ปารีส, 11 มีนาคม 2567 /PRNewswire/ — รายงาน อาร์ตไพรซ์ (Artprice) ประจำปี ฉบับที่ 28 "ตลาดศิลปะในปี 2566" (The Art Market in 2023) ของเรานำเสนอข้อมูลสรุปในทั่วโลก และการวิเคราะห์ผลการประมูลผลงานวิจิตรศิลป์ เช่น จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพพิมพ์ วิดีโอ ศิลปะจัดวาง พรม และเอ็นเอฟที (NFT) ในตลอดทั้งปี (1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2566) ซึ่งไม่ครอบคลุมไปถึงโบราณวัตถุ ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมที่ไม่ระบุชื่อ หรือเฟอร์นิเจอร์
Artprice’s 2023 Art Market Report cover, featuring the NFT “Chaos under the Pure Light” (2023) created by 1dontknows
ราคาทั้งหมดที่ระบุไว้ในรายงานอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต (Artprice by Artmarket) อ้างอิงตามผลการประมูลสาธารณะ และได้รวมค่าธรรมเนียมของผู้ซื้อแล้ว สัญลักษณ์ $ หมายถึงดอลลาร์สหรัฐ
ตัวเลขกำไรของตลาดศิลปะโลกในปี 2566 มีค่าเป็นบวก โดยมีจำนวนธุรกรรมเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด (+5%) และมีจำนวนผลงานที่ขายได้มากเป็นประวัติการณ์
ปี 2023 ถือเป็นปีที่เปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวามากที่สุดในประวัติศาสตร์ของตลาดศิลปะโลก โดยมีผลงานที่ถูกนำมาประมูลนับล้านชิ้น และธุรกรรมกว่า 763,000 รายการ
เธียร์รี เออร์มันน์ (Thierry Ehrmann) ซีอีโอของอาร์ตมาร์เก็ตดอทคอม (Artmarket.com) และผู้ก่อตั้งอาร์ตไพรซ์ได้กล่าวว่า "การเติบโตนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากกิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตของผู้ประมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมี โดยมีการโฆษณาการประมูลทางอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้น 545% และมีจำนวนการ "ไลฟ์ขาย" เพิ่มขึ้น 285% ในทั่วโลก หลังจากการแพร่ระบาดของโควิดเป็นเวลาสามปี ซึ่งตัวเลขการเติบโตที่เคยมีการคาดการณ์ไว้สำหรับปี 2570-2573"
สหรัฐอเมริกายังคงครองอันดับหนึ่งโดยคิดเป็น 35% ของมูลค่าการประมูลในตลาดงานศิลปะทั่วโลก โดยมีประเทศจีนตามมาติดๆ ที่ 33%
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านตลาดงานศิลปะต่างคาดหวังว่าตลาดงานศิลปะของจีนจะมีการขยายตัวอย่างมาก และอาจก้าวขึ้นมาเป็นตลาดชั้นนำในปี 2567 นี้ ซึ่งเป็นปีแห่งความร่วมมือด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวระหว่างฝรั่งเศส-จีน
อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ตดอทคอม ผู้นำระดับโลกในด้านข้อมูลตลาดศิลปะได้รวบรวมรายงานประจำปีล่าสุดของเรา (รายงานตลาดงานศิลปะโลกที่ครอบคลุมมากที่สุดในโลก) ผ่านร่วมมือกับพันธมิตรอาร์ทรอน (Artron) ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทของรัฐจีน มาเป็นเวลาต่อเนื่องถึง 15 ปี ข้อมูลการประมูลงานศิลปะที่ครอบคลุมทั่วโลกที่จัดทำขึ้นผ่านความร่วมมือของอาร์ตไพรซ์ และอาร์ทรอน เออาร์เอเอ (Artron ARAA) ได้มอบมุมมองอย่างละเอียดเกี่ยวกับวิวัฒนาการเชิงโครงสร้างของตลาดงานศิลปะโลก และแนวโน้มของตลาดในระดับโลก
ในรายงานฉบับนี้ อาร์ตไพรซ์ได้นำเสนอข้อมูลการจัดอันดับที่มีชื่อเสียง รวมถึง ศิลปินชั้นนำ 500 อันดับแรกตามมูลค่าการประมูลประจำปี (สำหรับผลงานวิจิตรศิลป์และ NFT) ในปี 2566 รวมถึงผลงานวิจิตรศิลป์และ NFT ชั้นนำ 100 อันดับแรกที่ขายในการประมูลใน ปี 2566 ซึ่งยังแสดงให้เห็นความสำเร็จอันน่าทึ่งของศิลปินหญิงอีกด้วย
