ปักกิ่ง, 22 มกราคม 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/
ท่าเรือฝูโจวบนชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ของจีนได้กลายเป็นหนึ่งในท่าเรือศูนย์กลางการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ที่สำคัญที่สุด โดยได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในท่าเรือ 20 อันดับแรกของโลกเมื่อที่มีปริมาณการขนส่งสินค้ามากที่สุดในปี 2565
ท่าเรือที่คึกคักแห่งนี้สะท้อนถึงความสำเร็จของฝูโจว ซึ่งเป็นเมืองหลวงของมณฑลฝูเจี้ยนทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีน ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล
"ฝูโจว ณ ท้องทะเล" คือแนวทางแสวงหาการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลในอนาคต ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของแผนพัฒนาระยะยาวที่ริเริ่มโดยประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน
ประธานาธิบดีสี ซึ่งเป็นหัวหน้าพรรคฝูโจวในสมัยก่อน เคยรับหน้าที่เป็นผู้กำหนดวิสัยทัศน์เชิงยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระยะเวลา 20 ปีของฝูโจว โดยกำหนดเป้าหมาย ขั้นตอน เค้าโครง และจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาในช่วง 3 ปี 8 ปี และ 20 ปี หรือที่เรียกว่าลยุทธศาสตร์ "3820"
"การพัฒนาเมืองไม่เพียงแต่ควรคำนึงถึงเป้าหมายการพัฒนาระยะกลางและระยะยาวในช่วง 10 ปีและ 20 ปีเท่านั้น แต่ยังต้องพิจารณาเป้าหมายการพัฒนาระยะยาว 30 ปี 50 ปี หรือแม้แต่หลายร้อยปีด้วย" ประธานาธิบดีสี เคยกล่าวไว้
พิมพ์เขียวสำหรับอนาคต
เมื่อกว่า 30 ปีที่ผ่านมา เมืองฝูโจวซึ่งรายล้อมรอบด้วยภูเขาและแม่น้ำ มีรากฐานทางอุตสาหกรรมที่อ่อนแอ และมีรายได้ทางการคลังต่ำ รวมถึงมีระบบการขนส่งที่ย่ำแย่
การหาทางออกด้านการพัฒนาเมืองจึงอยู่ในความคิดของประธานาธิบดีสีเสมอมา นับตั้งแต่ที่เขาเข้ารับตำแหน่งเลขาธิการพรรคในเดือนเมษายน 2533
เขาใช้เวลามากกว่าครึ่งในช่วงสองปีถัดมาในการทำวิจัยภาคสนามในระดับรากหญ้า ก่อนที่เขาจะอาศัยโอกาสการปฏิรูปประเทศจีนครั้งล่าสุดในการเปิดเมืองช่วงการ "ทัวร์ภาคใต้" ของเติ้ง เสี่ยวผิง เมื่อต้นปี 2535
ภายใต้การนำของสี ผู้ปฏิบัติงานมากกว่า 1,600 คนร่วมกันทำการวิจัยและจัดการประชุมแสดงความคิดเห็นในหัวข้อต่าง ๆ เช่น เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ทำให้ได้รับความคิดเห็นจากสาธารณชนมากกว่า 25,000 รายการภายในระยะเวลาเพียงครึ่งเดือน
หลังจากการแก้ไขหลายสิบครั้ง แผนของโครงการได้ถูกนำมาใช้จริงในเดือนพฤศจิกายน 2535
ตามแผนดังกล่าว ฝูโจวจะต้องดำเนินการเพื่อยกระดับเศรษฐกิจขึ้นไปอีกขั้นให้ได้ภายในปี 2538 เพื่อให้ดัชนีตัวชี้วัดหลักเพิ่มขึ้นสองเท่าจากปี 2533
ภายในปี 2543 ฝูโจวจะต้องทำให้ตัวชี้วัดสำคัญ เช่น ระดับสังคมเมืองและชนบทต่อประชากร เทียบเท่าระดับการพัฒนาของเมืองที่มีความก้าวหน้าในประเทศ จากนั้น เมืองฝูโจวจะต้องมีระดับการพัฒนาโดยเฉลี่ยเทียบเท่าหรือใกล้เคียงกับประเทศหรือภูมิภาคที่มีการพัฒนาแล้วในระดับปานกลางของเอเชียภายในปี 2553
