- โครงการริเริ่มของสภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum หรือ WEF) ที่มีชื่อว่า ‘การเปลี่ยนผ่านคลัสเตอร์อุตสาหกรรม’ (Transitioning Industrial Clusters) ภายใต้การทำงานร่วมกับ Accenture และ EPRI มุ่งที่จะยกระดับความร่วมมือและพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมกันระหว่างบริษัทที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันและสถาบันภาครัฐ โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e)
- AM Green Kakinada Cluster จะเริ่มดำเนินงานเป็นคลัสเตอร์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ซึ่งเป็นคลัสเตอร์ระดับโลกแห่งแรกในประเภทนี้ที่เริ่มต้นด้วยการผลิตแอมโมเนียสีเขียว 1 ล้านตันต่อปี (MTPA) อีกทั้งยังสานต่อความพยายามที่จะมีการผลิตโมเลกุลสีเขียวและเชื้อเพลิงสีเขียว
- คลัสเตอร์ดังกล่าวนี้ซึ่งมีเงินลงทุนมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์ คาดว่าจะสร้างงานโดยตรงและโดยอ้อมรวมกว่า 10,000 ตำแหน่ง
ไฮเดอราบัด อินเดีย และเจนีวา, 19 พฤศจิกายน 2567 /PRNewswire/ — AM Green Kakinada Cluster เข้าร่วมกับโครงการริเริ่มการเปลี่ยนผ่านคลัสเตอร์อุตสาหกรรมของสภาเศรษฐกิจโลก ที่มุ่งยกระดับความร่วมมือและพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมกันระหว่างบริษัทที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันและสถาบันภาครัฐ โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ด้วยการเข้าร่วมโครงการริเริ่มการเปลี่ยนผ่านคลัสเตอร์อุตสาหกรรมของสภาเศรษฐกิจโลก AM Green Kakinada Cluster มุ่งที่จะสื่อสารอย่างหนักแน่นชัดเจน เกี่ยวกับความสำคัญของแนวทางร่วมมือกันในการลดคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรมระดับโลกและสร้างระบบนิเวศอุตสาหกรรมสีเขียวที่มีการบูรณาการ ซึ่งจะเพิ่มผลลัพธ์สูงสุดทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในอินเดีย
ด้วยเงินลงทุนตั้งต้นมากกว่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คลัสเตอร์ดังกล่าวนี้คาดว่าจะสร้างงานโดยตรงและโดยอ้อมมากกว่า 10,000 ตำแหน่ง ซึ่งส่งเสริมเศรษฐกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมทั้งสนับสนุนอุตสาหกรรมอย่างการก่อสร้าง การผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ และที่อยู่อาศัย
ในการประกาศครั้งนี้ ประธาน AM Green คุณ Anil Chalamalasetty กล่าวว่า "โซลูชันการลดคาร์บอนระดับโลกในระดับปริมาณมากและอย่างรวดเร็วเป็นสิ่งจำเป็นในปัจจุบัน เพื่อทำให้วิสัยทัศน์ใหม่เกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานระดับโลกกลายเป็นจริงขึ้นมา เราเชื่อว่านี่เป็นโอกาสที่ยอดเยี่ยมและเป็นความท้าทายที่เราจัดการรับมืออย่างไม่ลดละมาตลอดหลายปี"
"เราตั้งตารอที่จะมีส่วนร่วมกับโครงการริเริ่มของสภาเศรษฐกิจโลก และที่จะได้บรรลุเป้าหมายการเปลี่ยนผ่านของคลัสเตอร์ นอกจากนี้ ในฐานะสมาชิกของโครงการริเริ่มการเปลี่ยนผ่านคลัสเตอร์อุตสาหกรรม AM Green Kakinada Cluster จะมุ่งสนับสนุนการทำงานระดับโลกในการลดการปล่อยคาร์บอนในคลัสเตอร์อุตสาหกรรม และรอที่จะได้นำเสนอองค์ความรู้และการทำงานพัฒนาของบริษัทกับสภาฯ ตลอดจนรับเอาแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศจากคลัสเตอร์อื่น ๆ ที่เข้าร่วมในการประชุม" คุณ Chalamalasetty กล่าวเสริม