การลดทอนความเป็นวัตถุของตลาดงานศิลปะบนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้กลายมาเป็นเทรนด์หลักใน 5 ทวีปทั่วโลก และได้ลดตำแหน่งของห้องประมูลทางกายภาพให้กลายเป็นเพียงเรื่องราวของศตวรรษที่ 20
อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ตมีความยินดีที่จะประกาศการเผยแพร่รายงานฉบับที่ 28 "ตลาดศิลปะในปี 2566" ซึ่งมีให้บริการฟรีเต็มรูปแบบในสามภาษา ทั้งทางออนไลน์และในรูปแบบ PDF:
ภาษาฝรั่งเศส:
https://fr.artprice.com/artprice-reports/le-marche-de-lart-en-2023 https://fr.artprice.com/artprice-reports/pdf/rama/le-marche-de-lart-en-2023.pdf ภาษาอังกฤษ:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-art-market-in-2023 https://www.artprice.com/artprice-reports/pdf/rama/the-art-market-in-2023.pdf ภาษาจีน:
https://zh.artprice.com/artprice-reports/zh-the-art-market-in-2023 https://zh.artprice.com/artprice-reports/pdf/rama/zh-the-art-market-in-2023.pdf
ภาพรวมทั่วไปปีของ 2566: จาก "ตลาดของผู้ขาย" สู่ "ตลาดของผู้ซื้อ"
ปริมาณธุรกรรมการประมูลวิจิตรศิลป์และ NFT ได้เพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งขายไป 762,800 ล็อต เทียบกับ 723,700 ล็อตในปี 2565 (+5%)
โดยมีมูลค่าการประมูลวิจิตรศิลป์และ NFT รวม 14.9 พันล้านดอลลาร์ เทียบกับ 17.4 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565 มูลค่าการซื้อขายที่ลดลงในปี 2566/2565 มีเหตุผลหลักมาจากปริมาณการส่งมอบผลงานที่มีมูลค่ามากกว่า 50 ล้านดอลลาร์ที่ลดน้อยลง ซึ่งส่งผลให้ตัวเลขลดน้อยลงประมาณ 1.5 พันล้านดอลลาร์ เมื่อเทียบกับปี 2565 ซึ่งแท้จริงแล้ว ในปี 2565 มีผลงาน 24 ชิ้นที่มีมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านดอลลาร์ที่ได้สร้างมูลค่าถึง 1.95 พันล้านดอลลาร์ เปรียบเทียบกับผลงานหกล็อตที่มีมูลค่าสูงกว่าเกณฑ์ราคาดังกล่าวที่สร้างมูลค่าได้ถึง 494.5 ล้านดอลลาร์ในปี 2565
อัตราการขายไม่ออกโดยเฉลี่ยทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 35% ในปี 2565 เป็น 38% ในปี 2566 ซึ่งบ่งชี้ว่าผู้ซื้อมีการเลือกซื้อมากขึ้นในปี 2566
ซีอีโอผู้ก่อตั้งอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ตได้กล่าวถ้อยคำภาษิตเกี่ยวกับตลาดงานศิลปะว่า: "ผลงานที่ใช่ ในธีมที่เหมาะสม ในเวลาที่เหมาะเจาะ ซึ่งมีที่มาที่ถูกต้อง โดยฝีมือของศิลปินที่ใช่" ซึ่งเป็นจริงยิ่งกว่าจริงในปี 2566
ราคาประมูลเฉลี่ยของงานศิลปะในปี 2566 อยู่ที่ 19,550 ดอลลาร์
ผลงานครึ่งหนึ่งมีราคา (ราคากลาง) ต่ำกว่า 700 ดอลลาร์ในปี 2566 ส่งผลให้งานศิลปะโดยรวมมีราคาย่อมเยายิ่งขึ้น
80% ของงานศิลปะมีราคาต่ำกว่า $4,130
ดัชนีราคาทั่วโลกของอาร์ตไพรซ์เพิ่มขึ้น +2% ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2566 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
ศิลปะร่วมสมัยมีมูลค่าคิดเป็น 17% ของตลาดงานศิลปะ เทียบกับ 16% ในปี 2565 และเพียง 3% ในปี 2543 ทั้งนี้ใน 2543 ศิลปะร่วมสมัยได้สร้างรายได้เพียง 69 ล้านดอลลาร์ เทียบกับ 2.53 พันล้านดอลลาร์ในปี 2566 เห็นได้ชัดว่าตลาดงานศิลปะร่วมสมัยจึงมีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 36 เท่าในช่วง 23 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปรากฏการณ์ทางประวัติศาสตร์ โดยมีศิลปะร่วมสมัยเป็นปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนตลาดงานศิลปะระดับโลก
ศิลปะสมัยใหม่ยังคงเป็นภาคส่วนที่ใหญ่ที่สุดของตลาดงานศิลปะ โดยมีมูลค่าคิดเป็น 40% ของรายได้จากการประมูล (เทียบกับ 38% ในปี 2565)
