- เอไอ: การศึกษา "อนาคตของการประกันคุณภาพปี 2566" โดยแลมบ์ดาเทสต์แสดงให้เห็นว่า 78% ของผู้ทดสอบซอฟต์แวร์ได้นำเอไอบางรูปแบบมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานต่าง ๆ เช่น การสร้างกรณีทดสอบและการวิเคราะห์การทดสอบ
- ข้อกังวลเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือ: เนื่องจากความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์ในระดับต่ำส่งผลกระทบต่อธุรกิจมากขึ้นในปี 2566 ทางทีมงานจึงตอบสนองโดยพยายามปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการทดสอบซอฟต์แวร์ของตน
- การปรับปรุงปัญหาคอขวด: ยังคงมีปัญหาคอขวดในกระบวนการทดสอบ โดย 74% ของทีม QA ทำการทดสอบอัตโนมัติโดยไม่มีระบบจัดลำดับความสำคัญ ซึ่งส่งผลต่อระยะเวลาตอบสนองต่อปัญหา
นอยดา, อินเดีย และซานฟรานซิสโก, 7 ธันวาคม 2566 /PRNewswire/ — การศึกษา "อนาคตของการประกันคุณภาพปี 2566" (Future of Quality Assurance 2023) ฉบับใหม่โดยแลมบ์ดาเทสต์ (LambdaTest) ซึ่งทำการสำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านการทดสอบซอฟต์แวร์ 1,615 รายจาก 70 ประเทศ ได้ให้ข้อมูลใหม่เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการทดสอบซอฟต์แวร์ในปี 2566 รวมถึงพบว่า 78% ของผู้เชี่ยวชาญกลุ่มนี้ได้นำเอไอ (AI) ไปใช้ในกระบวนการทำงานของตนแล้ว
นอกจากนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวของแลมบ์ดาเทสต์ยังแสดงให้เห็นว่า บริษัทต่าง ๆ พยายามทำให้ซอฟต์แวร์ของตนมีความน่าเชื่อถือมากขึ้น โดย 72% ขององค์กรกลุ่มนี้ได้นำทีมทดสอบซอฟต์แวร์มาร่วมประชุมวางแผน "สปรินต์" (sprint) ซึ่งส่งสัญญาณความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญว่า มีการหันมาเน้นเรื่องคุณภาพซอฟต์แวร์กันตั้งแต่ช่วงต้น ๆ ของวงจรชีวิตการพัฒนาซอฟต์แวร์ อย่างไรก็ตาม องค์กรขนาดเล็กยังคงตามหลังในด้านนี้อยู่ โดยมีเพียง 61.60% เท่านั้นที่นำทีมทดสอบมาร่วมวางแผนสปรินต์ทุกครั้ง
ท่ามกลางการปรับปรุงประสิทธิภาพเหล่านี้ ผลการสำรวจพบว่ามีการนำเทคโนโลยีเอไอมาใช้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยผู้ทดสอบซอฟต์แวร์รายงานว่าตนได้ใช้เอไอสำหรับงานต่าง ๆ รวมถึง การสร้างข้อมูลการทดสอบโดยอัตโนมัติ (51%) การเขียนโค้ดสำหรับการทดสอบอัตโนมัติ (45%), การวิเคราะห์และการรายงานผลการทดสอบ (36%) และการสร้างกรณีทดสอบ (46%)
ข้อมูลเชิงลึกที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ผลการศึกษาเปิดเผยคือ แม้ว่า 89% ขององค์กรจะใช้เครื่องมือ CI/CD (Continuous Integration and Continuous Delivery) เพื่อปรับใช้และดำเนินการทดสอบโดยอัตโนมัติ แต่มีเพียง 45% ขององค์กรเท่านั้นที่เรียกใช้การทดสอบอัตโนมัติด้วยตนเอง และไม่ได้ใช้ประโยชน์จากเครื่องมือ CI/CD อย่างเต็มประสิทธิภาพในการทดสอบ