"เรายินดีที่ได้ต้อนรับ AM Green Kakinada Cluster เข้าสู่เครือข่ายระดับโลกของเราที่ประกอบด้วย 25 คลัสเตอร์อุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญสำหรับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานของอินเดีย ทั้งนี้ ด้วยทรัพยากรหมุนเวียนในอานธรประเทศ Kakinada Cluster มีศักยภาพที่จะพัฒนาส่งเสริมการผลิตแอมโมเนียและไฮโดรเจนสีเขียวในระดับภูมิภาค ด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนการเปลี่ยนผ่านคลัสเตอร์อุตสาหกรรม AM Green Kakinada จะมีโอกาสได้นำเสนอมุมมองเชิงลึกและมีบทบาทในความก้าวหน้าจากการร่วมมือในการลดคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรม" คุณ Roberto Bocca หัวหน้าศูนย์พลังงานและวัสดุ และสมาชิกคณะกรรมการบริหาร กล่าว ณ สภาเศรษฐกิจโลก
การลงทุนในระบบนิเวศต้นน้ำโดยรวมราว 1.5 หมื่นล้านดอลลาร์เป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของคลัสเตอร์ในกากินาดาแห่งนี้ ยิ่งไปกว่านั้น คาดว่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเมื่อเริ่มเปิดดำเนินงานในปี 2569 จะอยู่ที่ 0 เมตริกตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Mt CO2e)
คลัสเตอร์ในกากินาดาแห่งนี้จะเริ่มด้วยกำลังผลิตแอมโมเนียสีเขียว 1 ล้านตันต่อปี โดยประกอบด้วยโรงงานผลิตไฟฟ้าด้วยอิเล็กโทรไลเซอร์ขนาด 2 กิกะวัตต์ (GW) และสถานผลิตโมเลกุลสีเขียวชนิดอื่น ๆ เพื่อให้มีห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่งสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์
คลัสเตอร์แห่งนี้จะขับเคลื่อนด้วยพลังงานปลอดคาร์บอนตลอด 24 ชั่วโมงในทุกวัน ซึ่งเกิดขึ้นได้ด้วยโครงการกักเก็บพลังงานแบบสูบกลับ และจะมีสาธารณูปโภคแบบบูรณาการ รวมถึงไอน้ำสีเขียว น้ำกลั่นจากน้ำทะเล และโรงบำบัดน้ำเสีย
AM Green มุ่งที่จะมอบโซลูชันลดคาร์บอนในภาคอุตสาหกรรมระดับโลกด้วยคลัสเตอร์อุตสาหกรรมสีเขียวที่สำคัญแห่งนี้ในเมืองกากินาดา รัฐอานธรประเทศ วางตำแหน่งอินเดียเป็นผู้เล่นรายหลักในความพยายามลดคาร์บอนและเปลี่ยนผ่านทางพลังงานระดับโลก คลัสเตอร์แห่งนี้จะเป็นสถานประกอบการที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ โดยผลิตโมเลกุลสีเขียวที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน อย่างเช่น แอมโมเนียสีเขียว ไฮโดรเจนสีเขียว เชื้อเพลิงอากาศยานที่ยั่งยืน โอเลฟินส์สีเขียว และอื่น ๆ