นอกจากนี้ ยังมีผลงานสองชิ้นที่สร้างมูลค่าเป็นประวัติการณ์ได้เกิน 100 ล้านดอลลาร์ที่ในปี 2566 โดยมีหนึ่งชิ้นในนครนิวยอร์ก และอีกชิ้น ณ กรุงลอนดอน (เทียบกับ 6 ชิ้นที่มีมูลค่าเกิน 100 ล้านดอลลาร์ในปี 2565)
ในปี 2566 อาร์ตไพรซ์นับจำนวนผลงานที่ประมูลได้เจ็ดหลักได้ถึง 1,548 ชิ้น และมีผลงาน NFT 2 ชิ้นที่ประมูลได้แพงกว่ามูลค่าดังกล่าว (เทียบกับผลงาน 1,682 ชิ้น และ NFT 1 ชิ้นในปี 2566)
ทั้งนี้ในบรรดาผลงานที่ประมูลได้ในราคาเจ็ดหลัก 1,550 ชิ้น มีผลงานถึง 206 ชิ้นที่เป็นของศิลปินหญิง หรือคิดเป็น 13%
ซอฟต์พาวเวอร์: สหรัฐอเมริกายังคงรักษาอันดับหนึ่งไว้ได้
สหรัฐอเมริกา มีผลงานที่ได้รับการประมูลถึง 174,600 ชิ้น (แม้จะหดตัวลง 28% เทียบกับปี 2565) และได้สร้างมูลค่ากว่า 5.2 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 35% ของรายได้การประมูลงานศิลปะของตลาดศิลปะทั่วโลก (เทียบกับยอดขาย 160,000 ล็อตและ 7.3 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565 หรือคิดเป็น 42% ของรายได้จากการประมูลงานศิลปะทั่วโลก) การหดตัวดังกล่าวเป็นผลมาจากปริมาณการส่งมอบงานระดับไฮเอนด์ที่ลดลง (งานที่มีมูลค่ามากกว่า 50 ล้านดอลลาร์)
จีน (+4%) ได้กลับมาเติบโตอีกครั้ง โดยสร้างมูลค่าถึง 4.9 พันล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็น 33% ของรายได้การประมูลงานศิลปะทั่วโลก (เทียบกับรายได้ทั่วโลก 5.9 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565 ซึ่งคิดเป็น 35%)
สหราชอาณาจักร (-15%) ได้รับอันดับที่สามด้วยมูลค่า 1.8 พันล้านดอลลาร์ หรือ 12% ของตลาดโลก
(เทียบกับรายได้ทั่วโลก 2.1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2565 ซึ่งคิดเป็น 12%) ซัทเทบีส์ (Sotheby’s) ในลอนดอนได้ทุบสถิติราคาประมูลใหม่สำหรับงานวิจิตรศิลป์ในสหราชอาณาจักร: 108 ล้านดอลลาร์สำหรับผลงานศิลปะ Lady with a Fan (ปี 2460/61) ของกุสทัฟ คลิมท์ (Gustav Klimt) ทั้งนี้เมื่อพิจารณาในระยะยาวแล้ว เห็นได้ชัดว่าเบร็กซิต (Brexit) ได้ส่งผลกระทบเชิงลบต่อตลาดการประมูลงานศิลปะของสหราชอาณาจักร
ฝรั่งเศส (-11%) มีมูลค่าทั้งหมด 875 ล้านดอลลาร์ (6% จากรายได้ทั่วโลก) จาก 106,000 ล็อตที่ขายได้
(เทียบกับรายได้ทั่วโลก 988 ล้านดอลลาร์ในปี 2565 ซึ่งคิดเป็น 6%) และได้ครองตำแหน่งผู้นำในทวีปยุโรปในแง่ของรายได้การประมูลงานศิลปะ ทั้งนี้ในส่วนของจำนวนธุรกรรม ฝรั่งเศสได้ครองอันดับที่สองรองจากสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศสมีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นในภาคส่วนไฮเอนด์ และเมื่อพิจารณาจากในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา มูลค่าการซื้อขายงานศิลปะของฝรั่งเศสมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยมีผลงานมูลค่าเจ็ดหลักเพิ่มขึ้นอย่างมาก (เพิ่มขึ้นประมาณ 80% นับตั้งแต่ในปี 2554-2557)
เยอรมนี มูลค่าการประมูลงานศิลปะลดลง 3% หลังจากเติบโตมาตลอด 4 ปี: 372 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 2.5% ของตลาดโลก (เทียบกับ 383 ล้านดอลลาร์ในปี 2565 คิดเป็น 2.2% ของมูลค่าทั่วโลก)
อิตาลี ได้รับอันดับที่ 6 ในตลาดโลก (+2%) โดยมีมูลค่า 197 ล้านดอลลาร์จาก 44,500 ล็อตที่ขายได้ (เทียบกับ 193 ล้านดอลลาร์ในปี 2566 จาก 40,400 ล็อตที่ขายได้)
อินเดีย มีอัตราการเติบโตของมูลค่าการซื้อขายที่แข็งแกร่งที่สุด (+76%) และได้เป็นที่ยอมรับในตลาดเอเชีย ซึ่งนำหน้าญี่ปุ่น (144 ล้านดอลลาร์) ในปี 2566 ตลาดอินเดียได้สร้างรายได้ 152 ล้านดอลลาร์จากการขายเพียง 2,075 ล็อต (เทียบกับ 87 ล้านดอลลาร์ในปี 2565 จากการขาย 1,500 ล็อต)
