การศึกษาที่ยาวนานกว่าสี่ทศวรรษกับผู้คนกว่า 130,000 คนเพื่อวัดค่าความเสี่ยงของเบคอนยามเช้าหรือฮอตดอกในเกมเบสบอลของคุณ
ประเด็นที่สำคัญ
- การทานเนื้อแดงแปรรูป 2 หน่วยบริโภคต่อสัปดาห์เพื่อความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมถึง 14% เมื่อเทียบกับผู้ที่ทานเนื้อแดงแปรรูปน้อยกว่า 3 หน่วยบริโภคต่อเดือน
- การเปลี่ยนจากรับประทานเนื้อแดงแปรรูปเป็นถั่วเปลือกแข็ง ถั่วเมล็ดแห้ง หรือเต้าหู้ทุกวันอาจช่วยลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้ถึง 20%
- การบริโภคเนื้อแดงแปรรูปเพิ่มหนึ่งหน่วยบริโภคแต่ละครั้งในแต่ละวันเชื่อมโยงกับการเพิ่มขึ้นของอายุทางสติปัญญาโดยรวมถึง 1.6 ปี ซึ่งรวมไปถึงด้านภาษาและการทำงานของสมอง
- การวิจัยนี้ครอบคลุมผู้คนมากกว่า 130,000 คน และใช้เวลาติดตามเป็นเวลานานถึง 43 ปี
ฟิลาเดลเฟีย, 31 กรกฎาคม 2567 /PRNewswire/ — ผู้ที่รับประทานเบคอน โบโลญญา หรือเนื้อแดงแปรรูปอื่นๆ อย่างน้อย 1/4 หน่วยบริโภคต่อวัน (ประมาณสองหน่วยบริโภคต่อสัปดาห์) มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมมากกว่าผู้ที่ทานอาหารเหล่านี้น้อยกว่า 1/10 หน่วยบริโภค/วัน (ประมาณสามหน่วยบริโภคต่อวัน) โดยอ้างอิงจากการรายงานการศึกษาในวันนี้ที่การประชุมนานาชาติของสมาคมอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Association International Conference® หรือ AAIC®) 2024 ในฟิลาเดลเฟียและทางออนไลน์
ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่าผู้คนสามารถลดความเสี่ยงของภาวะสมองเสื่อมได้โดยการแทนที่เนื้อแดงแปรรูปหนึ่งหน่วยบริโภคด้วยถั่วเปลือกแข็ง และพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเมล็ดแห้งและถั่วลันเตาทุกวัน
"การป้องกันโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ ถือเป็นประเด็นสำคัญ และ Alzheimer’s Association ได้สนับสนุนให้มีการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้นมาเป็นเวลานานแล้ว รวมถึง อาหารที่ผ่านการแปรรูปน้อยกว่า เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับการลดความเสี่ยงต่อความเสื่อมถอยทางสติปัญญา" ดร. Heather M. Snyder รองประธานฝ่ายความสัมพันธ์ทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ Alzheimer’s Association กล่าว "การศึกษาขนาดใหญ่ในระยะยาวครั้งนี้ได้ให้หนึ่งในวิธีการตัวอย่างในการกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น"
การรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจโดยรวมอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อความเสื่อมถอยทางสติปัญญาและภาวะสมองเสื่อมได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีอาหารหรือส่วนผสมชนิดใดเลยที่ได้รับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างเข้มงวด ซึ่งสามารถพิสูจน์ได้ว่าสามารถป้องกัน รักษา หรือบำบัดโรคอัลไซเมอร์หรือโรคสมองเสื่อมชนิดอื่นได้ ในความเป็นจริงแล้ว นี่เป็นเรื่องที่ไม่น่าเป็นไปได้เลยที่อาหารหรือส่วนผสมชนิดเดียวที่จะมีประโยชน์ต่อโรคที่ซับซ้อน เช่น โรคอัลไซเมอร์ อย่างมีนัยสำคัญ
