- บริษัทฯ ได้ส่งออกวัคซีน 440,000 โดสไปยังประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการรุกเข้าสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตลาดซีกโลกใต้
- โดยบริษัทฯ ได้รับอนุญาตให้ทำตลาดใน 12 ประเทศ และกำลังรอการอนุมัติเพิ่มเติมใน 10 ประเทศเพื่อขยายตลาดไปทั่วโลก
กรุงเทพฯ และซ็องนัม, เกาหลีใต้, 21 มีนาคม 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — เอสเค ไบโอไซแอนซ์ (SK bioscience) บริษัทด้านนวัตกรรมวัคซีนและเทคโนโลยีชีวภาพระดับโลกมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมสุขภาพของผู้คนตั้งแต่การป้องกันไปจนถึงการรักษาโรคได้ประกาศในวันนี้ว่า บริษัทฯ ได้จัดส่งวัคซีน SKYCellflu® กว่า 440,000 โดสไปยังบริษัทไบโอจีนีเทค (Biogenetech) ในประเทศไทยจากศูนย์ผลิตวัคซีน "แอล เฮาส์" (L HOUSE) ในอันดง ประเทศเกาหลีใต้
SK bioscience exports influenza vaccine, SKYCellflu® to Thailand, entering southern hemisphere market.
วัคซีนดังกล่าวเป็นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่บริษัทฯ ได้พัฒนาและเพาะเลี้ยงเซลล์ขึ้นมาเอง โดยมีส่วนประกอบของไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่แนะนำสำหรับใช้ในฤดูกาลไข้หวัดใหญ่ในซีกโลกใต้ประจำปี 2567 ซึ่งประกาศโดยองค์การอนามัยโลก (World Health Organization) หรือดับบลิวเฮชโอ (WHO) เอสเค ไบโอไซแอนซ์ไม่เพียงแต่คาดหวังที่จะรุกตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น แต่ยังรวมถึงตลาดซีกโลกใต้ด้วย โดยเริ่มต้นจากการส่งออกไปยังประเทศไทยก่อน
ประเทศไทยเข้าข่ายแนวทางการให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั้งในซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้ของ WHO เนื่องจากมีภูมิประเทศที่ทอดยาวจากเหนือจรดใต้ เมื่อเร็วๆ นี้ กรมควบคุมโรค (Thailand Department of Disease Control) ได้เปิดตัวโครงการฉีดวัคซีนโดยมุ่งเป้าไปที่คนงานในพื้นที่ท่องเที่ยวสำคัญ 31 แห่ง เพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ หลังการระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19
SKYCellflu® เป็นวัคซีนไข้หวัดใหญ่ที่ผลิตขึ้นจากการเพาะเลี้ยงเซลล์ชนิดแรกของโลกที่ได้รับรับรองคุณสมบัติเบื้องต้น (PQ) จาก WHO ในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้กลับมาผลิต SKYCellflu® อีกครั้ง และได้คว้าอันดับหนึ่งในการประมูลโครงการสร้างภูมิคุ้มกันระดับชาติสำหรับฤดูกาลปี 2566-2567 หลังจากที่เว้นว่างการผลิตไปสามปี เนื่องจากจำเป็นต้องผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในช่วงที่มีการระบาดใหญ่
นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับวัคซีนที่ผลิตขึ้นจากเทคโนโลยีไข่ไก่ฟักแล้ว SKYCellflu® มีความปลอดภัยสำหรับผู้ที่มีอาการแพ้ไข่ และไม่ต้องการยาปฏิชีวนะหรือสารกันบูดมากกว่า ยิ่งไปกว่านั้น วัคซีนชนิดนี้ยังเหมาะสำหรับการผลิตอย่างรวดเร็วเพื่อรับมือกับการระบาดใหญ่
เอสเค ไบโอไซแอนซ์มุ่งมั่นที่จะขยับขยายตลาดไปทั่วโลกผ่านการติดต่อกับองค์กรระดับนานาชาติต่างๆ อาทิเช่น กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (United Nations Children’s Fund) หรือ ยูนิเซฟ (UNICEF) และองค์การอนามัยแพนอเมริกัน (Pan American Health Organization) หรือพีเอเฮชโอ (PAHO) SKYCellflu® ได้รับอนุญาตให้ทำตลาดแล้วใน 12 ประเทศทั่วโลก รวมถึง มาเลเซีย สิงคโปร์ มองโกเลีย ปากีสถาน และชิลี โดยจะได้รับอนุญาตเพิ่มเติมในอีก 10 ประเทศในเร็วๆ นี้ ซึ่งถือเป็นการเปิดทางในการขยายตลาดส่งออกอย่างเต็มรูปแบบ
ข้อมูลของแกรนด์ วิว รีเสิรช์ (Grand View Research) ระบุว่า มีการคาดการณ์ว่าตลาดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทั่วโลกจะขยับขยายขึ้นเป็น 12.58 พันล้านดอลลาร์ภายในปี 2573 โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 6.98 เปอร์เซ็นต์
แจยอง อัน (Jaeyong Ahn) ซีอีโอของเอสเค ไบโอไซแอนซ์ กล่าวว่า "การส่งออก SKYCellflu® ไปยังประเทศไทยถือเป็นก้าวสำคัญในการเข้าสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และตลาดซีกโลกใต้ ซึ่งจะขยับขยายไปสู่ตลาดโลก" เขากล่าวเสริมอีกว่า "นอกเหนือจากการขยายตลาดผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่ให้มีความหลากหลายแล้ว เรายังมุ่งมั่นพัฒนาวัคซีนที่มีศักยภาพสูง เช่น วัคซีนป้องกันการติดเชื้อนิวโมคอคคัสชนิดคอนจูเกต ซึ่งคาดว่าจะเข้าสู่การทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในปีนี้"
ในขณะเดียวกัน เอสเค ไบโอไซแอนซ์ยังคงผลักดันการสำรวจช่องทางการขายใหม่ๆ ผ่านการได้รับการอนุมัติตามกฎระเบียบในทั่วโลกสำหรับวัคซีนที่บริษัทพัฒนาขึ้นเอง โดยมี SKYTyphoid® วัคซีนป้องกันไข้ไทฟอยด์ชนิดคอนจูเกตของบริษัทที่ได้รับการรับรอง WHO PQ ในขณะที่ SKYVaricella® วัคซีนโรคอีสุกอีใสได้รับการอนุญาตให้ทำตลาดในแม็กซิโก
นอกจากนี้ บริษัทกำลังเร่งดำเนินโครงการ "โลกาภิวัตน์" ซึ่งจะถ่ายโอนศักยภาพด้านการวิจัยและพัฒนา และการผลิตไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อสร้างศูนย์กลางการผลิตเฉพาะภูมิภาคเพื่อส่งมอบอุปทานทั่วโลกที่มีเสถียรภาพ และเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา บริษัทได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) กับองค์การเภสัชกรรม (Government Pharmaceutical Organization) หรือจีพีโอ (GPO) ซึ่งเป็นบริษัทเภสัชกรรมของรัฐ เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีนไข้หวัดใหญ่อีกด้วย
– เว็บไซต์เอสเค ไบโอไซแอนซ์ – ลิงด์อินเอสเค ไบโอไซแอนซ์
ข้อมูลติดต่อ
ทีมประชาสัมพันธ์เอสเค ไบโอไซแอนซ์
ชางฮยอน จิน (Changhyun Jin) (jin99@sk.com)
จินนี่ เอส.พัค (Jeannie S. Pak) (J.pak@sk.com)