โดยมีงานวิจิตรศิลป์ The Story Teller (ปี 2480) ของอัมฤตา เชร์คิล (Amrita Sher-Gi) ที่ได้ทำลายสถิติการประมูลใหม่ในอินเดีย โดยทำเงินไปได้ 7.4 ล้านดอลลาร์ที่ซัฟโฟรนาร์ตในมุมไบ
สถาบันจัดประมูลและยอดขาย
ซัทเทบีส์ได้ก้าวขึ้นมาเป็นสถาบันประมูลชั้นนำระดับโลกอีกครั้งโดยมียอดขายงานวิจิตรศิลป์และ NFT ที่สร้างรายได้ถึง 3.8 พันล้านดอลลาร์
คริสตีส์ (Christie’s) มียอดขาย 3.5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2566
ซัทเทบีส์ทำผลงานได้ดีกว่าคริสตีส์ ณ นครนิวยอร์ก ลอนดอน ฮ่องกง และมิลาน
คริสตีส์เป็นผู้จัดประมูลที่แข็งแกร่งกว่าในปารีส
ซัทเทบีส์ (26%) และคริสตีส์ (24%) มีรายได้คิดเป็นครึ่งหนึ่งของมูลค่าการซื้อขายงานศิลปะทั่วโลก (เทียบกับ 24% และ 35% ตามลำดับในปี 2565)
คอลเลคชั่นที่มีมูลค่าสูงสุดที่ขายในปี 2566 เป็นของเอมิลี่ ฟิชเชอร์ แลนเดา (Emily Fischer Landau) ซึ่งมีมูลค่ารวม 406 ล้านดอลลาร์เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 ณ ซัทเทบีส์ นิวยอร์ก (ต่ำกว่ามูลค่าผลงานของพอล จี อัลเลน (Paul G. Allen) ซึ่งมีมูลค่ารวม 1.6 พันล้านดอลลาร์ที่คริสตีส์)
ฟิลลิปส์ (Phillips) ยังคงครองตำแหน่งผู้จัดประมูลงานศิลปะรายใหญ่อันดับสามของโลกด้วยมูลค่ารวม 573 ล้านดอลลาร์ และเป็นเจ้าภาพงานขายครั้งแรกในปารีส
ไชน่า การ์เดี้ยน (China Guardian) เป็นสถาบันจัดประมูลชั้นนำของจีน โดยมีมูลค่ารวม 539 ล้านดอลลาร์ แซงหน้าโพลี อ๊อคชั่น (Poly Auction) (517 ล้านดอลลาร์)
ยอดรวมของบอนแฮมส์ (Bonham) (219 ล้านดอลลาร์) ได้เพิ่มขึ้นผ่านการเข้าซื้อกิจการคอร์แน็ตต์ เดอ แซงต์ ซีร์ (Cornette de Saint Cyr) (31 ล้านดอลลาร์), บรูน รัสมุสเซิน (Bruun Rasmussen) (27 ล้านดอลลาร์) และสกินเนอร์ (Skinner) (8 ล้านดอลลาร์)
อาร์ตคูเรียล (Artcurial) (78 ล้านดอลลาร์ เทียบกับ 92 ล้านดอลลาร์ในปี 2565) เป็นผู้จัดประมูลผลงานวิจิตรศิลป์ระดับชั้นนำของฝรั่งเศส
งานศิลปะและศิลปินตามยุคการสร้างสรรค์
จิตรกรชั้นครู (ศิลปินที่เกิดก่อนปี 2302)
ยอดขายผลงานจิตรกรชั้นครูคิดเป็น 11% ของล็อตที่ขายได้ และ 9% ของมูลค่าการซื้อขายงานศิลปะทั่วโลก (เทียบกับ 11% ของล็อตที่ขายได้ และ 7% ของมูลค่าการซื้อขายในปี 2565)
ภาพวาดสมัยศตวรรษที่ 14 โดยหวัง เม็ง (Wang Meng) ปรมาจารย์ชาวจีนผู้ยิ่งใหญ่ ได้รับการประมูลในมูลค่าเกิน 40 ล้านดอลลาร์ เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ณ กรุงปักกิ่งที่ไชน่า การ์เดี้ยน
ในนครนิวยอร์ก ภาพวาดสองชิ้นของรือเบินส์ (Rubens) ถูกขายไปในราคา 26 ล้านดอลลาร์ และ 25 ล้านดอลลาร์ที่ซัทเทบีส์ (ในเดือนมกราคมและพฤษภาคม)
ศตวรรษที่ 19 (ศิลปินที่เกิดในช่วงปี 2303 และ 2402)
ยอดขายผลงานศตวรรษที่ 19 คิดเป็น 9% ของล็อตที่ขายได้ทั้งหมด และ 8% ของมูลค่าการซื้อขายงานศิลปะทั้งหมด (เทียบกับ 10% ของล็อตที่ขายได้ และ 14% ของมูลค่าการซื้อขายในปี 2565)
ภาพวาด Les Flamants (ปี 2453) ได้สร้างสถิติการประมูลส่วนตัวใหม่สำหรับฌูว์เลียง รูโซ (Douanier Rousseau) ที่ 43.5 ล้านดอลลาร์ที่คริสตีส์ นิวยอร์ก
ศิลปะสมัยใหม่ (ศิลปินที่เกิดในช่วงปี 2403 และ 2462)
ศิลปะสมัยใหม่ยังคงเป็นภาคส่วนชั้นนำในตลาดงานศิลป์ โดยคิดเป็น 36% ของล็อตที่ขายได้ในปี 2566 และคิดเป็น 40% ของมูลค่าการซื้อขายงานศิลปะทั่วโลก (เทียบกับ 36% ของล็อตที่ขายได้ และ 38% ของมูลค่าการซื้อขายในปี 2565)