นักวิจัยได้สังเกตผู้เข้าร่วมมากกว่า 130,000 คนในการศึกษาเรื่องสุขภาพของพยาบาล และการศึกษาติดตามผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ พร้อมกับติดตามพวกเขาเป็นเวลานานถึง 43 ปีเพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างเนื้อแดงกับภาวะสมองเสื่อม ซึ่งพวกเขาได้ระบุผู้ป่วยโรคสมองเสื่อมจำนวน 11,173 ราย นักวิจัยประเมินอาหารของผู้เข้าร่วมทุกๆ สองถึงสี่ปีโดยอิงจากคำตอบของแบบสอบถามความถี่ในการรับประทานอาหาร โดยสอบถามว่าพวกเขารับประทานเนื้อแดงแปรรูปบ่อยเพียงใด ซึ่งรวมถึงเบคอน (สองแผ่น) ฮอตดอก (หนึ่งชิ้น) ไส้กรอกหรือไส้กรอกคีลบาซ่า (2 ออนซ์ หรือ 2 ชิ้นเล็ก) ซาลามิ โบโลญญา หรือแซนด์วิชเนื้อแปรรูปอื่นๆ และถั่วเปลือกแข็งและพืชตระกูลถั่ว รวมถึง เนยถั่ว (1 ช้อนโต๊ะ) ถั่วลิสง วอลนัท หรือถั่วเปลือกแข็งชนิดอื่นๆ (1 ออนซ์) นมถั่วเหลือง (แก้ว 8 ออนซ์) ถั่วฝักยาว ถั่วเมล็ดแห้งหรือถั่วเลนทิล ถั่วลันเตาหรือถั่วลิมา (1/2 ถ้วย) หรือเต้าหู้หรือโปรตีนถั่วเหลือง
ผลการศึกษาที่รายงานเป็นครั้งแรกในงาน AAIC 2024 แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าร่วมการศึกษาที่รับประทานเนื้อแดงแปรรูป 1/4 หน่วยบริโภคขึ้นไปต่อวัน มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมสูงขึ้น 14% เมื่อเทียบกับผู้ที่รับประทานเนื้อแดงแปรรูปน้อยกว่า 1/10 หน่วยบริโภคต่อวัน
นักวิจัยยังประเมินระดับความรู้ความเข้าใจโดยใช้การสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์เพื่อประเมินสถานะความรู้ความเข้าใจของผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 17,458 คน และพบว่าการรับประทานเนื้อแดงแปรรูปเพิ่มหนึ่งหน่วยบริโภคแต่ละครั้งในแต่ละวันมีความเชื่อมโยงกับ:
- การเพิ่มขึ้นของอายุทางสติปัญญาโดยรวมถึง 1.6 ปี ซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดทั้งหมด รวมถึง ภาษา การทำงานของสมอง และการประมวลผล และ
- การเพิ่มขึ้นของอายุทางสติปัญญาในด้านคำพูดเพิ่มขึ้น 1.69 ปี ซึ่งเป็นความสามารถในการจดจำและเข้าใจคำศัพท์และประโยค
อย่างไรก็ตาม การทดแทนเนื้อแดงแปรรูป 1 หน่วยบริโภคต่อวันด้วยถั่วเปลือกแข็งและพืชตระกูลถั่ว 1 หน่วยบริโภคต่อวันมีความเชื่อมโยงกับการลดความเสี่ยงในการเป็นโรคสมองเสื่อมถึง 20% และลดอายุทางสติปัญญาโดยรวมให้อ่อนเยาว์ลงถึง 1.37 ปี
"ผลการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างความเสื่อมถอยของความสามารถในการรับรู้กับการบริโภคเนื้อสัตว์โดยทั่วไปยังคงคลุมเครืออยู่ ดังนั้น เราจึงจำเป็นต้องศึกษาให้ละเอียดขึ้นว่า การกินเนื้อสัตว์แปรรูปและไม่แปรรูปในปริมาณต่างกันส่งผลต่อความเสี่ยงและการทำงานของขีดความสามารถด้านความรู้ความเข้าใจอย่างไร" วท.ม. Yuhan Li ผู้ช่วยวิจัยใน Channing Division of Network Medicine ที่ Brigham and Women’s Hospital และผู้เขียนหลักของงานวิจัย ซึ่งเธอทำในขณะที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่ Harvard T.H. Chan School of Public Health บอสตัน "จากการศึกษาผู้คนเป็นระยะเวลานาน เราพบว่าการกินเนื้อแดงแปรรูปอาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดภาวะสมองเสื่อม ซึ่งควรจะคำแนะนำในการจำกัดอาหารชนิดนี้ในแนวทางการรับประทานอาหารเพื่อส่งเสริมสุขภาพของสมอง"
