่ 201-300 จากมหาวิทยาลัย 1,591 แห่งที่เป็นตัวแทนของ 112 ประเทศและภูมิภาค ความสำเร็จนี้ตอกย้ำความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของ AIT ในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคมเชิงบวก และส่งเสริมแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนภายใต้ความมุ่งมั่นด้านวิชาการและการดำเนินงาน
อุชนิช ทูลาธาร์ ( Ms. Ushnish Tuladhar) วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
จากโครงการหนึ่งของมหาวิทยาลัย ที่มหาวิทยาลัยอนุมัติให้พัฒนาเป็นคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศึกษาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2521 นับจากวันนั้น เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าคณะได้พัฒนาตัวเองในด้านต่างๆ มากขึ้น โดยเน้นไปที่หลักสูตร การวิจัย การสัมมนา การประชุม และโปรแกรมการฝึกอบรมม พ.ศ. 2526 คณะได้ย้ายจากที่ตั้งในกรุงเทพมหานคร ไปรวมอยู่ที่วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม โปรแกรมการศึกษาของคณะสนับสนุนนักศึกษาในการเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้และนำทักษะของพวกเขาไปประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้ดีขึ้นในระดับสากล นอกจากนี้โปรแกรมยังตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ระดับโลกที่มีเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 SDGs) ซึ่งบรรจุอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของประเทศไทย (พ.ศ. 2560-2580) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565 -2569)
ผศ. ดร.รัชพงศ์ กลิ่นศรีสุข
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2534 เป็นหน่วยงานรัฐ บริหารงานอย่างเป็นอิสระภายใต้พระราชบัญญัติพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ พ.ศ. 2534 สวทช. สังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยมีรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหาร สวทช.
สวทช. ได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่สำคัญในการเร่งรัดการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมของประเทศไทย เพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีโลก และเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ .
นพ. จิตติ มังคละสิริ
ศูนย์ Fraunhofer เพื่อการจัดการระหว่างประเทศและเศรษฐกิจความรู้ (Fraunhofer Center for International Management and Knowledge Economy IMW)
ตั้งอยู่ที่เมืองไลพ์ซิก มีประสบการณ์ในการวิจัยด้านเศรษฐกิจและสังคมประยุกต์มามากว่า 17 ปี สถาบันสนับสนุนแนวคิดโลกาภิวัตน์ การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ให้เป็นกลไกขับเคลื่อนนวัตกรรม ทีมวิจัยสหวิทยาการของศูนย์ร่วมกับศูนย์เศรษฐศาสตร์และการจัดการเทคโนโลยี (CEM) ในเมืองฮัลเลอ(Halle) ได้ร่วมวิจัยโครงการระหว่างประเทศให้กับบริษัทเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรทั้งภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักวิจัยเหล่านี้พัฒนากลยุทธ์ กระบวนการ และเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพ เพื่อสนับสนุนกระบวนการตัดสินใจ และเพื่ออำนวยความสะดวกในการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี นำให้เกิดเป็นนวัตกรรมสร้างผลิตภัณท์ หรือบริการใหม่ๆ ความเชี่ยวชาญของ Fraunhofer IMW คือ การประเมินความยั่งยืนแบบองค์รวมของสถานการณ์ในอนาคต การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่ก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการประมาณต้นทุนทางสังคม ดังที่นำเสนอในโครงการนี้ นอกจากนี้Fraunhofer IMW ยังให้บริการในการพัฒนาโซลูชันที่สมดุลทางนิเวศวิทยาและสังคมและมีความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจด้วยมุมมองระดับนานาชาติ
คริสเตียน เคล็พเพิลท์ (Christian Klöppelt) นักวิจัย
สถาบัน Fraunhofer สำหรับเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย และพลังงาน (Fraunhofer Institute for Environmental, Safety and Energy Technology UMSICHT)
บุกเบิกการวิจัยเกี่ยวกับการจัดการคาร์บอน เศรษฐกิจหมุนเวียน ไฮโดรเจนสีเขียว และการจัดการระบบพลังงานในระดับท้องถิ่น สถาบันมีส่วนสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรมในการบรรลุ17เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)ของสหประชาชาติ สถาบันพัฒนาเทคโนโลยี ผลิตภัณฑ์ และบริการที่เป็นนวัตกรรมที่นำไปประยุกต์เป็นอุตสาหกรรมได้สำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมุ่งเน้นอยู่ที่ความสมดุลของการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจ ความเท่าเทียมทางสังคม และความยั่งยืน
สถาบันตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนี ถือเป็นเป็นองค์กรวิจัยประยุกต์ชั้นนำของโลก มีเครือข่ายทั่วโลกและร่วมส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศ ในปีพ.ศ. 2565 สถาบันสร้างรายได้ 58 ล้านยูโร ด้วยพนักงาน 600 คน
ดร.-อิง. มาร์คุส ฮีเบล (Dr. Markus Hiebel)
มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์ เยนา (University of Applied Sciences Jena)
ก่อตั้งขึ้นในปีพศ.2534 ถือเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเก่าแก่ ในรัฐใหม่ของเยอรมนี และไม่เพียงแต่เป็นมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดในรัฐนี้เท่านั้น แต่ยังเป็นมหาวิทยาลัยที่เน้นการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ประยุกต์มากที่สุดอีกด้วย ปัจจุบันมีนักศึกษาระดับปริญญาตรีและปริญญาโทประมาณ 4,400 คน มีพนักงานประมาณ 470 คนในสาขาวิทยาศาสตร์ ฝ่ายบริหาร เทคโนโลยี และห้องสมุด มหาวิทยาลัยทำงานใกล้ชิดกับภาคธุรกิจและสถาบันวิทยาศาสตร์อื่นๆ มีการวิจัยในสาขาต่างๆ เช่น"ระบบความแม่นยำ" "เทคโนโลยีและวัสดุ" "สุขภาพและความยั่งยืน" หัวข้อการวิจัยจะสอดคล้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีและสังคมในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีสาขาวิชาสหวิทยาการในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ โดยวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ของอุตสาหกรรม 4.0 ปฏิสัมพันธ์ของสาขาวิชาที่แตกต่างกันนี้ทำให้เกิดแนวคิดที่สร้างสรรค์และเป็นนวัตกรรมในการวิจัยหัวข้อและปัญหา
ศจ.ดร.แฟรงค์ โปเธน (Prof. Dr. Frank Pothen)
ผู้ติดต่อ:
Christian Klöppelt, M.Sc.
Center for Economics and Management of Technologies CEM
Fraunhofer Center for International Management and Knowledge Economy IMW
Leipziger Straße 70/71
D-06108 Halle (Saale)
Germany
Phone +49 345 131886- 134
christian.kloeppelt@imw.fraunhofer.de
Dirk Böttner-Langolf
Spokesperson | Head of Marketing and Communication Division
Fraunhofer Center for International Management and Knowledge Economy IMW
Martin-Luther-Ring 13
04109 Leipzig, Germany
Phone +49 341 231039-250
dirk.boettner-langolf@imw.fraunhofer.de
Oryx Stainless Group
info@oryx.com / www.oryx.com
– Picture is available at AP –