ปาโบล ปิกาโซ (Pablo Picasso) เป็นศิลปินที่มียอดขายสูงสุดแห่งปีในการประมูล โดยสร้างรายได้ถึง 596 ล้านดอลลาร์ (อันดับ 3 ในปี 2565 โดยสร้างรายได้ 494 ล้านดอลลาร์)
ผลงาน Woman with a watch (ปี 2475) ของปิกาโซได้ก้าวขึ้นมาเป็นผลงานที่แพงที่สุดอันดับที่ 10 ในประวัติศาสตร์การประมูล (ราคา 139,363,500 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2566 ที่ซัทเทบีส์ นิวยอร์ก) และเป็นผลงานที่ดีที่สุดเป็นอันดับสองของเขารองจาก The Les Femmes d’Alger (Version O) (2498) ได้รับการประมูลไปในราคา 179 ล้านดอลลาร์ในปี 2558
Lady with a Fan (ปี 2460/61) ของกุสทัฟ คลิมท์ เป็นผลงานศิลปะที่ได้รับการประมูลในราคาที่สูงที่สุดในสหราชอาณาจักรที่ 108 ล้านดอลลาร์
จาง ต้าเฉียน (Zhang Daqian) ได้เป็นหนึ่งในศิลปินที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในโลกอีกครั้งในการประมูลในปี 2566 โดยมีมูลค่าการซื้อขายถึง 230 ล้านดอลลาร์
ศิลปะยุคหลังสงคราม (ศิลปินที่เกิดในช่วงปี 2463 และ 2487)
ยอดขายผลงานศิลปะยุคหลังสงครามคิดเป็น 26% ของล็อตที่ขายได้ และ 25% ของมูลค่าการซื้อขายงานศิลปะทั่วโลก (เทียบกับ 26% ของล็อตที่ขายได้ และ 26% ของมูลค่าการซื้อขายในปี 2565)
เจอร์ฮาร์ด ริคเตอร์ (Gerhard Richter) เป็นศิลปินที่มียอดขายในการประมูลสูงสุดในปี 2566 ในหมู่ศิลปินที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยมียอดขาย 303 ล็อตในราคา 214 ล้านดอลลาร์
แอนดี วอร์ฮอล (Andy Warhol) ไม่มีภาพวาดที่โดดเด่น และหล่นไปอยู่อันดับที่ 5 ในบรรดาศิลปินที่มียอดขายสูงสุดของโลกโดยมีรายได้ 198 ล้านดอลลาร์ในปี 2566 (เทียบกับอันดับที่ 1 ในปี 2565 ด้วยมูลค่า 590 ล้านดอลลาร์)
ยาโยอิ คุซามะ (Yayoi Kusama) ได้ก้าวขึ้นสู่อันดับ 8 ในบรรดาศิลปินที่มียอดขายสูงสุดของโลก โดยมีรายได้ 189 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเธอยังเป็นศิลปินหญิงคนเดียวใน 10 อันดับแรกอีกด้วย
โจน มิตเชลล์ (Joan Mitchell) ได้ทำลายสถิติการประมูลส่วนตัวในราคา 29 ล้านดอลลาร์ สำหรับ Untitled (ปี 2502) ที่คริสตีส์ ณ นครนิวยอร์กในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566
ศิลปะร่วมสมัย (ศิลปินเกิดหลังจากปี 2488)
ยอดขายผลงานศิลปะร่วมสมัยคิดเป็น 18% ของล็อตที่ขายได้ และ 17% ของมูลค่าการซื้อขายงานศิลปะทั่วโลก (เทียบกับ 18% ของล็อตที่ขายได้ และ 16% ของมูลค่าการซื้อขายในปี 2565)
ฌอง-มิเชล บาสเคียล (Jean-Michel Basquiat) ได้ก้าวขึ้นสู่อันดับ 2 ในการจัดอันดับของอาร์ตไพรซ์ด้วยมูลค่า 238 ล้านดอลลาร์ (เทียบกับอันดับ 7 ในปี 2565 โดยมีมูลค่า 221 ล้านดอลลาร์)
ผลงาน Support Systems for Women, No. 1 (ปี 2541) ของนิโคล ไอเซนมาน (Nicole Eisenman) (เกิด 2508) ได้รับการประมูลไปในราคา 10,800 ดอลลาร์ในปี 2549 ที่ฟิลลิปส์ ณ นครนิวยอร์ก และถูกขายต่อโดยซัทเทบีส์ ณ กรุงลอนดอนในราคา 400,000 ดอลลาร์
การประมูล NFT
การประมูล NFT สาธารณะสร้างรายได้รวม 22.7 ล้านดอลลาร์ โดยขายได้ 350 ล็อต และยังไม่ได้ขาย 53 ล็อต (เทียบกับ 13.8 ล้านดอลลาร์ โดยขายได้ 384 ล็อต และยังไม่ได้ขาย 171 ล็อตในปี 2565)
ดมิทรี เชอร์เนียก (Dimitry Cherniak) (เกิดปี 2531) เป็นศิลปิน NFT ที่ขายดีที่สุดในโลกในปี 2566 โดยขายได้ 14 ผลงานในราคา 7.9 ล้านดอลลาร์
Ringers #879 (The Goose) (ปี 2564) ของเขาได้รับการประมูลไปในราคา 6.2 ล้านดอลลาร์ที่ซัทเทบีส์ ณ นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566
เซสชั่น "Grails: Property from an Iconic Digital Art Collection Part II" ได้รับการจัดขึ้นโดยซัทเทบีส์ในวันที่ 15 มิถุนายน 2566 โดยมีมูลค่ารวม 10.9 ล้านดอลลาร์