ผลการศึกษายังแสดงให้เห็นว่ายังคงมีช่องโหว่ในการทดสอบซอฟต์แวร์ โดย 74% ของทีมขาดแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินการทดสอบ ส่งผลให้มีประสิทธิภาพลดลงและอาจทำให้มองข้ามปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระดับความเสี่ยงและความคิดเห็นของลูกค้า นอกจากนี้ หลาย ๆ ทีมยังขาดข้อมูลเชิงลึกที่จะวัดความน่าเชื่อถือของซอฟต์แวร์ โดยกว่า 48% ไม่มีแม้แต่ระบบอัจฉริยะด้านการทดสอบ (Test Intelligence) และระบบการสังเกตขั้นพื้นฐาน
คุณอาซาด ข่าน (Asad Khan) ซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้งแลมบ์ดาเทสต์ กล่าวว่า "ที่แลมบ์ดาเทสต์ เราเข้าใจดีว่าถึงแม้การนำเอไอมาใช้จะถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญ แต่การเดินทางไม่ได้สิ้นสุดเพียงแค่นี้ ตัวอย่างเช่น การศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่าเราจำเป็นต้องจัดการกับปัญหาคอขวดที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การทดสอบที่ไม่น่าเชื่อถือและการเสียเวลาจัดเตรียมตั้งค่าสภาพแวดล้อมการทดสอบ นี่ทำให้เราทั้งมีโอกาสและความท้าทายในการพัฒนาเครื่องมือที่ใช่ ที่จะช่วยให้ทีมจัดการกับปัญหาคอขวดเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและขับเคลื่อนคุณภาพซอฟต์แวร์ในกระบวนการของพวกเขาได้"
อ่านรายงานการศึกษา "อนาคตของการประกันคุณภาพปี 2566" ได้ที่ https://www.lambdatest.com/future-of-quality-assurance-survey
เกี่ยวกับแลมบ์ดาเทสต์
แลมบ์ดาเทสต์ (LambdaTest) เป็นระบบคลาวด์ทดสอบประสบการณ์ดิจิทัลระดับชั้นนำ ซึ่งช่วยให้นักพัฒนา/ผู้ทดสอบส่งมอบโค้ดได้เร็วขึ้น ลูกค้ากว่า 10,000 รายและผู้ใช้กว่า 2 ล้านรายในกว่า 130 ประเทศพึ่งพาแลมบ์ดาเทสต์สำหรับความต้องการด้านการทดสอบ
แลมบ์ดาเทสต์นำเสนอบริการที่ช่วยให้ลูกค้าจัดการและดำเนินกระบวนการทดสอบในลักษณะที่ปลอดภัยและปรับขนาดได้ บริการนี้มีให้สำหรับลูกค้าในขั้นต่าง ๆ ของวงจรชีวิต DevOps:
- เบราว์เซอร์และการทดสอบแอประบบคลาวด์ (Browser & App Testing Cloud) ช่วยให้ผู้ใช้ดำเนินการทดสอบเว็บและแอปพลิเคชันมือถือได้ทั้งแบบไม่อัตโนมัติและแบบอัตโนมัติในสภาพแวดล้อมเบราว์เซอร์ อุปกรณ์จริง และระบบปฏิบัติการ (OS) ที่แตกต่างกันกว่า 3,000 รายการ
- ไฮเปอร์เอ็กซีคิวท์ (HyperExecute) ช่วยลูกค้าดำเนินการทดสอบและประสานกริดการทดสอบในระบบคลาวด์สำหรับทุกแพลตฟอร์มและทุกภาษาโปรแกรม ด้วยความเร็วสูงเพื่อลดระยะเวลาทดสอบคุณภาพ
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://lambdatest.com
โลโก้: https://mma.prnasia.com/media2/1721228/Lambda_Test_Logo.jpg?p=medium600