คุณหยาน เจิ้ง รองประธานสถาบันสังคมศาสตร์ฝูเจี้ยนในขณะนั้น กล่าวว่า "แผนนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะในแง่ของตัวชี้วัด – เปรียบเทียบกับตัวเราเอง เปรียบเทียบกับเมืองโดยรอบ และเปรียบเทียบกับเมืองที่มีการพัฒนาในระดับเดียวกันในโลก – แผนนี้ค่อนข้างมีความเป็นวิทยาศาสตร์และเป็นระบบ"
ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มี
ประธานาธิบดีสีได้วางแผนด้วยวิสัยทัศน์แห่งอนาคต ผลักดัน "วงกลมเศรษฐกิจสามเหลี่ยมทองคำปากแม่น้ำหมินเจียง" และแนวทาง "ฝูโจว ณ ท้องทะเล" ให้เป็นองค์ประกอบสำคัญของยุทธศาสตร์ "3820"
"เราจะพัฒนาทางทะเลได้อย่างไรในเมื่อเรายังพัฒนาทางบกได้ไม่ดีพอ?" ประเด็นนี้มักถูกตั้งคำถามในขณะนั้น ขณะที่นายสีเสนอให้ "เพิ่มความสำคัญของพื้นที่ทางทะเลให้เทียบเท่ากับพื้นที่เพาะปลูก และให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางทะเลเทียบเท่ากับการผลิตอาหาร เพื่อเร่งขยายขอบเขตการพัฒนาเศรษฐกิจจากแผ่นดินสู่ทะเล"
ต่อมา ฝูโจวได้เปิดตัวกลยุทธ์การพัฒนาที่ครอบคลุมรอบด้าน โดยมุ่งเน้นไปที่เขตชายฝั่งและพื้นที่ทะเลที่สำคัญ
อุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การขนส่งทางทะเลและอุตสาหกรรมริมท่าเรือได้กลายเป็นอุตสาหกรรมที่มีความเฟื่องฟู ขณะที่อุตสาหกรรมเกิดใหม่ เช่น การแพทย์ชีวภาพทางทะเล และการผลิตอุปกรณ์ระดับไฮเอนด์ด้านพลังงานลมนอกชายฝั่ง ยังได้รับการผลักดันอย่างจริงจัง
คุณจ้าว หยูฉี ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยการเมืองของคณะกรรมการพรรคเทศบาลฝูโจวในขณะนั้น กล่าวว่า "ประธานาธิบดีสีช่วยเราวิเคราะห์ข้อดีของฝูโจว" พร้อมเสริมว่าทางออกคือแสวงหาการพัฒนาทางทะเล
นับตั้งแต่ปี 2535 ถึง 2538 จีดีพีของฝูโจวเติบโตในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 26.6 ต่อปี ทำให้เป้าหมายแรกของโครงการเชิงกลยุทธ์นี้แล้วเสร็จภายในสามปี
นอกจากนี้ ฝูโจวยังบรรลุเป้าหมายการพัฒนาระยะเวลา 8 ปีและเป้าหมายการพัฒนาระยะเวลา 20 ปีตามกำหนดเวลาที่วางไว้
ปัจจุบันฝูโจวได้พัฒนาเป็นเมืองชายฝั่งทะเลที่มีเศรษฐกิจทางทะเลที่คึกคักที่สุดแห่งหนึ่งในจีน โดยในปี 2565 ฝูโจวมีมูลค่าผลผลิตทางทะเลทั้งหมดเกินกว่า 3.3 แสนล้านหยวน (ประมาณ 4.6 หมื่นล้านดอลลาร์)
คุณฮั่น ชิงเซียง ศาสตราจารย์ประจำวิทยาลัยพรรคคอมมิวนิสต์แห่งคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน กล่าวว่า ความสำคัญของยุทธศาสตร์ "3820" นั้นไปไกลเกินกว่าแค่ในเขตเมือง
"จากวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ 20 ปีของฝูโจว สู่เป้าหมายแห่งชาติปี 2578 และจาก ‘ฝูโจว ณ ท้องทะเล’ สู่ ‘การสร้างจีนให้เป็นประเทศทางทะเลที่แข็งแกร่ง’ เรากำลังดำเนินการและสำรวจอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการวางแผนระยะยาว การกำกับดูแลทางวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาร่วมกัน ตามที่ระบุไว้ในยุทธศาสตร์ ‘3820’" คุณฮั่น กล่าว