"เนื้อแดงแปรรูปยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ และโรคเบาหวานอีกด้วย ทั้งยังอาจส่งผลต่อสมองได้ เนื่องจากมีสารอันตราย เช่น ไนไตรต์ (สารกันบูด) และโซเดียมในระดับสูง" Li กล่าว
นักวิจัยยังได้ศึกษาเนื้อแดงที่ไม่ผ่านการแปรรูป และไม่พบความเกี่ยวข้องที่สำคัญระหว่างภาวะสมองเสื่อมและการกินเนื้อแดงที่ไม่ผ่านการแปรรูป เช่น แฮมเบอร์เกอร์ สเต็ก หรือสเต็กหมู
การศึกษาวิจัยของ Alzheimer’s Association ของสหรัฐฯ เพื่อปกป้องสุขภาพสมองผ่านการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อลดความเสี่ยง (U.S. POINTER) เป็นการทดลองทางคลินิกเป็นเวลา 2 ปีเพื่อประเมินว่าการแทรกแซงไลฟ์สไตล์ที่กำหนดเป้าหมายไปยังปัจจัยเสี่ยงหลายประการสามารถปกป้องการทำงานของสมองในผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อความเสื่อมถอยทางสติปัญญามากขึ้นได้หรือไม่ โดยมีอาสาสมัครมากกว่า 2,000 รายลงทะเบียนในสถานที่ศึกษาทั้ง 5 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะมีการรายงานผลภายในปี 2568
เกี่ยวกับ Alzheimer’s Association International Conference® (AAIC®)
Alzheimer’s Association International Conference (AAIC)เป็นการรวมตัวของนักวิจัยจากทั่วโลกที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยมุ่งเน้นไปที่โรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมชนิดอื่นๆ โดย AAIC ในฐานะส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยของ Alzheimer’s Association ได้ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่เกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อมและส่งเสริมชุมชนนักวิจัยที่มีความสำคัญและเป็นมิตร
หน้าหลักของ AAIC 2024: www.alz.org/aaic/ สถานีข่าว AAIC 2024: www.alz.org/aaic/pressroom.asp แฮชแท็ก AAIC 2024: #AAIC24
เกี่ยวกับ Alzheimer’s Association®
Alzheimer’s Association เป็นองค์กรอาสาสมัครด้านสุขภาพระดับโลกที่อุทิศตนเพื่อการดูแล สนับสนุน และวิจัยโรคอัลไซเมอร์ เรามีพันธกิจเพื่อเป็นผู้นำในการยุติโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ ด้วยการเร่งผลักดันการวิจัยทั่วโลก ขับเคลื่อนการลดความเสี่ยงและการตรวจจับแต่เนิ่นๆ พร้อมกับเพิ่มคุณภาพการดูแลและการช่วยเหลือในระดับสูงสุด โดยเรามีวิสัยทัศน์ที่จะทำให้โลกปราศจากโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อมอื่นๆ® เข้าไปที่ alz.org หรือโทร 800.272.3900
- วท.ม. Yuhan Li และคณะ การศึกษาเชิงคาดการณ์เกี่ยวกับการบริโภคเนื้อแดงในระยะยาว ความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม และการทำงานของสมองในผู้ใหญ่ชาวสหรัฐอเมริกา (แหล่งทุน: National Institutes of Health R01AG077489, R00DK119412, RF1AG083764, R01NR01999, และ P30DK046200 การศึกษาเรื่องสุขภาพของพยาบาลได้รับการสนับสนุนโดย NIH UM1 CA186107 และการศึกษาติดตามผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพได้รับการสนับสนุนโดย NIH U01 CA167552)
*** ข่าวเผยแพร่ของ AAIC 2024 อาจมีข้อมูลอัปเดตที่ไม่ตรงกับข้อมูลที่รายงานในบทคัดย่อต่อไปนี้
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2470275/AAIC24_rgb_Logo.jpg?p=medium600