บาร์เซโลนา สเปน, 1 มี.ค. 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — ในระหว่างการจัดงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ที่จัดขึ้นในบาร์เซโลนา ประจำปี 2567 (MWC Barcelona 2024) ผู้ใช้บริการระดับสูงกว่า 60 ราย จากบริษัทผู้ให้บริการระดับโลกและผู้นำในอุตสาหกรรมเข้าร่วมงานพัฒนาทักษะความอัจฉริยะทางดิจิทัล (Digital Intelligence Talent Development) ของหัวเว่ย (Huawei) โดยได้เปิดตัวโซลูชันบริการพัฒนาทักษะของบริษัทฯ ในระหว่างงานประชุมในครั้งนี้
คุณเจสัน หลิว (Jason Liu) ประธานฝ่ายบริการด้านการเรียนรู้และการรับรองของหัวเว่ย กล่าวว่า "ในยุคแห่งเทคโนโลยีอัจฉริยะ เราจะสามารถเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาความอัจฉริยะดิจิทัลได้ ด้วยการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้ร่วมกับความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมและข้อมูลอันมีค่าที่บริษัทต่าง ๆ สั่งสมมา" เทคโนโลยีทำให้สิ่งต่าง ๆ ทำงาน และผู้คนก็ทำให้เทคโนโลยีทำงานได้เช่นกัน ทั้งนี้ คุณเจสัน หลิว ได้ร่วมแบ่งปันมุมมองสามประการที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะดังต่อไปนี้
- ทักษะพร้อมด้วยการมีความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมยังคงเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุด แต่ทุกคนควรเพิ่มทักษะของตนด้วยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
- ผู้ออกแบบโครงสร้างบริการ AI และวิศวกรผู้สร้างอัลกอริทึม AI จะกลายเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในยุคของเทคโนโลยีอัจฉริยะ
- แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ใช้ AI ในการทำงาน จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
ทั้งนี้ หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชันบริการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องตามกระแสคุณค่าของการพัฒนาทักษะของลูกค้า ซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วยการวางแผน การพัฒนา การประเมิน และการนำทักษะไปใช้งาน โดยโซลูชันดังกล่าวจะช่วยผู้ใช้บริการสามารถสร้างทีมงานที่ประกอบด้วยผู้มีทักษะด้านดิจิทัล และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การดำเนินการและบำรุงรักษา (O&M) และบริการทางดิจิทัล
ศาสตราจารย์ ยานนิก ไมลเลอร์ (Professor Yannick Meiller) จาก ESCP Business School กล่าวไว้ในการแสดงปาฐกถาพิเศษของเขาว่า "ในช่วงยุคการเปลี่ยนแปลงพัฒนาความอัจฉริยะทางดิจิทัล องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องสร้างทีมผู้มีความสามารถที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีกระบวนความคิดเชิงตรรกะและมีจรรยาบรรณ รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญ"
คุณอันโตนิโอ เดอ ลุยส์ อเซเวโด (Antonio de Luis Acevedo) กรรมการผู้จัดการ State Foundation for Training in Employment (Fundae) เน้นว่าการพัฒนาทักษะควรเชื่อมสติปัญญาไว้ด้วยกันอย่างครอบคลุม และไม่ทิ้งผู้ใดไว้เบื้องหลังในระหว่างกระบวนการเปลี่ยนแปลงปรับตัวทางดิจิทัล
คุณรูเมย์ซา เคย์มาคซี (Rumeysa Kaymakci) ผู้อำนวยการ Turkcell Academy ในประเทศตุรเคีย ชี้ว่า ในอนาคต การเป็นผู้นำที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลควรมุ่งความสนใจไปที่การเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดของผู้นำ การบริหารจัดการทีม และการให้ความร่วมมือกัน
คุณฮามาดลัน แฮมดัน (Hamadlan Hamdan) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีของ Sarawak Digital Economy Corporation เชื่อว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของบริษัทจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวทางดิจิทัล โดยการเปลี่ยนแปลงทักษะของบุคลากรจะเป็นสิ่งสำคัญในกรณีนี้
คุณมาห์ดิ เจมาล (Mahdi Jemal) ผู้บริหารระดับสูงทางด้านการรักษาความปลอดภัยของ Ethio Telecom ได้อธิบายเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะของ Ethio Telecom และร่วมแบ่งปันว่า แพลตฟอร์มที่ผสานการให้บริการระหว่างโลกออนไลน์และนอกเว็บ (Online-Merge-Offline หรือ OMO) ของหัวเว่ยที่สร้างการวางแผนและพัฒนาดูแลทักษะให้เป็นภาพและสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้ Ethio Telecom บรรลุผลการพัฒนาทักษะตามเป้าหมายได้อย่างโดดเด่น
บริการพัฒนาทักษะมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาความอัจฉริยะทางดิจิทัลทั่วทั้งอุตสาหกรรม ทั้งนี้ หัวเว่ยจะยังคงทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมบุคลากรผู้มีความสามารถทั่วโลกไว้ด้วยกัน และร่วมมือกับผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การพัฒนาทักษะในโลกแห่งความเป็นอัจฉริยะ