ปัญญาประดิษฐ์ เจนเนอเรทีฟอาร์ต การฟื้นตัวของสกุลเงินดิจิทัลบิทคอยน์ (Bitcoin) และอีเธอเรียม (Ethereum) ล้วนเป็นปัจจัยที่ดีสำหรับตลาด NFT ในปี 2566
ความต้องการผลงานของศิลปินหญิงมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
ศิลปินหญิงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งศตวรรษที่ 20 ได้รับตำแหน่งอันคู่ควรในตลาดงานศิลปะ เทรนด์นี้เกิดขึ้นจากนโยบายของผู้เล่นหลักในตลาดในการประเมินค่าผลงานของตนใหม่ทั้งในด้านประวัติศาสตร์และการเงิน ทั้งยังเกี่ยวข้องกับการรวมผลงานของพวกเขาที่เพิ่มขึ้นอย่างมากไว้ในแค็ตตาล็อกการขาย ซึ่งมีส่วนช่วยให้ผลงานเหล่านั้นถูกมองเห็นในตลาดได้มากขึ้น ความก้าวหน้าดำเนินไปอย่างรวดเร็ว โดยมีจำนวนธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับศิลปินหญิงเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในห้าปี และเพิ่มขึ้นสามเท่าในสิบปี ในปีนี้ จำนวนผลงานของศิลปินหญิงที่ขายในการประมูลได้เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และยังคงส่งผลสืบเนื่องไปอีกยาวไกล
โดยสรุปแล้ว ตลาดงานศิลปะอยู่ในสถานะที่ฟื้นตัวได้ โดยสร้างสถิติการซื้อขายอยู่บ่อยครั้งสำหรับผลงานจากทุกยุคศิลปะและในหลากหลายประเทศในการขายครั้งล่าสุด ซึ่งค่อนข้างขัดกับสัญชาตญาณ เมื่อพิจารณาจากบริบททางภูมิรัฐศาสตร์และเศรษฐกิจที่ยากลำบาก อีกทั้งเราไม่ได้พบเห็นการยกเลิกการขายตามแคตตาล็อกคลาสสิกและ/หรือเพรสทีจสำหรับปี 2566 หรือ 2567 โดยยอดขายเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในตลาดงานศิลปะทั้งหมด
สถาบันจัดประมูลและนักลงทุนรายใหญ่ต่างรู้ดีว่าศิลปะเป็นสินทรัพย์ปลอดภัยและเป็นการลงทุนที่ดี ตามที่แสดงให้เห็นผ่านดัชนีอาร์ตไพรซ์100 (Artprice100©) ซึ่งสร้างผลตอบแทนดีกว่าดัชนีตลาดหุ้นแบบดั้งเดิม ช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนในตลาดหุ้นในปัจจุบันยังส่งผลให้มีการนำเงินทุนและการลงทุนใหม่ๆ เข้าสู่ตลาดศิลปะอีกด้วย
ในช่วงวิกฤตที่ผ่านมา อาร์ตไพรซ์ได้สังเกตเห็นแล้วว่าตลาดศิลปะได้รับผลกระทบน้อยกว่าตลาดการเงินและเศรษฐกิจ แนวโน้มนี้เกิดขึ้นจริงในระหว่างเหตุการณ์ ดัชนี Nasdaq เกิดฟองสบู่แตกในปี 2543, หลังการโจมตี 9/11 ในปี 2544, สงครามกับตาลีบันในปี 2544, สงครามอิรักในปี 2546, วิกฤตซับไพรม์และ CDS ในปี 2550, อัตราดอกเบี้ยติดลบที่เริ่มขึ้นในปี 2554 (ในฝั่งตะวันตก) และวิกฤตโควิด-19 ที่เริ่มขึ้นในปี 2562
การลดทอนความเป็นวัตถุของตลาดงานศิลปะบนอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันได้กลายมาเป็นเทรนด์หลักใน 5 ทวีปทั่วโลก และได้ลดตำแหน่งของห้องประมูลทางกายภาพให้กลายเป็นเพียงเรื่องราวของศตวรรษที่ 20 ซึ่งก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าตลาดงานศิลปะในศตวรรษที่ 20 เป็นปรากฏการณ์ของฝั่งตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ และต่อจากนี้ไป ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกก็กำลังมีบทบาทเทียบเท่ากับฝั่งตะวันตก
อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ตที่มีความเชี่ยวชาญด้านการตลาดงานศิลปะมาเป็นเวลา 27 ปี ระบุว่าอายุเฉลี่ยของลูกค้าและสมาชิก 7.2 ล้านคนได้ลดลงมาจากอายุ 63 ในปี 2540 จนเหลือ 41 ในปี 2566
