ปักกิ่ง, 17 พ.ย. 2567 /PRNewswire/ — เมื่อโลกกำลังเผชิญกับปัญหาท้าทายที่เชื่อมโยงกันทั้งความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม และความเป็นธรรมทางสังคม ความร่วมมือในระดับโลกจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อรับมือกับประเด็นเหล่านี้ CGTN จึงได้จัดรายการพิเศษอย่าง "G20 Think Hub: Together for Tomorrow" (G20 Think Hub: ผนึกกำลังเพื่อวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่า) โดยได้เชิญชวนผู้นำทางความคิดจากหลากหลายสาขา มาร่วมหาแนวทางที่สอดรับกับธีมการประชุมสุดยอด G20 อย่าง "Building a Just World and a Sustainable Planet" (สร้างโลกที่เป็นธรรมและยั่งยืน) รายการนี้ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ การอภิปรายโต๊ะกลมเกี่ยวกับความยุติธรรมและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระดับโลก การนำเสนอแบบ TED ในหัวข้อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการพูดคุยในห้องน้ำชาที่เน้นการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม
The poster showcases the 23 guests from the CGTN special program, G20 Think Hub: Together for Tomorrow, where thought leaders from diverse fields discussed strategies aligned with the G20 Summit’s theme, Building a Just World and a Sustainable Planet.
การอภิปรายโต๊ะกลมครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การบรรลุความยุติธรรมในระดับโลก โดยอาศัยการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมและความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งในประเด็นการพึ่งพาทางเศรษฐกิจนั้น นักลงทุนชาวอเมริกันอย่าง Jim Rogers ได้เน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือระหว่างสหรัฐกับจีน เพื่อร่วมกันจัดการกับความท้าทายทางเศรษฐกิจ ขณะที่ Jessica Durdu นักศึกษาปริญญาเอกชาวตุรกี ได้กล่าวถึงโครงการริเริ่มระดับโลกของประธานาธิบดี Xi Jinping ผู้นำจีน ในด้านการพัฒนา ความมั่นคง และอารยธรรม โดยชี้ให้เห็นว่าความยุติธรรมและความยั่งยืนเป็นเป้าหมายที่เชื่อมโยงกันสำหรับคนรุ่นต่อไป ส่วน Kim Sook อดีตเอกอัครราชทูตเกาหลีใต้ประจำสหประชาชาติ ได้สะท้อนถึงอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของประเทศในกลุ่มโลกใต้ (Global South) และความจำเป็นเร่งด่วนในการมีเครื่องมือที่นำไปปฏิบัติได้จริงเพื่อดำเนินนโยบายต่าง ๆ
David Ferguson บรรณาธิการจากสหราชอาณาจักร ได้เน้นย้ำคุณค่าของการเจรจาแบบมีส่วนร่วมในเวทีระดับโลกอย่าง G20 ด้าน André Quemé ผู้ประกอบการสายเทคโนโลยีชาวบราซิล ชี้ให้เห็นบทบาทของบราซิลในการดูแลป่าแอมะซอน ซึ่งช่วยสนับสนุนทั้งการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเสถียรภาพเศรษฐกิจโลก ขณะที่ Joseph Olivier Mendo‘o ตัวแทนเยาวชนจากแอฟริกา เรียกร้องให้มีการแก้ปัญหาที่นำโดยชาวแอฟริกา พร้อมเพิ่มบทบาทของแอฟริกาในการตัดสินใจในระดับโลก
ส่วนในช่วงการนำเสนอแบบ TED นั้น ผู้พูดได้นำเสนอกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อความยั่งยืน ซึ่งในหัวข้อความยืดหยุ่นด้านสิ่งแวดล้อม Adalberto Noyola ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยชาวเม็กซิกัน ได้พูดถึงความจำเป็นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำที่ยั่งยืน ขณะที่ Francesco Faiola ศาสตราจารย์ด้านสิ่งแวดล้อมชาวอิตาลี เน้นย้ำถึงแนวทางแก้ไขที่อิงธรรมชาติเพื่อเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ Joseph Olivier Mendo‘o นักรณรงค์เพื่อเยาวชนแอฟริกา ได้เน้นบทบาทสำคัญของคนรุ่นใหม่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมทั่วแอฟริกา Andrew Justin Olsvik นักศึกษาปริญญาเอกชาวแคนาดา ได้ส่งเสริมการใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสร้างความตระหนักด้านการอนุรักษ์สัตว์ป่า และ Elisa Hörhager ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายอุตสาหกรรมชาวเยอรมัน พูดถึงความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รายการนี้ปิดท้ายด้วยการสะท้อนมุมมองเรื่องการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยในประเด็นการสร้างความเข้าใจซึ่งกันและกันนั้น David Morris ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมและนโยบายชาวออสเตรเลีย เน้นย้ำถึงความสำคัญของการริเริ่มที่ขับเคลื่อนโดยชุมชน เพื่อสร้างความเคารพและความร่วมมือ ส่วนในช่วงพูดคุยในห้องน้ำชา ผู้เข้าร่วมได้แบ่งปันเรื่องราวและมุมมองต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าคุณค่าทางวัฒนธรรมมีส่วนในการหล่อหลอมความร่วมมือระดับโลก