ไหโข่ว จีน, 27 พ.ย. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
รายงานข่าวโดยศูนย์สื่อมวลชนระหว่างประเทศมณฑลไห่หนาน (Hainan International Media Center หรือ HIMC)
มณฑลไห่หนานทางตอนใต้ของจีนได้จัดกิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างเมืองท่าการค้าเสรีไห่หนาน (FTP) กับสิงคโปร์ เช่นเดียวกับกิจกรรมส่งเสริมการแลกเปลี่ยนอื่น ๆ ในสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 22 ถึง 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
A “Closer Singapore – Hainan Cooperation to Share in Free Trade Port Opportunities” themed promotion conference held in Singapore on Nov. 23.
การประชุมส่งเสริมเมืองท่าการค้าเสรีไห่หนานได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน โดยได้มีการลงนามในสัญญา 5 ฉบับ ครอบคลุมโครงการสำคัญในด้านการเงิน การค้า บริการ และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ทั้งยังประกาศแผนจัดตั้งสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศประจำมณฑลไห่หนานสาขาสิงคโปร์ด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกในการประสานงานระดับทวิภาคีในภาคพลังงานสีเขียว สะอาด และคาร์บอนต่ำ
ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาตลอดกิจกรรมนี้ ทางมณฑลไห่หนานยังได้แสวงหาโอกาสในการร่วมมือกับบริษัทชั้นนำของสิงคโปร์ด้วย ไม่ว่าจะเป็นเทมาเส็ก โฮลดิงส์ (Temasek Holdings), แคปิตาแลนด์ กรุ๊ป (CapitaLand Group), ชางงี แอร์พอร์ตส์ อินเตอร์เนชันแนล (Changi Airports International), วิลมาร์ อินเตอร์เนชันแนล (Wilmar International), ธุรกิจท่าด่านและสถานีขนส่งชั้นนำระดับโลกอย่างพีเอสเอ อินเตอร์เนชันแนล (PSA International), มันได ไวลด์ไลฟ์ กรุ๊ป (Mandai Wildlife Group) และแบรนด์ศูนย์อาหารอย่างโค่วฟู๋ กรุ๊ป (Koufu Group)
มณฑลไห่หนานหวังยกระดับการแลกเปลี่ยนระหว่างกันให้มากขึ้น โดยตั้งเป้าที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมจากประสบการณ์ของสิงคโปร์ในฐานะประเทศที่มุ่งทำการค้าขายซึ่งมีเขตการค้าเสรีที่จัดตั้งขึ้นถึง 9 เขต มณฑลไห่หนานมุ่งใช้ประโยชน์จากนโยบายพิเศษสำหรับเมืองท่าการค้าเสรี ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมการลงทุน เพื่อเสริมสร้างความพยายามในการกระชับความร่วมมือกับสิงคโปร์ในด้านต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมคาร์บอนต่ำ เศรษฐกิจสนามบิน เศรษฐกิจดิจิทัล การดูแลสุขภาพ การค้าและการลงทุนระดับทวิภาคี และการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรม
ทางการจีนได้ออกแผนแม่บทในการพัฒนาเมืองท่าการค้าเสรีไห่หนานเมื่อเดือนมิถุนายน 2563 เพื่อกรุยทางและเป็นประตูบานสำคัญให้จีนเปิดกว้างอย่างต่อเนื่องในยุคใหม่
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไห่หนานกับสิงคโปร์มีการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจ การค้า และวัฒนธรรมระหว่างกันอย่างคึกคัก โดยสิงคโปร์ลงทุนในไห่หนานคิดเป็น 90% ของการลงทุนทั้งหมดของอาเซียนในมณฑลไห่หนาน ในขณะที่ไห่หนานลงทุนในสิงคโปร์ถึงครึ่งหนึ่งของการลงทุนของไห่หนานในอาเซียน