นี่เป็นข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนว่าตลาดงานศิลปะ หนึ่งในตลาดที่เก่าแก่ที่สุดในโลกกำลังขับเคลื่อนอย่างรวดเร็ว และไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ไปสู่ยุคดิจิทัล (ลบคำครหาว่ามีความล้าหลังทางดิจิทัลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา) และมุ่งเป้าไปยังคนรุ่นใหม่ (อายุ 30-45 ปี) ในทั่วโลก ซึ่งเป็นรุ่นที่รับชมการประมูลผ่านอินเทอร์เน็ตบนมือถือเพียงอย่างเดียว
อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ตมองเห็นการเปลี่ยนแปลงนี้ในทุกวัน ตั้งแต่การปิดห้องประมูลตามกำหนดการ และการโยกย้ายไปสู่กิจกรรมทางอินเทอร์เน็ตแบบถาวรผ่านการเชื่อมต่ออินทราเน็ตกับสถาบันจัดประมูลที่เป็นพันธมิตร 7,200 แห่ง
รายงานฉบับที่ 28 "ตลาดศิลปะในปี 2566" มีให้บริการฟรีเต็มรูปแบบในสามภาษา ทั้งทางออนไลน์และในรูปแบบ PDF:
ภาษาฝรั่งเศส:
https://fr.artprice.com/artprice-reports/le-marche-de-lart-en-2023 https://fr.artprice.com/artprice-reports/pdf/rama/le-marche-de-lart-en-2023.pdf ภาษาอังกฤษ:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-art-market-in-2023 https://www.artprice.com/artprice-reports/pdf/rama/the-art-market-in-2023.pdf ภาษาจีน:
https://zh.artprice.com/artprice-reports/zh-the-art-market-in-2023 https://zh.artprice.com/artprice-reports/pdf/rama/zh-the-art-market-in-2023.pdf
รูปภาพ:
[https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2024/03/image1-artmarket-com-artprice-com-2023-art-market-report-cover-featuring-nft-chaos-under-the-pure-light-by-1dontknows.jpg] [https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2024/03/image2-artmarket-com-artprice-principal-marketplaces-fine-art-and-nft-auction-turnover-in-2023.jpg]
สงวนลิขสิทธิ์ 2530-2566 เธียร์รี เออร์มันน์ www.artprice.com – www.artmarket.com
- อย่าลังเลที่จะติดต่อฝ่ายเศรษฐมิติของเรา เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับสถิติและการศึกษาวิจัยส่วนตัว: econometrics@artprice.com
- ทดลองบริการของเรา (เดโมฟรี): https://www.artprice.com/demo
- สมัครสมาชิกบริการของเรา: https://www.artprice.com/subscription
เกี่ยวกับอาร์ตมาร์เก็ต
อาร์ตมาร์เก็ตดอตคอม ( Artmarket.com) มีชื่ออยู่ใน Eurolist โดย Euronext Paris และ Euroclear: 7478 – Bloomberg: PRC – Reuters: ARTF
สำรวจอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ผ่านวิดีโอ: www.artprice.com/video
อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ก่อตั้งขึ้นในปี 2540 โดยซีอีโอ เธียร์รี เออร์มันน์ อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้รับการกำกับดูแลโดยกรุ๊ป เซอร์เวอร์ (Groupe Serveur) ที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2530
ดูชีวประวัติที่ผ่านการรับรองใน Who’s who ©:
อาร์ตมาร์เก็ตเป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ โดยหนึ่งในโครงสร้างขององค์กรคือฝ่ายอาร์ตไพรซ์ ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในการสะสม การจัดการ และการแสวงหาประโยชน์จากข้อมูลตลาดงานศิลปะทั้งในประวัติศาสตร์และปัจจุบัน (เอกสารต้นฉบับ เอกสารโคเด็กซ์ต้นฉบับ หนังสือที่มีคำอธิบายประกอบ และแคตตาล็อกการประมูลที่ได้มาในช่วงหลายปีที่ผ่านมา) ในคลังข้อมูลที่ประกอบด้วยดัชนีและผลการประมูลกว่า 30 ล้านรายการ ครอบคลุมศิลปินกว่า 825,000 ราย
อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกด้านข้อมูลตลาดงานศิลปะ ตั้งเป้าหมายที่ทะเยอทะยานให้ตัวเองผ่านตลาดที่เป็นมาตรฐานระดับโลก เพื่อที่จะเป็นแพลตฟอร์ม NFT งานวิจิตรศิลป์ชั้นนำของโลก