AM Green กำลังพัฒนาแพลตฟอร์มแอมโมเนียสีเขียวที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก โดยจะมีกำลังผลิต 5 ล้านตันต่อปีภายในปี 2573 สนับสนุนความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ทั้งในอินเดียและในกลุ่มประเทศ OECD ผลผลิตเช่นนี้จะเทียบเท่ากับไฮโดรเจนสีเขียวราว 1 ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นสัดส่วนหนึ่งในห้าของเป้าหมายการผลิตไฮโดรเจนสีเขียวของอินเดียภายใต้ภารกิจไฮโดรเจนสีเขียวแห่งชาติ และเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ของเป้าหมายการนำเข้าไฮโดรเจนสีเขียวของยุโรป นอกจากนี้ AM Green อยู่ระหว่างการพัฒนาสมรรถภาพการผลิตสำหรับโมเลกุลสีเขียวอื่น ๆ อย่างเช่น โซดาไฟ อีเมทานอล โอเลฟินส์ และเชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมที่ลดได้ยาก
เกี่ยวกับ AM Green Group
AM Green ก่อตั้งขึ้นเป็นบริษัทโดยผู้ก่อตั้ง Greenko Group จากไฮเดอราบัด Anil Chalamalasetty และ Mahesh Kolli เป็นผู้ให้บริการโซลูชันการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานชั้นนำของอินเดีย AM Green ใช้ประโยชน์จากประวัติผลงานการประกอบการในการบุกเบิกพลังงานใหม่และหนทางใหม่ในการกำหนดสร้างอนาคตของพลังงาน เรามุ่งที่จะก้าวเป็นหนึ่งในผู้ผลิตไฮโดรเจนสีเขียว แอมโมเนียสีเขียว และโมเลกุลสีเขียวอื่น ๆ ที่แข่งขันได้ในด้านต้นทุนมากที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ในอินเดีย AM Green กำลังพัฒนาสมรรถภาพการผลิตโมเลกุลสีเขียว (ไฮโดรเจนสีเขียว แอมโมเนียสีเขียว เชื้อเพลิงชีวภาพ อีเมทานอล เชื้อเพลิงอากาศยานที่ยั่งยืน และสารเคมีปลายน้ำมูลค่าสูงหลากหลายชนิด) เพื่อการลดคาร์บอนในอุตสาหกรรมที่ลดได้ยาก กิจการดังกล่าวนี้ยังจะตั้งธุรกิจพลังงานหมุนเวียนและการกักเก็บพลังงานระดับสากล และตั้งกิจการร่วมค้าสำหรับผลิตอิเล็กโทรไลเซอร์ ร่วมกับ John Cockerill จากเบลเยียม
เกี่ยวกับโครงการริเริ่มการเปลี่ยนผ่านคลัสเตอร์อุตสาหกรรมของสภาเศรษฐกิจโลก
โครงการริเริ่มดังกล่าวนี้มุ่งที่จะปลดล็อกศักยภาพของคลัสเตอร์อุตสาหกรรมในด้านเศรษฐกิจ การจ้างงาน และพลังงานอย่างเต็มรูปแบบ โดยใช้แนวทางแบบมีโครงสร้างในด้านการจัดหาเงินทุน นโยบาย เทคโนโลยี และการร่วมมือ อีกทั้งยังบูรณาการแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศจากคลัสเตอร์ที่ทุ่มเทจริงจัง โครงการริเริ่มนี้เสริมสร้างการทำงานร่วมกันระหว่างบริษัทที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันและสถาบันภาครัฐ โดยมีเป้าหมายในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน และการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โครงการริเริ่มดังกล่าวนี้ก่อตั้งในการประชุม COP26 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยมีคลัสเตอร์อุตสาหกรรม 4 แห่ง และขณะนี้ได้ขยายสู่ 25 คลัสเตอร์ในปัจจุบัน (21 แห่งตั้งอยู่ที่ท่าเรือ) ใน 12 ประเทศใน 4 ทวีป โดยมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนมากกว่า 60 ราย
https://initiatives.weforum.org/transitioning-industrial-clusters/clusters
ติดต่อ
Suheil Imtiaz
ฝ่ายกิจการสาธารณะและการสื่อสารเชิงกลยุทธ์
AM Green
+ 91 94401 59289
suheil.m@amgreen.com
รูปภาพ: https://mma.prnasia.com/media2/2560337/AM_Green_Facility_Infra.jpg?p=medium600
โลโก้: https://mma.prnasia.com/media2/2490224/AM_GREEN_Logo.jpg?p=medium600