อาร์ตไพรซ์ อิเมเจส (Artprice Images®) ช่วยให้เข้าถึงคลังภาพตลาดงานศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีภาพดิจิทัลไม่น้อยกว่า 180 ล้านรายการจากภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์จากผลงานศิลปะตั้งแต่ปี พ.ศ. 2243 จนถึงปัจจุบัน พร้อมความเห็นจากนักประวัติศาสตร์งานศิลปะของเรา
อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์สะสมข้อมูลถาวรจากบริษัทประมูล 7,200 แห่ง และสร้างข้อมูลตลาดงานศิลปะที่สำคัญสำหรับสื่อและเอเจนซี่ด้านสื่อมากมาย (สิ่งพิมพ์เผยแพร่ 7,200 ชิ้น) โดยผู้ใช้ 7.2 ล้านราย (สมาชิกเข้าสู่ระบบ + โซเชียลมีเดีย) เข้าถึงโฆษณาที่โพสต์โดยสมาชิกอื่นๆ เกิดเป็นเครือข่ายที่ปัจจุบันนับเป็นตลาดมาตรฐานระดับโลก Global Standardized Marketplace® ในการซื้อและขายงานศิลปะด้วยราคาคงที่หรือราคาประมูล (กำกับดูแลการประมูลตามวรรคที่ 2 และ 3 ของมาตรา L 321.3 ของประมวลกฎหมายแพ่งแห่งฝรั่งเศส)
อนาคตของอาร์ตมาร์เก็ตได้เฉิดฉายยิ่งกว่าที่เคยด้วย AI อาร์ตมาร์เก็ต® ที่ใช้งานง่ายของอาร์ตไพรซ์
อาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้รับรางวัล "บริษัทแห่งนวัตกรรม" โดยธนาคารเพื่อการลงทุนภาครัฐของฝรั่งเศส (BPI) ถึงสองครั้ง ซึ่งเป็นรางวัลที่สนับสนุนบริษัทที่ดำเนินโครงการเพื่อก้าวขึ้นเป็นผู้นำระดับโลกในตลาดงานศิลปะ
รายงานตลาดงานศิลปะโลกของอาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต "ตลาดงานศิลปะในปี 2566" เผยแพร่ในเดือนมีนาคม 2567:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-art-market-in-2023
อาร์ตไพรซ์ บาย อาร์ตมาร์เก็ต เผยแพร่รายงานตลาดศิลปะร่วมสมัยปี 2566:
https://www.artprice.com/artprice-reports/the-contemporary-art-market-report-2023
ดัชนีข่าวประชาสัมพันธ์ที่โพสต์โดยอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์:
https://serveur.serveur.com/artmarket/press-release/en/
ติดตามข่าวสารตลาดงานศิลปะทั้งหมดแบบเรียลไทม์กับอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ทางเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์:
www.facebook.com/artpricedotcom/ (ผู้ติดตามมากกว่า 6.5 ล้านคน)
สำรวจการเล่นแร่แปรธาตุและจักรวาลของอาร์ตมาร์เก็ตและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ได้ที่ https://www.artprice.com/video ทั้งนี้ อาร์ตมาร์เก็ตมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยชื่อดัง Organe Contemporary Art Museum "The Abode of Chaos" (คำนิยมจากเดอะนิวยอร์กไทมส์): https://issuu.com/demeureduchaos/docs/demeureduchaos-abodeofchaos-opus-ix-1999-2013
La Demeure du Chaos / Abode of Chaos
GESAMTKUNSTWERK & SINGULAR ARCHITECTURE
เปิดตัวผลงานลับสองภาษาสู่สาธารณะ:
https://ftp1.serveur.com/abodeofchaos_singular_architecture.pdf
- L’Obs – The Museum of the Future: https://youtu.be/29LXBPJrs-o
- www.facebook.com/la.demeure.du.chaos.theabodeofchaos999 (ผู้ติดตามมากกว่า 4 ล้านคน)
- https://vimeo.com/124643720
ติดต่ออาร์ตมาร์เก็ตดอตคอมและฝ่ายอาร์ตไพรซ์ – ติดต่อ: ir@artmarket.com
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2357185/2023_Art_Market_Report.jpg?p=medium600
รูปภาพ – https://mma.prnasia.com/media2/2357186/Fine_Art_and_NFT_marketplaces.jpg?p=medium600
โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2260897/Artmarket_logo.jpg?p=medium600